‘ศักดิ์สยาม’ มอบ รฟท.-รฟม. พิจารณากำหนด TOR ใหม่-แก้ไขเพิ่มเติมให้ ‘เอกชนถ่ายทอดเทคโนโลยีกับสถาบันวิจัยระบบรางฯ’

ศักดิ์สยามตามความคืบหน้าจัดตั้งสถาบันวิจัยระบบรางฯ ลุยสรรหาประธานกรรมการคณะกรรมการคุณวุฒิภายใน 180 วันนับตั้งแต่กฤษฎีกามีผลบังคับใช้ มอบหมาย รฟท.-รฟม. พิจารณากำหนดในสัญญาฯ ให้เอกชนถ่ายทอดเทคโนโลยีกับสถาบันรางฯพร้อมเผยโครงสร้าง 7 ศูนย์ความเป็นเลิศ-1 สำนักงาน สั่ง ขร. หารือผู้ให้บริการระบบรางวางแผนวิจัยผลิตชิ้นส่วนใช้ในประเทศ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความก้าวหน้าการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ว่า ตามที่ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138 ตอนที่ 46 เมื่อวันที่ 13 .. 2564 ได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ..1564 และต่อมากระทรวงคมนาคมได้มีคำสั่ง ที่ 110/2564 สั่ง วันที่ 16 .. 2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ในวาระเริ่มแรก ตามมาตรา 45 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวนั้น

ทั้งนี่ ตนได้รับทราบกรอบระยะเวลาการดำเนินการของคณะกรรมการสถาบันวิจัยฯ ซึ่งจะดำเนินการใน 3 ด้าน ได้แก่แต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงคมนาคมขึ้นเป็นผู้อำนวยการในระยะเริ่มแรก การสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันวิจัยฯ และการสรรหาผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ โดยคณะกรรมการสถาบันวิจัยฯ ดังกล่าว ต้องดำเนินการในการสรรหาประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับจากพระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ขณะนี้ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) อยู่ระหว่างการดำเนินการ เรื่อง บุคลากรที่จะมาช่วยดำเนินงานวิจัยในสถาบันวิจัยฯ โดยได้บูรณาการร่วมกันกับมหาวิทยาลัยท้องถิ่นที่มีโครงการพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง และพิจารณาการนำผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศที่ได้มีการทำกรอบบันทึกความร่วมมือกับกระทรวงคมนาคม เพื่อมาช่วยตั้งต้นสถาบันวิจัยฯ ในระยะแรก

ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการพิจารณากำหนดในสัญญาที่จะลงนามใหม่ หรือพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดในสัญญาที่ได้ลงนามแล้ว โดยให้สถาบันวิจัยฯ ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบรางจากเอกชนคู่สัญญา และให้ครอบคลุมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานของสถาบันวิจัยฯ ด้วย ซึ่ง ขร.จะมีการติดตามความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวต่อไป

*** โครงสร้างสถาบัยวิจัยระบบรางฯ ***

สำหรับโครงสร้างสถาบันวิจัยฯ จะถูกจัดเป็น 7 ศูนย์ความเป็นเลิศ และ 1 สำนักงาน เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงานของสถาบันวิจัย ได้แก่

