เสร็จแล้ว! ทช. ซ่อมสร้างผิวทางถนนสาย นม.1056 ‘โคราช’ ระยะทาง 7.9 กม. หนุนคมนาคมขนส่ง-เพิ่มความปลอดภัย

ทางหลวงชนบทอัดงบ 77 ล้าน ซ่อมสร้างผิวทางถนนสาย นม.1056 .นครราชสีมา ระยะทาง 7.9 กม. ล่าสุดเปิดให้ประชาชนสัญจรแล้ว ยกระดับมาตรฐานงานทาง หนุนการคมนาคมขนส่ง อัพระสิทธิภาพความปลอดภัยในการสัญจร

นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า ทช. ได้ดำเนินการซ่อมสร้างผิวทางแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีตบนถนนทางหลวงชนบท สาย นม.1056 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2-บ้านคำไฮ .สูงเนิน .นครราชสีมา ระยะทางรวม 7.994 กิโลเมตร(กม.) โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 77 ล้านบาท

ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่ง รองรับปริมาณการจราจรจากพื้นที่อุตสาหกรรม เพิ่มความสะดวกปลอดภัยในการเดินทางให้กับประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบท เพื่อสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง พัฒนาประสิทธิภาพความปลอดภัยของผู้ใช้เส้นทาง

สำหรับถนนทางหลวงชนบทสาย นม.1056 เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 กับถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 และตลอดเส้นทางมีโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง จึงมีปริมาณการจราจรสูงถึง6,000 คันต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถบรรทุกและยานพาหนะขนาดใหญ่สัญจรไปมาเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ในช่วงเวลาเร่งด่วนมักเกิดปัญหาการจราจรติดขัด

ดังนั้น เพื่อบำรุงรักษาเส้นทางให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ต้านทานน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนจากยานพาหนะ พร้อมทั้งพัฒนาประสิทธิภาพความสะดวกปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ทช.จึงได้ดำเนินโครงการซ่อมสร้างผิวทางแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีตด้วยวิธีการปรับปรุงคุณภาพวัสดุชั้นทางเดิมแล้วนำกลับมาใช้งานใหม่ (Pavement  In-Place Recycling)

โดยดำเนินการบนถนนทางหลวงชนบทสาย นม.1056 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2-บ้านคำไฮ .สูงเนิน.นครราชสีมา ในช่วง กม.ที่ 2+850 ถึง กม.ที่ 4+400 และ ช่วง กม.ที่ 4+640 ถึง กม.ที่ 11+084 โดยขยายผิวจราจรจากเดิมความกว้าง 8-9 เมตร เป็นความกว้าง 12 เมตร ปรับปรุงชั้นโครงสร้างพื้นทางและผิวจราจร

สำหรับการซ่อมสร้างผิวทางแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีตด้วยวิธีการปรับปรุงคุณภาพวัสดุชั้นทางเดิมแล้วนำกลับมาใช้งานใหม่ ใช้ระยะเวลาการดำเนินงานที่รวดเร็ว สามารถเปิดการจราจรได้ทันทีหลังจากดำเนินการแล้วเสร็จ สอดคล้องกับสภาพการจราจรในพื้นที่ รวมถึงมีความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์จากการปรับปรุงโครงสร้างทางและวัสดุเดิมให้มีความแข็งแรง ปัจจุบันโครงการดังกล่าวดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์ และเปิดเส้นทางให้ประชาชนใช้สัญจรได้อย่างปลอดภัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว