ครม.เห็นชอบหลักการให้ ทอท.บริหาร 3 สนามบินแทน ทย. กรอบวงเงินลงทุน 1 หมื่นล้าน เร่งศึกษาจบภายใน 2-3 เดือน รับอุตฯ การบินฟื้นตัวในปี 67

ครม. เห็นชอบให้ ทอท. เข้าไปบริหารจัดการ 3 สนามบินแทน ทย. “อุดรธานีบุรีรัมย์กระบี่กรอบวงเงินลงทุน 1 หมื่นล้าน ด้านศักดิ์สยามเผยเร่งศึกษาความเป็นไปได้โครงการฯ คาดศึกษาเสร็จภายใน 2-3 เดือนนี้ เชื่อช่วยหนุนการท่องเที่ยว รองรับอุตฯ การบินฟื้นตัวในปี 67 ปูพรมพัฒนา Cluster การขนส่งทางอากาศในอนาคต

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (30 .. 2565) มีมติเห็นชอบในหลักการให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เข้าไปเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลและบริหารจัดการ 3 ท่าอากาศยานแทนกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ประกอบด้วย 1.ท่าอากาศยานอุดรธานี2.ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ และ 3.ท่าอากาศยานกระบี่

ทั้งนี้ ครม.ให้รับความเห็นของหน่วยงานต่างๆ ไปดำเนินการให้เรียบร้อย ก่อนรายงานให้ที่ประชุม ครม.เพื่อทราบอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่กระทรวงการคลังมีความเห็นแนวทางตามที่เสนอ และให้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯพร้อมทั้งเปรียบเทียบระหว่าง ทย. และ ทอท.ดำเนินการ รวมถึงผลกระทบต่อ ทย. และ ทอท.

นอกจากนี้ ยังต้องคาดการณ์ประมาณการผู้โดยสาร, แผนการลงทุน, แผนพัฒนาท่าอากาศยาน, ประมาณการรายได้รายจ่าย, ผลตอบแทนทางการเงิน, แผนบริหารความเสี่ยงกรณีที่การดำเนินการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย อย่างไรก็ตามคาดว่า จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 2-3 เดือน

ด้าน ..ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทอท.ได้กำหนดแผนพัฒนาท่าอากาศยานทั้ง 3 แห่ง มีกรอบวงเงินลงทุนประมาณ 9,199.90 ล้านบาท (กรณีท่าอากาศยานพังงา เปิดให้บริการในปี2574) หรือวงเงินลงทุนรวม 10,471 ล้านบาท (กรณีท่าอากาศยานพังงาไม่เปิดให้บริการ)

ทั้งนี้ วงเงินลงทุนดังกล่าว แบ่งเป็น ท่าอากาศยานอุดรธานี กรอบวงเงินลงทุน 3,523 ล้านบาท, ท่าอากาศยานบุรีรัมย์460 ล้านบาท และท่าอากาศยานกระบี่ ส่วนกรณีท่าอากาศยานพังงาเปิดให้บริการในปี 2574 วงเงินลงทุนจะอยู่ที่5,216 ล้านบาท และกรณีท่าอากาศยานพังงาไม่เปิดให้บริการ วงเงินลงทุนจะอยู่ที่ 6,487 ล้านบาท

..ไตรศุลี กล่าวอีกว่า ท่าอากาศยานอุดรธานี จะมีบทบาทเป็นท่าอากาศยานหลักที่ทำหน้าที่เป็น Gateway ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ตอนบน สามารถตอบสนองความต้องการในการเดินทางไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดย ทอท.มีแนวทางการพัฒนาให้ท่าอากาศยานอุดรธานีเป็นท่าอากาศยานระดับภาค และท่าอากาศยานศูนย์กลางรองในอนาคต

โดยจะสามารถพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงร่วมกับท่าอากาศยานบุรีรัมย์ที่ทำหน้าที่เป็นท่าอากาศยานรองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีปัจจัยมาจากศักยภาพของทำเลที่ตั้ง ความพร้อมด้านกายภาพและห้วงอากาศ และนโยบายสนับสนุนจากทางภาครัฐด้านการท่องเที่ยวและกีฬา รวมถึงนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองหลักและเมืองรอง

ขณะที่ท่าอากาศยานกระบี่นั้น โดย .กระบี่เป็นจังหวัดที่มีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่กึ่งกลางของจังหวัดฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย สามารถตอบสนองนโยบายด้านการท่องเที่ยวได้ และยังสามารถเป็นท่าอากาศยานที่ช่วยบรรเทาปัญหาความแออัดของท่าอากาศยานภูเก็ต ที่มีข้อจำกัดด้านการขยายขีดความสามารถในการรอบรับปริมาณการจราจรทางอากาศทั้งภาคพื้นและภาคอากาศในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง และท่าอากาศยานกระบี่ยังสามารถรองรับความต้องการเดินทางในรูปแบบอากาศยานส่วนตัวที่มีมากขึ้นในอนาคต

..ไตรศุลี กล่าวต่ออีกว่า จากการวิเคราะห์แนวโน้มอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวภายในปี 2567 หลังจากที่ผ่านมาได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์โควิด-19 ประกอบกับนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวของประเทศไทยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองและการส่งเสริมการตลาดที่เน้นการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน

ทั้งนี้ จึงได้มีการทบทวนให้ ทอท.เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลและบริหารจัดการท่าอากาศยานแทน ทย.จากเดิม 4 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานอุดรธานี ,สกลนคร, ตาก และชุมพร เปลี่ยนเป็น 3 แห่ง คืออุดรธานี, บุรีรัมย์ และกระบี่ เพื่อความเหมาะสมในเชิงยุทธศาสตร์ตามแนวคิดการพัฒนาโครงข่ายระบบท่าอากาศยานของประเทศในภาพรวมและการดำเนินธุรกิจในรูปแบบ Cluster ด้านการขนส่งทางอากาศ

สำหรับการให้ ทอท.เข้าไปเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลและบริหาร 3 ท่าอากาศยาน แทน ทย.นั้น พบว่า จะเป็นการสนับสนุนให้มีการกำหนดบทบาทท่าอากาศยานของประเทศและการจัดรูปแบบการพัฒนาระบบท่าอากาศยานของประเทศในรูปแบบ Cluster ด้านการขนส่งทางอากาศ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการขนส่งทางอากาศของประเทศไทย โดยจะเป็นการเชื่อมต่อการขนส่งทางอากาศภายใต้โครงข่ายระบบท่าอากาศยานภายในประเทศไปสู่การเชื่อมโยงโครงข่ายระบบท่าอากาศยานระหว่างประเทศต่อไป