ฤกษ์ดี! ‘NBM-บางกอกแลนด์’ ลงนามเดินหน้า ‘รถไฟฟ้าสายสีชมพู’ ส่วนต่อขยายเข้า ‘เมืองทองธานี’ คาดเปิดใช้ปลายปี 67

“NBM-บางกอกแลนด์จรดปลายปากกาเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานีมูลค่า 4 พันล้าน รองรับชาวเมืองทองฯ 3 แสนคน พ่วงผู้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าปีละ 10 ล้านคน คาดเปิดให้บริการปลายปี 67 ด้านสีชมพูแครายมีนบุรีจ่อเปิดทดลองใช้บางส่วนต้นปี 66 ส่วนบางกอกแลนด์เชื่อรถไฟฟ้าสีชมพูส่วนต่อขยายฯ หนุนธุรกิจเมืองทองโต 10-20%

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (2 .. 2565) บริษัท บางกอกแลนด์ จากัด (มหาชน) หรือ BLAND ได้จัดพิธีลงนามเซ็นสัญญากับ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จากัด (NBM) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์(BSR JV consortium) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR JV consortium) ที่ร่วมทุนกันระหว่าง บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จากัด (มหาชน) หรือ BTSG, บริษัท ซิโนไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่นจากัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท ราช กรุ๊ป จากัด (มหาชน) ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี จำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (ชาเลนเจอร์อาคาร 1) และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี ใช้วงเงินลงทุน จำนวน 4,000 ล้านบาท

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท นอร์ทเทิร์นบางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) เปิดเผยว่า ความร่วมมือในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานีของ BLAND และ NBM ในครั้งนั้น จะช่วยแก้ปัญหาการจราจร และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ทั้งผู้ที่อยู่อาศัยและผู้ที่ทำงานอยู่ในเมืองทองธานีกว่า 300,000 คน รวมทั้งผู้ที่เดินทางเข้ามาร่วมงานแสดงสินค้าและการประชุมที่มีกว่า 10 ล้านคนต่อปี

สำหรับความคืบหน้าการดำเนินการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานีนั้น ภายหลังได้รับอนุมัติจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้วตั้งแต่เมื่อ มิ.. 2565 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตามสัญญาจะใช้ระยะเวลาการก่อสร้างประมาณ 37 เดือน โดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายปี 2567 เร็วกว่ากำหนดที่สัญญาระบุไว้ในช่วงปี 2568

เมื่อโครงการดำเนินการแล้วเสร็จ เชื่อว่า จะได้รับความนิยมจากผู้โดยสาร ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรในการเดินทางเข้าพื้นที่เมืองทองธานีได้เป็นอย่างดี เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว เป็นชุมชนขนาดใหญ่ และมีผู้เดินทางเข้าออกเป็นจำนวนมาก โดยยืนยันว่า การก่อสร้างรถไฟฟ้าเข้าไปในพื้นที่ของเอกชน ไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ แต่เป็นการให้บริการประชาชน และเป็นความร่วมมือของเอกชนเอง ส่วนราคาค่าโดยสาร ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ต่อไป

นายคีรี กล่าว

นายคีรี กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเส้นทางหลัก ช่วงแครายมีนบุรี จำนวน 30 สถานี โดยภาพรวมในขณะนี้ (ไม่รวมสถานีอิมแพ็คเมืองทองธานี และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี) มีความคืบหน้าโครงการ 89.43% แบ่งเป็น งานโยธา 91.01% และงานระบบรถไฟฟ้า 87.90% ซึ่งคาดว่า จะเปิดให้บริการได้บางส่วนช่วงต้นปี 2566

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเส้นทางหลัก สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้าได้อีก 4 สายได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่บางซื่อ, รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อรังสิต, รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิตสะพานใหม่คูคต และรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยมีนบุรี

ด้านนายปีเตอร์ กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บางกอกแลนด์ จากัด (มหาชน) กล่าวว่า สำหรับความร่วมมือในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานีของ BLAND และ NBM นั้น บริษัทฯ พร้อมจะสามารถมอบประโยชน์ต่อสาธารณะโดยช่วยให้ประชาชนทั้งผู้ที่อยู่อาศัยและผู้ที่ทางานอยู่ในเมืองทองธานี รวมทั้งผู้ที่เดินทางเข้ามาร่วมงานแสดงสินค้าและการประชุมที่จะได้รับความสะดวกสบายด้วยการได้ใช้บริการรถไฟฟ้าในการเดินทางอย่าง ต่อเนื่องพร้อมยังช่วยบรรเทาปัญหาจราจรได้อีกทางหนึ่ง

