‘รถไฟทางไกล’ 48 ขบวน เตรียมวิ่งสิ้นสุดที่ ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’ คาดเริ่มแผนเร็วสุด พ.ย.นี้ มีเส้นทางไหนบ้าง? เช็คเลย!

การรถไฟฯกางแผนเดินขบวนรถเปลี่ยนสถานีต้นทางปลายทางรถโดยสารเชิงพาณิชย์ 48 ขบวน จาก หัวลำโพงสิ้นสุดที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เข้าเทียบชานชาลาชั้น 2 ระบุสายเหนืออีสาน ใช้เส้นรถไฟสายสีแดงตั้งแต่ดอนเมืองส่วนสายใต้ตั้งแต่บางบำหรุคาดเริ่มแผนเร็วสุด ..นี้ ด้านขบวนรถเชิงสังคมยังวิ่งเข้าหัวลำโพง จนกว่าจะสร้างสายสีแดงส่วนต่อขยายเสร็จ พร้อมเผยมาตรการเยียวยา 1 ปี

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟฯ ได้จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นประชาชนในการเปิดใช้สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์จะปรับเปลี่ยนสถานีต้นทางปลายทางของรถไฟทางไกล กลุ่มขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน และรถเร็วทุกสาย (ยกเว้นสายตะวันออก) จากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และปรับเส้นทางวิ่งของขบวนสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ให้วิ่งบนทางยกระดับตั้งแต่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์สถานีรังสิตนั้น

ทั้งนี้ ความคิดเห็นส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปรับเปลี่ยนสถานีต้นทางปลายทางขบวนรถจากหัวลำโพง ไปให้บริการรถไฟทางไกล ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และยังเห็นด้วยกับการที่การรถไฟฯ ยังคงให้ขบวนรถไฟชานเมือง ขบวนรถธรรมดา และขบวนรถนำเที่ยวทุกสาย ให้บริการต้นทางปลายทางที่สถานีกรุงเทพตามเดิม เนื่องจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ มีความเหมาะสม และมีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรางของประเทศ เนื่องจากตั้งอยู่ศูนย์กลางธุรกิจ การคมนาคมสะดวก สามารถเชื่อมโยงการเดินทางได้หลากหลายทางเลือก

แหล่งข่าวจากการรถไฟฯ กล่าวต่อว่า การเปลี่ยนแปลงการเดินรถดังกล่าว ได้กำหนดให้รูปแบบการเดินรถสำหรับการปรับเปลี่ยนในครั้งนี้ แบ่งเป็น ขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์จำนวน 48 ขบวน เปลี่ยนมาใช้ต้นทางและปลายทางที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ประกอบด้วย ขบวนสายเหนือ จำนวน 14 ขบวน และสายอีสาน จำนวน 18 ขบวน รวม 32 ขบวน ใช้เส้นทางรถไฟสายสีแดง ตั้งแต่ช่วงทางยกระดับสถานีดอนเมืองสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

โดยจะมีจุดรับและส่งผู้โดยสารจำนวน 3 จุด ได้แก่ สถานีรังสิต สถานีดอนเมือง สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เนื่องจากการรถไฟฯ ยกเลิกสถานีบางเขน, หลักสี่, ที่หยุดรถนิคมรถไฟ กม.11, ทุ่งสองห้อง และการเคหะ กม.19 ที่เป็นเส้นทางระดับพื้นดิน โดยขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์ จะเข้าเทียบชานชาลาชั้น 2 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ชานชาลาที่ 1, 2, 5 และ 6

ขณะที่ สายใต้จำนวน 16 ขบวน จะใช้เส้นทางรถไฟสายสีแดงตั้งแต่ช่วงสถานีบางบำหรุสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์(ทางยกระดับตั้งแต่สถานีบางซ่อนสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์) โดยจะมีจุดรับและส่งผู้โดยสารจำนวน 3 จุด ได้แก่สถานีตลิ่งชัน สถานีบางบำหรุ และสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์ จะเข้าเทียบชานชาลาชั้น 2 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ชานชาลาที่ 7, 8, 11 และ 12

แหล่งข่าวจากการรถไฟฯ กล่าวอีกว่า สำหรับขบวนรถโดยสารเชิงสังคม ยังคงมีการเดินรถเข้าหัวลำโพงเช่นเดิมเนื่องจากผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้บริการที่เดินทางประจำ ดังนั้น เพื่อเป็นการลดผลกระทบในการเดินทางของผู้ใช้บริการดังกล่าว จึงคงสถานีต้นทางและปลายทางไว้ที่หัวลำโพง จนกว่าการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายจะแล้วเสร็จ โดยมีแผนการเดินรถ ดังนี้

1.ขบวนรถชานเมืองสายเหนือ และสายอีสาน จะเป็นการเดินรถขึ้นทางยกระดับจากสถานีรังสิต และลงทางลาดที่วัดเสมียนนารี เข้าสถานีชุมทางบางซื่อ (เดิม) และเดินในเส้นทางเดิมเข้าหัวลำโพง และในทางกลับกัน 2.ขบวนรถสายใต้ ใช้เส้นทางระดับพื้นดินเส้นทางเดิมเข้าสู่สถานีชุมทางบางซื่อและเดินในเส้นทางเดิมเข้าหัวลำโพง และ 3.ขบวนรถสายตะวันออก ใช้เส้นทางเดิมเข้าหัวลำโพง

