‘ทางหลวง’ แจงถนนตีเส้น ‘ซิกแซก’ @ศรีสะเกษ เป็นโครงการนำร่อง ช่วยยกระดับความปลอดภัย ‘ทางคนเดินข้าม’

ทางหลวงแจงถนนตีเส้น “ซิกแซก” เป็นโครงการนำร่องบน ทล.2127 ตอนศิวาลัยสำโรงเกียรติศรีสะเกษ ยกระดับความปลอดภัยทางคนเดินข้าม ระบุเป็นโมเดลสากล หวังเก็บข้อมูลวิเคราะห์ พัฒนาแนวทางในอนาคต

รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) ระบุว่า จากข่าวการสูญเสียชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์ ขณะเดินข้ามถนนในกรุงเทพมหานคร (กทม.) นับเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องจากทุกหน่วยงาน ร่วมกันหาทางป้องกัน และแก้ไขปัญหา ซึ่งสาเหตุหลักของกรณีดังกล่าว คือ ความเร็วของรถ ที่เข้าสู่ทางคนเดินข้าม และการรับรู้ของผู้ขับขี่ล่วงหน้า ว่าจะมีทางข้ามถนน

ทั้งนี้ ทล.จึง ได้นำแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ที่ใช้กันในสากล มาทดลองใช้กับทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจรได้แก่ 1.เส้นซิกแซก (Zigzag line) ที่เป็นข่าวบนโลกโซเชียลในวันนี้ (8 .. 2565) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนผู้ขับขี่ล่วงหน้าด้วยสีตีเส้นบนผิวทางให้ตระหนัก และลดความเร็วลงก่อนถึงทางคนเดินข้ามซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้กันในสากลเช่น กลุ่มประเทศในยุโรป สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ ออสเตรเลีย เป็นต้น

2.เกาะยืนพักระหว่างการเดินข้าม (Refuge Island) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่เดินช้าไม่จำเป็นต้องเดินข้ามถนนในครั้งเดียว3.ชุดป้ายทางข้าม ชนิดสีเหลืองเขียวฟลูออเรสเซนต์ ที่เพิ่มความปลอดภัยให้กับคนเดินข้าม ซึ่งใช้กันแพร่หลายในต่างประเทศ 4.ไฟฟ้าส่องสว่าง ที่ส่องไปที่พื้นทางคนเดินข้ามโดยเฉพาะ และ 5.การปรับปรุงกายภาพสองข้างทาง เพื่อให้ผู้ขับขี่รับรู้ถึงการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมสู่ช่วงเขตชุมชน

สำหรับการดำเนินการดังกล่าว ได้ทำเป็นโครงการนำร่อง เป็นที่แรกในทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจร บน ทางหลวงหมายเลข 2127 ตอน ศิวาลัยสำโรงเกียรติ บริเวณชุมชน .หลักหินใหม่ .ขุนหาญ .ศรีษะเกษ และทำการเก็บข้อมูลการใช้งาน Before & After Study วิเคราะห์ และประเมินผลในทุกมิติ เพื่อพัฒนา แนวทางการปรับปรุงทางกายภาพ และด้านอื่นๆ ให้เกิดความปลอดภัยกับประชาชนสูงสุดในการข้ามถนนต่อไป