BEM พร้อมเดินหน้า ‘รถไฟฟ้าสายสีส้ม’ ยันไม่กังวง มั่นใจข้อเสนอเป็นประโยชน์ต่อรัฐ วางไทม์ไลน์เปิดให้บริการตามแผน คาดภาพรวมปี 65 กวาดรายได้ 1.5 หมื่นล้าน

BEM ไม่กังวลประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม พร้อมเจรจาข้อเสนอร่วม รฟม. ประเมินใช้เม็ดเงินลงทุน 1.2 แสนล้าน มั่นใจข้อเสนอฯ เป็นประโยชน์ต่อรัฐ ลุยติดตั้งระบบ ตั้งธง! เปิดเดินรถช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯมีนบุรี ภายในปี 68 ส่วนช่วงบางขุนนนท์ศูนย์วัฒนธรรมฯ เปิดภายในปี 71 ด้านภาพรวมบริษัทฯทางด่วนรถไฟฟ้ากวาดรายได้ปีนี้ 1.5 หมื่นล้าน กำไร 2 พันล้าน เชื่อปีหน้าโตต่อเนื่อง

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เปิดเผยถึงการประมูลร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงินลงทุนประมาณ 1.2 แสนล้านบาทว่า ตามที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดซองข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน เมื่อวันที่ 7 .. 2565 ที่ผ่านมา โดยบริษัทฯ ผ่านเกณฑ์ และเสนอผลประโยชน์ให้แก่รัฐ(มูลค่าปัจจุบัน: NPV) เท่ากับ -78,287.95 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินข้อเสนอด้านการเงิน

ทั้งนี้ บริษัทฯ มั่นใจว่าข้อเสนอของบริษัทฯ เป็นไปตามเงื่อนไขและกติกาที่รัฐกำหนด ทั้งในส่วนของข้อกำหนดทางวิศวกรรม (Specification) งานโยธาและระบบรถไฟฟ้า วิธีการและเทคนิคการก่อร้างโดยเฉพาะการก่อสร้างงานอุโมงค์และสถานีใต้ดิน ซึ่งเป็นงานก่อสร้างใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ต้องดูแลความปลอดภัยสูงสุด

ขณะที่ ระบบรถไฟฟ้าที่จัดซื้อมีประสิทธิภาพสูง อายุการใช้งานนานมาให้บริการแก่ประชาชน และมีข้อเสนอทางการเงินที่เป็นประโยชน์แก่รัฐทั้งในส่วนของเงินสนับสนุนค่างานโยธาที่ต่ำกว่าราคากลาง ทั้งที่หากพิจารณาข้อเท็จจริงพบว่าราคาค่าก่อสร้างในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยบริษัทฯ สามารถแบ่งผลประโยชน์เพิ่มเติมให้แก่ รฟม. ได้

นายสมบัติ กล่าวต่อว่า หากบริษัทฯ ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้รับสัมปทานฯ บริษัทฯ พร้อมที่จะเริ่มงานได้ทันที โดยมีบริษัท .การช่าง จำกัด (มหาชน) เป็นพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในงานก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นอย่างมาก เห็นได้จากในช่วงที่ผ่านมา การดำเนินงานไม่มีความล่าช้า อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ จะต้องไปเจรจาต่อรอง ซึ่งบริษัทฯ ได้เตรียมความพร้อมไว้แล้ว

ทั้งนี้ บริษัทฯ มั่นใจว่าจะเปิดให้บริการส่วนตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยมีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร (กม.) ได้ภายใน 3 ปีครึ่ง หรือประมาณปี 2568 และเปิดให้บริการส่วนตะวันตกช่วงบางขุนนนท์ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระยะทาง 13.4 กม. ได้ภายใน 6 ปี หรือในปี 2571 ตามแผนงานของ รฟม.