อย่างไรก็ตาม ทั้งขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์ และขบวนรถโดยสารเชิงสังคม การรถไฟฯ จะพิจารณาปรับเวลาเดินรถใหม่ให้เหมาะสม ลดผลกระทบกับการจราจร และให้มีผลกระทบกับผู้ใช้บริการรถไฟให้น้อยที่สุด รวมถึงการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ด้วย สำหรับระยะเวลาเหมาะสมในการเริ่มเปลี่ยนแปลงการเดินรถนั้น การรถไฟฯ ได้เสนอกำหนดการเปลี่ยนแผนการเดินรถสถานีต้นทางปลายทางของรถโดยสารทางไกลได้ประมาณ .. 2565 เป็นอย่างน้อย ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าว จะมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้กับประชาชนรับทราบด้วย

แหล่งข่าวจากการรถไฟฯ กล่าวต่ออีกว่า ในช่วงแรกของการใช้แผนระบบดังกล่าว ของการรถไฟฯ ในช่วงเปลี่ยนถ่ายระบบนั้น อาจเกิดความสับสนและกระทบต่อผู้ใช้บริการ ดังนั้น การรถไฟฯ จึงกำหนดแนวทางการดำเนินการการเยียวยาผู้ใช้บริการรถโดยสารทางไกล กล่าวคือ สำหรับผู้โดยสารในขบวนรถเชิงพาณิชย์ ที่ถือตั๋วโดยสารและระบุสถานีต้นทางที่สถานีหลักสี่ และสถานีบางเขน สามารถนำตั๋วโดยสารดังกล่าว แจ้งเจ้าหน้าที่ที่สถานีรถไฟสายสีแดง ที่สถานีหลักสี่ และบางเขน เข้าใช้บริการรถไฟสายสีแดง ลงสถานีดอนเมืองเพื่อขึ้นขบวนรถเชิงพาณิชย์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม

ส่วนในกรณีที่ตั๋วแสดงปลายทางที่สถานีหลักสี่ และบางเขน สามารถนำตั๋วโดยสารแสดงต่อจ้าหน้าที่ที่สถานีรถไฟฟ้าสถานีดอนเมือง เข้าใช้บริการรถไฟสายสีแดง เพื่อลงสถานีบางเขน และหลักสี่โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเช่นเดียวกัน ด้านผู้ใช้บริการเดินรถโดยสารเชิงสังคม จะสามารถใช้ตั๋วโดยสารรถไฟทางไกลใช้บริการรถไฟสายสีแดงได้เฉพาะผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วประเภทตั๋วเดือนในสถานีที่การรถไฟฯ ยกเลิกเท่านั้น ซึ่งตั๋วรายวันไม่สามารถใช้ได้ในกรณีนี้อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการเยียวยา มีระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่เริ่มดำเนินการ

รายงานข่าวจากการรถไฟฯ ระบุว่า สำหรับ ขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์จำนวน 48 ขบวน เปลี่ยนมาใช้ต้นทางและปลายทางที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ประกอบด้วย ขบวนสายเหนือ จำนวน 14 ขบวน ได้แก่ ขบวนที่ 111/107 เส้นทางกรุงเทพเด่นชัย, ขบวนที่ 7/109/9/13/51 เส้นทางกรุงเทพเชียงใหม่, ขบวนที่ 112/108 เส้นทางเด่นชัยกรุงเทพ, ขบวนที่ 102/8/52/14/10 เส้นทางเชียงใหม่กรุงเทพ

ขณะที่ สายอีสาน จำนวน 18 ขบวน ได้แก่ ขบวนที่  21/135/71/139/23/141 เส้นทางกรุงเทพอุบลราชธานี, ขบวนที่ 75/25/133 เส้นทางกรุงเทพหนองคาย, ขบวนที่ 72/136/22/142/24/140 เส้นทางอุบลราชธานีกรุงเทพ, ขบวนที่ 76/134/26 เส้นทางหนองคายกรุงเทพ

ด้านสายใต้ จำนวน 16 ขบวน ได้แก่ ขบวนที่ 43/39 เส้นทางกรุงเทพสุราษฎร์ธานี, ขบวนที่ 31 เส้นทางกรุงเทพชุมทางหาดใหญ่, ขบวนที่ 83 เส้นทางกรุงเทพตรัง, ขบวนที่ 167 เส้นทางกรุงเทพกันตัง, ขบวนที่ 85 เส้นทางกรุงเทพนครศรีธรรมราช, ขบวนที่ 169 เส้นทางกรุงเทพยะลา, ขบวนที่ 171 เส้นทางกรุงเทพสุไหงโกลก, ขบวนที่37 เส้นทางกรุงเทพสุไหงโกลก พ่วงกับขบวนที่ 45 เส้นทางกรุงเทพปาดังเบซาร์

ขบวนที่ 40/44 เส้นทางสุราษฎร์ธานีกรุงเทพ, ขบวนที่ 172 เส้นทางสุไหงโกลกกรุงเทพ, ขบวนที่ 168 เส้นทางกันตังกรุงเทพ, ขบวนที่ 86 เส้นทางนครศรีธรรมราชกรุงเทพ, ขบวนที่ 84 เส้นทางตรังกรุงเทพ, ขบวนที่ 32 เส้นทางชุมทางหาดใหญ่กรุงเทพ, ขบวนที่ 170 เส้นทางยะลากรุงเทพ, ขบวนที่ 38 สุไหงโกลกกรุงเทพ พ่วงกับขบวนที่46 ปาดังเบซาร์กรุงเทพ