เปิดไทม์ไลน์! รถไฟฟ้าสีชมพู ให้บริการแน่ มิ.ย.นี้ & ต่อขยายเข้าเมืองทองภายในสิ้นปี 67 ส่วนสีเหลืองวิ่งครบทั้งเส้นทางปลายปี 66

“EBM- NBM” เตรียมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบโมโนเรลสีเหลืองลาดพร้าวสำโรง” 30.4 กม. มิ..นี้ จ่อเปิดให้ประชาชนทดลองนั่งก่อน 2 สัปดาห์ ด้านสีชมพู เปิดเฟสแรก .. 66 ครบตลอดเส้นทางภายในปลายปีนี้ ส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองฯ คาดเปิดให้บริการปลายปี 67 พร้อมลุยติดตั้งเครื่อง EMV ใช้ระบบตั๋วร่วมครบทุกช่องทางเข้าสถานี

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะกรรมการบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) และบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมทดสอบเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าวสำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร (กม.) ในช่วง เม.. 2566

ทั้งนี้ การทดสอบดังกล่าว จะยังไม่ให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมการทดสอบ มีเพียงพนักงานของบริษัทร่วมทดสอบเท่านั้น เพื่อตรวจสอบ และประเมินความพร้อมของงานโยธา งานเดินรถ และงานระบบไฟฟ้าทั้งหมดของโครงการฯจากนั้นจะเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนที่จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบใน มิ.. 2566

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ส่วนโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีชมพู ช่วงแครายมีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. นั้น จะหารือร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อเปิดให้บริการเป็นบางช่วงก่อน หรือช่วงสถานีมีนบุรีสถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ จะเปิดให้บริการใน .. 2566 เนื่องจากในบางสถานียังติดปัญหาพื้นที่ทับซ้อน ทำให้ยังไม่สามารถการก่อสร้างทางขึ้นลงสถานีได้

ทั้งนี้ บริษัทจะเร่งดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูให้แล้วเสร็จ และคาดว่า จะเปิดให้บริการตลอดเส้นทางได้ภายในปลายปี 2566 ขณะที่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี จำนวน 2 สถานี ได้แก่สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (ชาเลนเจอร์อาคาร 1) และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี ใช้วงเงินลงทุน จำนวน 4,000 ล้านบาท คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายปี 2567 เร็วกว่ากำหนดที่สัญญาระบุไว้ในช่วงปี 2568

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับระบบตั๋วร่วม การใช้บัตร EMV Contactless (Europay Mastercard and Visa) นั้นบริษัทได้หารือร่วมกับธนาคารกรุงไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ จะแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ โดยเฉพาะสายสีเหลืองที่จะเปิดให้บริการ มิ.. 2566 นี้ คือ ระยะแรก จะติดตั้งเครื่อง EMV ในช่องทางพิเศษด้านข้าง (Flash Gate) หรือช่องทางสำหรับสตรีตั้งครรภ์ และผู้มีสัมภาระขนาดใหญ่ ระยะที่ 2 จะติดตั้งให้ครบทุกช่องทางเข้าสถานี ส่วนสายสีชมพูนั้น จะติดตั้งเครื่อง EMV ทันการเปิดให้บริการตลอดเส้นทาง เนื่องจากยังมีเวลาดำเนินการ

ด้านเรื่องค่าโดยสารนั้น รฟม.จะเป็นผู้กำหนดอัตราค่าโดยสาร หรือเริ่มต้นที่ 14 บาท สูงสุด 42 บาท และจะปรับตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งก่อนเปิดให้บริการจะมีการปรับอัตราค่าโดยสาร โดยใช้ CPI 3 เดือนก่อนวันที่เริ่มให้บริการ ทั้งนี้ จะทำให้บริษัทมีรายได้จากค่าโดยสารในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูปีละประมาณ2,000 ล้านบาท หรือสายละประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อปี

นอกจากนี้ รัฐจะจ่ายคืนเงินอุดหนุนค่าลงทุนงานโยธาตามสัญญา ของทั้ง 2 สาย รวมประมาณ 4,700 ล้านบาท/ปี แบ่งการจ่ายออกเป็น 10 งวด โดยบริษัทจะได้รับเงินอุดหนุนคืนจากรัฐงวดแรกภายหลังเปิดให้บริการแล้ว 45 วัน จากนั้นเมื่อครบรอบ 1 ปี จึงจะได้รับงวดที่ 2 จนครบ 10 งวด รวมวงเงินประมาณ 47,000 ล้านบาท