ปักหมุด! มอเตอร์เวย์ M5 ส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงรังสิต-บางปะอิน คาดเริ่มสร้างปี 67 เปิดใช้บริการปี 71 เชื่อมเดินทาง M6 ‘บางปะอิน-โคราช’

ทางหลวงลุยสร้างมอเตอร์เวย์ M5 ส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงรังสิตบางปะอิน ระยะทาง 22 กม. มูลค่า3.1 หมื่นล้าน จ่อเสนอคมนาคมไฟเขียว ..นี้ ก่อนชง ครม.เห็นชอบภายใน มี..66 คาดเปิดประมูลปลายปีหน้าเริ่มสร้างปี 67 เสร็จปี 70 เปิดบริการปี 71 เชื่อมเดินทางมอเตอร์เวย์บางปะอินโคราช บรรเทาจราจร หนุนระบบโลจิสติกส์ประเทศ

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงรังสิตบางปะอิน (M5) ระยะทาง 22 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 31,375.95 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่างานโยธาและงานระบบ 31,303 ล้านบาท และค่าเวนคืน72.95 ล้านบาทว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมเสนอโครงการดังกล่าว ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา คาดว่าจะพิจารณาเห็นชอบภายใน .. 2565

จากนั้นจะเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) ภายใน .. 2566 อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้ภายใน มี.. 2566 หรือก่อนมีการเลือกตั้ง

ทั้งนี้ ภายหลังจากผ่านความเห็นชอบของ ครม.แล้ว จะใช้เวลา 1-2 เดือน ในการตั้งคณะกรรมการมาตรา 36 เพื่อมาจัดทำเอกสารประกาศประกวดราคา (RFP) และคาดว่าจะเปิดประมูลโครงการคัดเลือกเอกชนได้ภายในช่วงปลายปี2566 คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2567 แล้วเสร็จภายในปี 2570 และเปิดให้บริการปี 2571

โครงการมอเตอร์เวย์ M5 มีการลงทุนในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP Gross Cost)​ โดย ทล. เป็นผู้ลงทุนการก่อสร้างงานโยธา และจ้างเอกชนบริหารจัดการ อายุสัปทาน 30 ปี และถ้าทุกอย่างผ่านไปด้วยดี ก็เชื่อว่ากระทรวงคมนาคม จะอนุมัติโครงการดังกล่าว เพราะมีความคุ้มค่า และเป็นโครงการที่จะเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์หมายเลข 6 (M6) สายบางปะอินนครราชสีมา ตรงบางปะอิน

นายสราวุธ กล่าว

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการมอเตอร์เวย์หมายเลข 5 เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ จะเป็นโครงข่ายทางยกระดับที่เชื่อมต่อการเดินทางจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) สู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ได้โดยตรง ช่วยให้การเดินทางมีความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย บรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนพหลโยธิน และถนนวิภาวดีรังสิต

นอกจากนี้ สามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายที่สำคัญในการเดินทาง ได้แก่ มอเตอร์เวย์ 3 สาย คือ ถนนกาญจนาภิเษก(ทล.9) ด้านตะวันตกและด้านตะวันออก, บางปะอินนครราชสีมา (M6) และ บางปะอินนครสวรรค์ (M5) รวมถึงถนนเอเชีย และถนนพหลโยธิน อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนระบบโลจิสติกส์และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย

รายงานข่าวจาก ทล. ระบุว่า แนวเส้นทางโครงการมอเตอร์เวย์ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิตบางปะอิน (M5) มีจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อกับทางยกระดับอุตราภิมุขที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน บริเวณทางแยกต่างระดับรังสิต (ประมาณ กม.33+924 ของถนนพหลโยธิน) และมีจุดสิ้นสุดโครงการอยู่ที่บริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน (ประมาณ กม.1+800 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32)

ทั้งนี้ สามารถเชื่อมต่อได้โดยตรงกับโครงการมอเตอร์เวย์ หมายเลข 6 สายบางปะอินนครราชสีมา ครอบคลุมพื้นที่.คลองหลวง .ปทุมธานี และ .บางปะอิน .วังน้อย .พระนครศรีอยุธยา รวมระยะทางประมาณ 22 กม.

โดยตลอดสายทางมีจุดขึ้นลง และจุดเชื่อมต่อ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ 1.จุดเชื่อมต่อ บริเวณด่านฯ รังสิต 1, 2.จุดขึ้นลงบริเวณด่านฯ รังสิต 2, 3.จุดขึ้นลง บริเวณด่านฯ คลองหลวง, 4.จุดขึ้นลง บริเวณด่านฯ .ธรรมศาสตร์, 5.จุดขึ้นลงบริเวณด่านฯ นวนคร, 6.จุดขึ้นลง บริเวณด่านฯ วไลยอลงกรณ์ และ 7.จุดขึ้นลง บริเวณด่านฯ ประตูน้ำพระอินทร์

สำหรับรูปแบบการก่อสร้าง เป็นทางยกระดับตามแนวถนนพหลโยธิน โดยก่อสร้างต่อขยายตั้งแต่ช่วงรังสิตบางปะอิน รวมระยะทางประมาณ 22 กม. ขนาด 6 ช่องจราจร (ไปกลับ) ช่องจราจรกว้าง 3.5 เมตร ไหล่ทางด้านซ้ายกว้าง 2 เมตร ไหล่ทางด้านขวากว้าง 1 เมตร จุดขึ้นลง/จุดเชื่อมต่อ จำนวน 8 แห่ง และงานอาคารที่เกี่ยวข้อง เช่นอาคารด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง อาคารศูนย์ควบคุมกลาง อาคารกู้ภัย และอาคารสถานีตำรวจทางหลวง

ขณะที่ การจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง ทล.ได้กำหนดให้จัดเก็บค่าผ่านทางแบบระบบเปิด (Open System) โดยชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางที่ด่านขาเข้า และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมผ่านทางแบ่งตามประเภทของยานพาหนะโดย ทล.จะกำหนดให้มีวิธีการจัดเก็บค่าผ่านทางแบบ Multi-lane free flow (M-Flow)