ร.๑๐ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ คณะรัฐมนตรีใหม่ … เปิดประวัติ รมว.-รมช.คมนาคมป้ายแดง

ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ คณะรัฐมนตรีใหม่ … เปิดประวัติ รมว.-รมช.คมนาคมป้ายแดง

เมื่อเวลา ๑๗.๐๐ น.  วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๒ แล้วนั้น

บัดนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบต่อไปแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรี

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี

นายวิษณุ เครืองาม เป็นรองนายกรัฐมนตรี

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นายเทวัญ ลิปตพัลลภ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีกตำแหน่งหนึ่ง

พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม

นายอุตตม สาวนายน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

นายดอน ปรมัตถ์วินัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

นายจุติ ไกรฤกษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายประภัตร โพธสุธน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

นายถาวร เสนเนียม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม

นายวราวุธ ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

นายนิพนธ์ บุญญามณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

นายทรงศักดิ์ ทองศรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

นายอิทธิพล คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นายสาธิต ปิตุเตชะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรี

 

**เปิดประวัติ รมว.-รมช.คมนาคม ***

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ

สำหรับนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย และเป็นอดีตประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ชวรัตน์ ชาญวีรกูล) ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 (56 ปี) ที่จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรของนายชัย ชิดชอบ กับนางละออง ชิดชอบ (น้องชายของนายเนวิน ชิดชอบ) สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2527 และปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2531

ในส่วนของประวัติการทำงานนั้น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เคยรับราชการในตำแหน่ง ปลัดอำเภอ สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต่อมาจึงลงสมัครรับเลือกตั้งได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2544 และปี พ.ศ. 2548 ต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีการแต่งตั้งให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล) ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552 ได้รับพระราชทานยศ นายกองเอก

 

นายถาวร เสนเนียม

ด้านนายถาวร เสนเนียม อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลาหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2490 ที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา สำเร็จการศึกษาในระดับเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา, นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เนติบัณฑิต (สอบได้อันดับที่ 6 ของรุ่นที่ 25) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิตจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ในส่วนของบทบาททางการเมืองนั้น นายถาวร เสนเนียม เป็น ส.ส. และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่มีบทบาทมากผู้หนึ่ง เป็น ส.ส.ในพื้นที่จังหวัดสงขลาอย่างต่อเนื่อง 6 สมัย ปัจจุบันเป็นรองเลขาธิการพรรค ซึ่งก่อนเข้าสู่แวดวงการเมือง นายถาวรเคยเป็นทนายความและอัยการประจำจังหวัดกระบี่และพัทลุงมาก่อนด้วย

 

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ

ขณะที่ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต 7 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย และในปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ เกิดเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2527 เป็นบุตรของนายวิรัช รัตนเศรษฐ และนางทัศนียา รัตนเศรษฐ นักการเมืองจังหวัดนครราชสีมา สำเร็จการศึกษา Master of Arts สาขา International Bisiness London Metropolition Unversity ประเทศอังกฤษ และรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ที่มาข้อมูลประวัติของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ / นายถาวร เสนเนียม / นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ : https://th.wikipedia.org/wiki