ส่อง! สถานะ ‘สะพานมิตรภาพแห่งที่ 5‘ บึงกาฬ-บอลิคำไซ คืบหน้า 36.75% จ่อชง ครม.เปิด Free Zone ช่วงก่อสร้าง คาดเปิดใช้ก่อนสงกรานต์ 67

ส่อง! สถานะสะพานมิตรภาพแห่งที่ 5” บึงกาฬบอลิคำไซ มูลค่า 3.93 พันล้าน ศักดิ์สยามเตรียมลงพื้นที่ตามงาน 12 มี..นี้ เผยภาพรวมโปรเจ็กต์คืบหน้า 36.75% จ่อชง ครม. ไฟเขียวเปิดพื้นที่ Free Zone ขนย้ายเครื่องจักรข้าม 2 ประเทศภายใน มี.. 65 คาดก่อสร้างแล้วเสร็จ .. 67 พร้อมเปิดให้บริการก่อนสงกรานต์ 67 หนุนการเดินทางขนส่งท่องเที่ยวเชื่อมไทยสปป.ลาว

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ในวันที่ 12 มี.. 2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เตรียมลงพื้นที่ตรวจราชการ และติดตามความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 5 (บึงกาฬบอลิคำไซ) และโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 212 สาย .โพนพิสัยบึงกาฬ ตอน .หอคำบึงกาฬ .บึงกาฬโดยมีนางนาที รัชกิจประการ ประธานคณะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) พร้อมด้วยปลัดกระทรวงคมนาคม, รองปลัดฯ, อธิบดีกรมทางหลวง, อธิบดีกรมทางหลวงชนบท ร่วมลงพื้นที่ในครั้งดังกล่าวด้วย

ด้านนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการสะพานมิตรภาพไทยสปป.ลาวแห่งที่ 5 (บึงกาฬบอลิคำไซ) วงเงินก่อสร้าง 3,930 ล้านบาทว่า โครงการฯ ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 3 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 การก่อสร้างถนนฝั่งไทย ระหว่าง กม.0+000-9+400 วงเงิน 831 ล้านบาท เริ่มต้นโครงการเมื่อวันที่ 30 มิ.. 2563 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 16 .. 2565 จากข้อมูล .. 2565 มีความคืบหน้า 50.903% เร็วกว่าแผน 1.378%

ขณะที่ สัญญาที่ 2 ด่านพรมแดน ศุลกากร อุปกรณ์ต่างๆ และถนนภายในด่าน ระหว่าง กม.9+400-12+082.930 วงเงิน 883 ล้านบาท เริ่มต้นโครงการเมื่อวันที่ 25 .. 2563 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 13 มี.. 2566 จากข้อมูล .. 2565  มีความคืบหน้า 41.366% ช้ากว่าแผน 2.733%

และสัญญาที่ 3 งาน สะพานข้ามแม่น้ำโขงฝั่งไทย (รวมงานปรับปรุงสี่แยกทางหลวงหมายเลข 212 และลานอเนกประสงค์ใต้สะพาน) ระหว่าง กม.12+082.930-13+032.930 วงเงินรวม 1,263 ล้านบาท แบ่งเป็น ฝั่งไทย วงเงิน787 ล้านบาท และฝั่ง สปป.ลาว วงเงิน 476 ล้านบาท โดยได้กู้เงินกับสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ.