ในด้านของโอกาสทางธุรกิจนั้น โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อ ขยายที่เข้ามาในเมืองทองธานีนี้ เชื่อว่า จะช่วยส่งเสริมธุรกิจต่างๆในเมืองทองธานี เช่น ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค, โรงแรม, คอสโมบาซาร์, คอสโมวอล์ค, เอาท์เล็ทสแควร์, บีไฮฟไลฟ์สไตล์มอลล์ และคอสโมออฟฟิศพาร์คให้มีการเติบโตมากขึ้นอีก 10-20% นอกจากนี้ ยังจะเพิ่มศักยภาพและเพิ่มมูลค่าทดี่นิเปล่าในเมืองทองธานีที่มีอยู่อีก 600 ไร่ โดยจะมีมูลค่าเติบโต เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเราได้วางแผนไว้ว่าจะพัฒนาให้เป็นโครงการ Mixed Use เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้คนรุ่นใหม่เป็นอย่างดี

สำหรับ 2 สถานีดังกล่าว จะเป็นเส้นทางส่วนต่อขยายเข้ามาในเมืองทองธานี จนถึงทะเลสาบเมืองทองธานี รวมเป็นระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร (กม.) โดยบริษัทได้ลงทุนการก่อสร้างทางเดินเชื่อม (Skywalk) วงเงินจำนวน 1,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมต่อจากโครงการฯ ไปยังศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค, โรงแรม, ร้านค้าปลีก และห้างสรรพสินค้าต่างๆ

ทั้งนี้ เพื่อรองรับการเติบโต และมอบความสะดวกสบายให้แก่ผู้ที่มาใช้บริการอย่างสูงสุด อีกทั้งยังเป็นการต่อยอดและเพิ่มศักยภาพของการเป็นทำเลทองสำหรับโครงการใหม่ต่างๆ ที่ได้เปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้ อาทิ โมร  คอนโดมิเนียม โครงการที่พักอาศัยจานวน 1,040 ยูนิต และโรงเรียนสอนประกอบ อาหารเลอโนท ที่เป็นโรงเรียนสอนศิลปะการทำอาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก

ขณะที่ นายกวิน กาญจนพาสน์ กรรมการบริหาร บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) กล่าวว่า การลงนามระหว่าง NBM และ BLAND ในครั้งนี้ เป็นการลงนามในสัญญา 2 ฉบับ แบ่งเป็น 1.สัญญาให้การสนับสนุนการก่อสร้าง (Construction Support Agreement) โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี และ2.สัญญาก่อสร้างทางเชื่อม (Skywalk Connection Agreement) จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายเข้ามายังตัวอาคารของเมืองทองธานี

โดยภายใต้สัญญาดังกล่าว ทาง BLAND ได้อนุมัติเงินสมทบและค่าสิทธิให้กับ NBM ประมาณ 1,293.75 ล้านบาท(รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อสนับสนุนการก่อสร้าง และพัฒนาส่วนต่อขยายเมืองทองธานี และเพื่อสิทธิของ BLAND หรือบริษัทในเครือของ BLAND ในการก่อสร้างทางเชื่อมสถานี เพื่อเชื่อมต่ออาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกลุ่ม BLAND ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเมืองทองธานีเข้ากับสถานีรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายฯ

ทั้งนี้ นับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาจนถึงวันที่สิทธิในการดำเนินงาน ระบบรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายฯ ตามสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูระหว่าง NBM และ รฟม. สิ้นสุดลง นอกจากนี้ ยังได้อนุมัติเงินสมทบเพื่อสนับสนุนการบำรุงรักษาจำนวน 10.35 ล้านบาทต่อปี (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) นับจากวันที่ส่วนต่อขยายเมืองทองธานีเปิดให้บริการ

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการในธุรกิจ MOVE ที่บีทีเอส กรุ๊ปฯให้ความสำคัญ เพราะเรามุ่งหวังจะเป็นผู้ให้บริการเดินทางแบบ door-to-door เพื่อตอบโจทย์การเดินทาง ตั้งแต่ก้าวแรกถึงก้าวสุดท้ายให้กับผู้โดยสารอย่างสมบูรณ์ ภายใต้การให้บริการที่สะดวกและปลอดภัยนายกวิน กล่าว