  1. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟความเร็วสูง (Excellent Center of High Speed Rail Tech) ทำหน้าที่เกี่ยวกับ วิจัย พัฒนารับและถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเดินรถและบำรุงรักษารถไฟความเร็วสูง 
  2. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟขนส่งสินค้า (Excellent Center of Freight Rail Tech) ทำหน้าที่เกี่ยวกับ วิจัย พัฒนา รับและถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเดินรถและบำรุงรักษารถไฟขนส่งสินค้า
  3. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าในเมือง (Excellent Center of Metro Rail Tech) ทำหน้าที่เกี่ยวกับ วิจัย พัฒนา รับและถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเดินรถและบำรุงรักษารถไฟฟ้าในเมือง
  4. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านแบตเตอรี่สำหรับรถไฟ (Excellent Center of Battery Power Tech) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัยพัฒนา รับและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบพลังงานอนาคตสำหรับรถไฟ เช่น Battery รถไฟ EV เป็นต้น
  5. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมระบบรางและการออกแบบสำหรับผู้โดยสาร (Excellent Center of Innovation Rail Tech) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีระบบรางในอนาคต เช่น MAGLEV TOD เป็นต้น
  6. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาบุคลากรระบบราง (Excellent Center of Training Center) ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้และฝึกอบรมเทคโนโลยีระบบราง เช่น รถไฟความเร็วสูง ความรู้ทางด้านรถไฟ เป็นต้น
  7. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านข้อมูลระบบราง (Excellent Center of Rail Data Center) ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลระบบรางทั้งระบบ เช่น งานวิจัยด้านระบบราง ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบราง องค์ความรู้ด้านระบบราง นอกจากนี้ จะทำวิจัยพัฒนา รับและถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่เกี่ยวกับซอร์ฟแวร์ที่ใช้ในระบบราง ระบบอาณัตสัญญาณ 5G และความปลอดภัยทางดิจิทัล และ
  8. สำนักบริหารงานทั่วไป ทำหน้าที่ในการบริหารงานทั่วไป ทางด้านการเงิน/การบัญชี บุคลากร สถานที่ รวมถึง การจดทะเบียนสิทธิบัตรการวิจัย

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า ได้สั่งการให้ ขร.ร่วมกับสถาบันวิจัยฯ สร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา โดยให้จัดทำกรอบความร่วมมือ (MOU) กับแต่ละสถานศึกษา ในเรื่องการวิจัยและบุคลากร พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับต่างประเทศและจัดทำ MOU ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยฯ และบุคลากร รวมถึงการจัดทำแผนกลยุทธ์(Roadmap) การประสานความร่วมมือให้ชัดเจน นอกจากนี้ ให้ ขร. หารือกับหน่วยงานผู้ให้บริการระบบราง(Operator) เกี่ยวกับชิ้นส่วนระบบรางที่ต้องการใช้ในการซ่อมบำรุง เพื่อเป็นข้อมูลให้สถาบันวิจัยฯ วางแผนการวิจัยและผลิตชิ้นส่วนเหล่านั้น ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

สำหรับสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) นั้น จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่จัดทำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีระบบรางของประเทศ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง ร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง พัฒนาบุคลากรด้านระบบราง และจัดทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีระบบราง โดยมีเป้าหมายเร่งด่วน คือ การวิจัยชิ้นส่วนในระบบรางเพื่อให้สามารถผลิตรถไฟในประเทศ (Local Content) ได้ตามนโยบายThai First รวมทั้งการวิจัยเพื่อสร้างรถไฟ EV มาใช้ในประเทศไทย พร้อมกับการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ ได้มีการประชุม เพื่อพิจารณาการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถาบันฯ และการสรรหาเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานยังสถาบันฯ ในระยะแรกเริ่ม (ปีที่ 1 หรือประมาณ 6 เดือน) จำนวน 80 คนแบ่งเป็น ผู้บริหารระดับสูง 3 คน, ผู้บริหารระดับกลาง 9 คน, ผู้บริหารระดับต้น 14 คน, ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน, ผู้ปฏิบัติงานประเภทวิชาชีพระดับสูง 14 คน และผู้ปฏิบัติงานประเภทวิชาชีพระดับต้น 31 คน และจะเพิ่มในปีที่ 2 อีก 46 คน รวมมีบุคลากรและเจ้าหน้าที่ 126 คน อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ จะมีการพิจารณาหาสถานที่ เพื่อจัดตั้งอาคารของสถาบันฯ โดยในเบื้องต้น จะเป็นการเช่า โดยกระบวนการทั้งหมดนั้นจะแล้วเสร็จ และมีสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง(องค์การมหาชน) อย่างเป็นทางการใน .. 2564 ตามแผน