นายสมบัติ กล่าวอีกว่า กรณีที่มีเอกชนบางรายซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการคัดเลือก ออกมาเปิดเผยว่า มีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์แก่ รฟม. มากกว่าที่บริษัทฯ เสนอนั้น ก็เป็นสิทธิของเอกชนรายนั้นจะทำ แต่เนื่องจากการให้ข้อมูลมีการพาดพิงถึงข้อเสนอของบริษัทฯ ซึ่งอาจทำให้สังคมเกิดความเข้าใจผิดว่าข้อเสนอของบริษัทฯ ทำให้รัฐเสียประโยชน์ขอชี้แจงว่า บริษัทฯ ได้จัดทำข้อเสนอที่เป็นประโยชน์แก่รัฐ เข้าร่วมการคัดเลือกภายในเงื่อนไข และกติกาที่รัฐกำหนด

ทั้งนี้ การนำข้อเสนอด้านการเงินอื่นซึ่งไม่ทราบว่าอยู่บนเงื่อนไข สมมติฐานใด ผ่านเกณฑ์การประเมินของ รฟม.หรือไม่ มาเปรียบเทียบกับข้อเสนอด้านการเงินของบริษัทฯ คงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ โดยบริษัทฯ ยังคงมั่นใจว่าข้อเสนอรถไฟฟ้าสายสีส้มของบริษัทฯ เป็นประโยชน์ต่อรัฐ การก่อสร้างและการเปิดบริการ จะต้องประสบผลสำเร็จตามแผน ไม่มีการล่าช้า และต้องมีคุณภาพการบริการแก่ประชาชนที่ดี ตอบแทนคืนกลับสู่สังคมอย่างเต็มที่

ส่งนเงื่อนไขการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น ไม่ได้มีข้อจำกัดเรื่องการจ้างเหมาช่วง (ซับคอนแทรค) ในส่วนของงานโยธา โดยในข้อเสนอของบริษัทฯ ได้ระบุในการจ้างงานโยธา คือ บมจ..การช่าง ดังนั้นหากบริษัทฯ จะจ้างผู้รับเหมารายอื่นในการก่อสร้างงานโยธา ก็สามารถดำเนินการได้ โดยจะต้องแจ้งรายละเอียดการจ้างไปยัง รฟม.เพื่อขออนุญาตจ้างงาน เบื้องต้นก็เชื่อว่าทุกโครงการลงทุนขนาดใหญ่ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้เพียงรายเดียว แต่ก็ต้องเลือกผู้รับเหมาที่มีความสามารถ มีประสบการณ์

นายสมบัติ กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 รายได้ของบริษัทฯ หายไปกว่า 60% แต่ในปัจจุบันผลการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยคาดว่า ทั้งปี 2565 บริษัทฯ จะมีรายได้อยู่ที่ประมาณ1.5 หมื่นล้านบาท และคาดว่า จะมีกำไรเกิน 2 พันล้านบาท หลังจากในช่วงครึ่งปีแรก/2565 มีกำไรอยู่ที่ 970 ล้านบาท และในปี 2566 คาดการณ์จะมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท และมีกำไรอยู่ที่ประมาณ 3 พันล้านบาท

สำหรับการคาดการณ์รายได้ และกำไรของปี 2566 นั้น  มองว่า มาจากหลายปัจจัย อาทิ การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลือง ที่จะขนส่งผู้โดยสารมาใช้รถไฟฟ้า MRT ประกอบกับการเปิดตัวโครงการใหญ่ๆ ตลอดเส้นทางรถไฟฟ้า ทั้งศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, โครงการ One Bangkok, Singha Estate, Samyan Mitrtown รวมถึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้รถไฟฟ้า MRT มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะบริเงณสถานีวัดมังกร (เยาวราช)

นายสมบัติ กล่าวต่ออีกว่า ขณะนี้ ปริมาณผู้ใช้ทางด่วนฟื้นตัวกลับมาเร็วมาก โดยปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1.1 ล้านเที่ยว/วัน คิดเป็น 90% ของปริมาณผู้ใช้ทางก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่วนรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ปัจจุบันปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 3.2 แสนเที่ยว/วัน คิดเป็น 85% ของปริมาณผู้โดยสารก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ คาดว่าภายในสิ้นปี 2565 จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้า โดยคาดการณ์ว่า ในปี 2566 ผู้โดยสารรถไฟฟ้า จะเฉลี่ยอยู่ที่ 5 แสนเที่ยว/วัน