โดยในส่วนของไทย เริ่มต้นโครงการเมื่อวันที่ 24 .. 2563 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 8 .. 2566 จากข้อมูล .. 2565 มีความคืบหน้า 18% ช้ากว่าแผน 2.77% ส่วนของ สปป.ลาว จากข้อมูล .. 2565 มีความคืบหน้า 25.21% เร็วกว่าแผน 8.11% สำหรับภาพรวมของโครงการนั้น ในขณะนี้ คืบหน้า 36.756% ช้ากว่าแผน 1.375%

ทั้งนี้ การดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าว คาดว่า จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ทั้งฝั่งไทย และ สปป.ลาว ภายใน .. 2567 จากนั้นจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วม 2 ฝ่าย ระหว่างไทย และ สปป.ลาว ก่อนที่จะมีการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยการบำรุงรักษาหลังจากเปิดใช้สะพานมิตรภาพแห่งที่ 5 โดยคาดว่า จะเปิดให้บริการได้ภายในต้นปี 2567 หรือก่อนเทศกาลสงกรานต์ 2567

นายสราวุธ กล่าวต่ออีกว่า ขณะนี้ไทย และ สปป.ลาว อยู่ระหว่างการหารือร่วมกัน เพื่อเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวบริเวณจุดก่อสร้างโครงการฯ (Free Zone) เพื่อขนย้านอุปกรณ์ และเครื่องจักรต่างๆ ได้อย่างสะดวก หรือเป็นเขตแดนเดียวกัน โดยคาดว่า จะสามารถเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติได้ภายใน มี.. 2565

รายงานข่าวจาก ทล. ระบุว่า โครงการสะพานมิตรภาพไทยสปป.ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬบอลิคำไซ) มีระยะทาง16.18 กิโลเมตร (กม.) แบ่งเป็น ถนนฝั่งไทยยาว 13 กม. และถนนฝั่งลาวยาว 3.18 กม. แนวเส้นทางเริ่มต้นที่ฝั่งไทยช่วงจุดตัดทางหลวงหมายเลข222 บนพื้นที่ .วิศิษฐ์ .ไดสี และ .บึงกาฬ .เมืองบึงกาฬ

จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันตกเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับทางหลวงชนบทหมายเลข บก. 3217 ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านหนองนาแซง มุ่งหน้าไปยังทิศทางเดิมและตัดกับทางหลวงชนบทหมายเลข บก.3013 เลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านพรมแดนฝั่งไทย และยกข้ามทางหลวง หมายเลข 212 ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำโขง 200 เมตร

โดยจะข้ามแม่น้ำโขงผ่านจุดสลับทิศทาง จราจร และด่านพรมแดนฝั่ง สปป.ลาวสิ้นสุดโครงการที่ทางหลวงหมายเลข13 ลักษณะโครงการเป็นรูปแบบทางหลวง ถนนขนาด 4 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง2.50 เมตรในเขตทาง 60 เมตร

ส่วนรูปแบบสะพานข้ามแม่นํ้าโขงนั้น เป็นแบบสะพานคานขึงคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง ขนาด2 ช่อง มีไหล่ทางและทางเท้า ความยาวช่วงข้ามแม่นํ้าโขง 810 เมตรและทางลาดขึ้นลงสะพานทั้งสองฝั่งรวมความยาวสะพานทั้งหมด1,350 เมตร มีด่านควบคุม อยู่ทั้ง 2 ฝั่งประเทศ และมีจุดสลับทิศทางจราจรอยู่ในฝั่ง สปป.ลาว

สำหรับสะพานมิตรภาพไทยสปป.ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬบอลิคำไซ) ถือเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าแห่งใหม่ที่สะดวกสบาย กระตุ้นภาคเศรษฐกิจและสังคม สนับสนุนระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศไทย และ สปป.ลาว ลดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ .บึงกาฬ และเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทย และสปป.ลาว

นอกจากนี้ ยังมีมีความโดดเด่นด้วยงานสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์ ซึ่งมีรูปแบบของโครงสร้างประยุกต์ โดยนำเสาหลักของสะพาน (Pylon) มาประยุกต์ ระหว่างสัจจะด้านโครงสร้าง และแคนเครื่องดนตรีท้องถิ่นของลุ่มแม่น้ำโขงที่แสดงถึงวัฒนธรรมของประเทศไทย และ สปป.ลาว สื่อถึงความสนุก รื่นเริง เป็นมิตร ความคุ้นเคย และความเป็นกันเอง