‘ศักดิ์สยาม’ สั่ง กทท. เตรียมความพร้อม ทลฉ.เฟส 3 รับ EEC บูมขนส่งสินค้า 18 ล้านทีอียู/ปี เดินหน้าลุย ‘แลนด์บริดจ์’ รับเรือสินค้า 2 หมื่นลำในปี 72

ศักดิ์สยามมอบนโยบายการท่าเรือฯในโอกาสครบรอบ 71 ปี สั่งเตรียมความพร้อมบุคลากรเทคโนโลยีหนุนเปิดใช้ EEC ในปี 68 รองรับการขนส่งสินค้า 18 ล้านทีอียู/ปี พร้อมเร่งเดินหน้าแลนด์บริดจ์สั่งศึกษาดีมานต์ซัพพลาย พ่วงพัฒนาธุรกิจต่อเนื่องหลังท่าฯ รับเรือขนส่งสินค้า 2 หมื่นลำในปี 72 ดันไทยฮับโลจิสติกส์ในภูมิภาคคาดส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนจีพีซีพัฒนาแหลมฉบังเฟส 3 ในปี 68

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในพิธีวันคล้ายวันสถาปนาการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ครบรอบ 71 ปี พร้อมมอบใบรับรองระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ตามมาตรฐานสากล ISO 22301 : 2019 ให้กับท่าเรือกรุงเทพ และหน่วยงานสนับสนุนวันนี้ (19 .. 2565) ว่า ตนได้มอบนโยบายให้ กทท. นำเทคโนโลยี และระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางน้ำ

นอกจากนี้ ให้ กทท.เตรียมความพร้อม ทั้งบุคลากร อุปกรณ์ และเทคโนโลยี เพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่จะแล้วเสร็จในปี 2568 โดยเฉพาะในส่วนของการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว หรือจาก 9 ล้านทีอียูต่อปี เพิ่มเป็น 18 ล้านทีอียูต่อปี

ท่าเรือแหลมฉบัง ถือเป็นอนาคตที่สำคัญในพื้นที่ EEC โดยเป็นการเปิดเกตเวย์การขนส่งทางน้ำ รวมถึงช่วยร่นระยะทางในการเดินทางไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4-5 วัน นับเป็นความได้เปรียบด้านโลจิสติกส์ของไทยมากขึ้น ผมจึงได้มอบนโยบายให้ กทท. ไปเริ่มเตรียมความพร้อมไว้นายศักดิ์สยาม กล่าว

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ในส่วนของการศึกษาและพัฒนาโครงการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ชุมพรระนอง เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้บริการสายการเดินเรือระดับโลก ซึ่งจากการศึกษาของกระทรวงคมนาคม ระบุว่า เบื้องต้นในระยะที่ 1 จะรองรับเรือที่ผ่านช่องแคบมะละกาประมาณ 10-20% หรือมีประมาณ 80,000-90,000 ลำต่อปี และจำนวน 125,000 ลำต่อปีในอีก 10 ปีข้างหน้า ส่งผลให้การจราจรทางน้ำแออัด โดยคาดการณ์ว่า ในปี 2572 จะมีเรือเดินทางมาใช้บริการไม่ต่ำกว่า 20,000 ลำ พร้อมก้าวสู่กาคเป็นโลจิสติกส์ทางน้ำของภูมิภาคอาเซียนต่อไป

ขณะเดียวกัน มอบหมายให้ กทท. เตรียมพร้อมในการพัฒนาธุรกิจต่อเนื่องหลังท่าให้ครบวงจร เช่น การซ่อมบำรุง จุดจอดเรือ จุดเติมน้ำมัน การส่งน้ำและอาหาร ฯลฯ ซึ่ง กทท. จะต้องพิจารณาดีมานต์ และซัพพลายให้มีความสอดคล้องกัน อีกทั้ง ต้องพิจารณาว่า กทท.จะดำเนินการเอง หรือร่วมทุนกับภาคเอกชน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศมากที่สุดเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม หากผลการดำเนินกรรเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือ ประหยัด และรวดเร็ว ก็จะเดินหน้าโครงการแลนด์บริดจ์ในระยะที่ 2 ต่อไปในอนาคต

ด้านนายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการ กทท. กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่3 ว่า ขณะนี้ กทท.อยู่ระหว่างพิจารณาจัดทำเอกสารการประกวดราคา (TOR) ของส่วนที่ 2 การก่อสร้างถนนและสะพาน วงเงิน 7,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่า TOR จะแล้วเสร็จภายใน 1-2 เดือน ทั้งนี้ จะเป็นงานที่เชื่อมกับส่วนที่ 1 หรืองานก่อสร้างงานทางทะเล ขณะที่ส่วนที่ 3 งานระบบรางและย่านรถไฟ และส่วนที่ 4 งานติดตั้งระบบและเครื่องจักร จะเร่งดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ได้ภายในปี 2568

สำหรับโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ท่าเรือ F กทท.ลงนามสัญญาร่วมกับกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ประกอบด้วย บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัทพีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด (PTT TANK) บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด โดยการท่าเรือฯ ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินขั้นต่ำเป็นค่าสัมปทานคงที่เท่ากับมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ที่ 29,050 ล้านบาท และค่าสัมปทานผันแปรที่ 100 บาทต่อทีอียูและกิจการร่วมค้า GPC จะต้องสมทบเงินเข้ากองทุนเยียวยาความเสียหายฯ ในอัตรา 5,000 บาทต่อไร่ต่อปี นับตั้งแต่เริ่มประกอบการ