‘กรมรางฯ’ ขึ้นเหนือบุก ‘ลำปาง’ รับฟังเสียง ปชช. พัฒนาระบบราง ‘ท้องถิ่น’ เสนอเส้นทางใหม่ ‘แม่เมาะ-งาว’ 70 กม. เชื่อมทางคู่-การค้าชายแดน

กรมรางฯขึ้นเหนือบุกลำปางรับฟังความเห็นประชาชน หวังสร้างระบบรางสู่ขนส่งระบบหลักของประเทศ ด้านท้องถิ่นเสนอโปรเจกต์รถไฟสายใหม่แม่เมาะงาวระยะทาง 70 กม. เชื่อมทางคู่กฟผ.แม่เมาะ หนุนการค้าชายแดนไทยสปป.ลาว พ่วง ปชช.มีงานทำในพื้นที่

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่และรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาคราชการและภาคเอกชน โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุม และเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ (R-map) ครั้งที่ 3 .ลำปาง วันนี้ (1 เม.. 2565) ว่าโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษการท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ เพื่อการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ยังรวมถึงการรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ โดยจะเป็นการเชื่อมต่อโครงข่ายเดิมกับแหล่งเกษตรกรรม แหล่งท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรม และประเทศเพื่อนบ้าน ในพื้นที่ในระดับจังหวัดและระดับภูมิภาค รวมถึงการพัฒนาเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์รูปแบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ การกระจายโอกาส การพัฒนาความเจริญสู่ระดับจังหวัด และภูมิภาค เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการเดินของประชาชน

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการรถไฟในภาคเหนือ มีเส้นทางรถไฟทางคู่ที่อยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้าง 1 เส้นทาง คือ เส้นทางเด่นชัยเชียงรายเชียงของ และยังมีอีก 2 โครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมขออนุมัติโครงการ คือ 1.เส้นทาฃปากน้ำโพเด่นชัย และ 2.เด่นชัยเชียงใหม่ ซึ่งจะมีการพัฒนาย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) ที่บริเวณสถานีห้างฉัตร

สำหรับโครงการรถไฟสายใหม่ในพื้นที่ .ลำปาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ(กฟผ.แม่เมาะ) สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง สภาหอการค้าจังหวัดลำปาง ได้เสนอโครงการรถไฟสายใหม่ เพื่อรองรับแนวคิดการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสีเขียวสำหรับสินค้าเกษตรและอาหารในพื้นที่ กฟผ. แม่เมาะในอนาคตโดยเสนอโครงการช่วงแม่เมาะงาว ระยะทาง 70 กิโลเมตร (กม.)

โดยทางทิศเหนือเชื่อมต่อกับโครงการทางรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงเด่นชัยเชียงรายเชียงของ ที่สถานีงาว ทิศใต้เชื่อมต่อกับทางรถไฟช่วงเด่นชัยเชียงใหม่ โดยมีทางเลือกที่จะเชื่อมต่อที่สถานีแม่เมาะ หรือสถานีแม่จาง ซึ่งเส้นทางดังกล่าว จะเป็นโครงข่ายรถไฟสายรองที่เชื่อมต่อเข้าไปยังแหล่งผลิตโดยตรง โดยผ่านพื้นที่ กฟผ. แม่เมาะ ที่มีพื้นที่กว่า 90,000 ไร่

ทั้งนี้ เป็นการลดต้นทุนในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมสินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับเกษตรกร และผู้ประกอบการในเขตจังหวัดภาคเหนือ เพิ่มความคุ้มค่าการลงทุนของภาครัฐ ในโครงการพัฒนาระบบขนส่งรถไฟรางคู่เด่นชัยเชียงรายเชียงของ และเด่นชัยเชียงใหม่

ด้านนายจำลักษ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวว่า .ลำปางมีรถไฟมาแล้วกว่า 100 ปี และมีอุโมงค์ขุนตานซึ่งมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ตามแผนพัฒนาจังหวัดลำปาง .. 2561-2565 ได้สรุปปัญหาและความต้องการโดยรวมของจังหวัด พบว่าประชาชนมีปัญหาทางการเกษตร เช่น ปริมาณสับปะรดและข้าวโพดล้นตลาด มีราคาตกต่ำและขาดตลาดรองรับสินค้าทางการเกษตรเหล่านั้น

อีกทั้งจังหวัดลำปางยังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประชาชนในวัยแรงงานส่วนใหญ่ อพยพไปตั้งถิ่นฐานในเมืองใหญ่หรือแหล่งอุตสาหกรรม ตลอดจนมีความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะเส้นทางรถไฟที่สามารถเชื่อมต่อไปยังชายแดน สปป. ลาว ซึ่งปัจจุบันได้มีการเชื่อมต่อไปยังประเทศจีนแล้ว

ดังนั้น หากจังหวัดลำปางมีเส้นทางรถไฟที่พาดผ่านอำเภอแม่เมาะซึ่งทาง กฟผ. แม่เมาะ มีแผนที่จะสร้างนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรให้กับเกษตรกรที่เป็นปัญหามายาวนาน และประเด็นสำคัญ โครงการนี้จะช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางและการขนส่งสินค้า ทั้งสินค้านำเข้าหรือสินค้าส่งออกไปยังชายแดนเชียงของ

โดยเป็นการพัฒนาและเพิ่มความสะดวกให้การค้าชายแดน ไทยสปป.ลาว ในอนาคต ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีเป้าหมายให้จังหวัดลำปางเป็น Land Link มากกว่าจะเป็น Land Pass โดยคาดหวังให้มีคนเข้ามาอยู่อาศัยและมีการจ้างงานในพื้นที่มากขึ้น

ขณะเดียวกัน เมื่อมีความสะดวกในการคมนาคม ความเจริญก็จะเข้ามา เกิดการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจ สู่อำเภอและชุมชน และคิดว่าหากโครงการนี้ เกิดขึ้นโดยเร็ว จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับประชาชนใน .ลำปาง ซึ่งจะทำให้ประชาชนไม่ต้องไปหางานทำในกรุงเทพฯ หรือแหล่งอุตสาหกรรม เกษตรกรก็มีรายได้เพิ่มขึ้น