‘7 สายการบิน’ ตัดพ้อรัฐฯ ไร้การเหลียวแล หลังรอคอยซอฟต์โลนมาแล้ว 478 วัน หวังต่อลมหายใจ ชี้เครื่องบินจอดนิ่งสนิท 170 ลำ

สมาคมสายการบินประเทศไทยขนทัพ 7 สายการบิน วอนรัฐเร่งพิจารณาซอฟท์โลน 5 พันล้าน หวังต่อลมหายใจให้ธุรกิจการบินชีวิตพนักงานเกือน 2 หมื่นคน หลังยื่นเรื่องมาแล้ว 478 วัน แต่ไร้การเหลียวแล ย้ำแบกภาระต้นทุนไม่ไหวแล้ว อ่วมมาตรการหยุดบินรายได้เป็นศูนย์เครื่องบินจอดนิ่งสนิท 170 ลำ

นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ในฐานะนายกสมาคมสายการบินประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่สมาคมฯ ได้ขอรับการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) ตั้งแต่สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระบาดรอบแรกช่วงมี..2563 โดยได้ติดตามต่อเนื่อง และเข้าพบ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 .. 2563 เพื่อให้เร่งพิจารณาเรื่องดังกล่าว จากนั้นเดือน ..2564 ส่งหนังสือติดตามอีกครั้ง จนปัจจุบันก็ยังไม่ได้รับการพิจารณารวมเป็นเวลากว่า 478 วันแล้ว

สำหรับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การขนส่งทางอากาศได้รับผลกระทบรุนแรงมากกว่าวิกฤติใดๆ ในรอบ 10 ปี โดยปี 2563 ผู้โดยสารของ 7 สายการบินลดลง 64.7% เมื่อเทียบกับปี 2562 ส่วนผู้โดยสารระหว่างประเทศ ลดลง81.7% และภายในประเทศ ลดลง 44.9% ขณะที่ เที่ยวบินในประเทศ ลดลง 33.8% ซึ่งเป็นผลมาจากการจำกัดการเดินทาง ล่าสุดได้สั่งให้หยุดทำการบินตั้งแต่วันที่ 21 .. 2564 อีก เท่ากับว่ารายได้ของสายการบินเป็นศูนย์ขณะที่ค่าใช้จ่ายเท่าเดิม อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาทุกสายการบินขาดทุนต่อเนื่อง และขณะนี้เริ่มแบกภาระต้นทุนไม่ไหวแล้ว จึงอาจจะส่งผลต่อการกลับมาทำการบิน และการจ้างพนักงาน

ที่ผ่านมาสายการบินทั้ง 7 สายให้ความร่วมมือกับภาครัฐเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันได้มีการปรับตัวในหลายมิติ เช่นการออกมาตรการด้านการลดค่าใช้จ่าย, การเพิ่มช่องทางในการหารายได้, การบริหารฝูงบินและเส้นทางบินให้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำรงคงอยู่ได้และดำเนินการต่อไปได้ แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในละลอกใหม่ สายการบินในประเทศทุกสายถูกให้ระงับเที่ยวบินทั้งหมด ส่งผลให้สมาชิกทั้ง 7 สายการบินต้องแบกรับภาระต้นทุน ทั้งด้านการปฎิบัติการบิน และด้านบุคลากรอันมหาศาล การถูกสั่งให้หยุดการบินนั้นเท่ากับว่ารายได้ที่จะเข้ามาเป็นศูนย์ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายยังเพิ่มขึ้นเท่าเดิม มองว่าขณะนี้ทุกสายการบินต่างก็ประสบภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง และเริ่มที่จะแบกรับภาระต้นทุนไม่ไหวซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการกลับมาให้บริการและการจ้างงานในอนาคต

นายพุฒิพงษ์ กล่าว

นายพุฒิพงษ์ กล่าวอีกว่า เหตุผลหลักที่ทางสมาคมฯ ได้มีการประชุมในวันนี้ (21 .. 2564) มีวัตถุประสงค์ เพื่อติดตามความคืบหน้า เรื่องซอฟต์โลนจากทางรัฐบาล จึงขอให้รัฐบาลพิจารณาเร่งด่วน รวมถึงมาตรการความช่วยเหลือ เช่น การพักชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ ของภาครัฐ เพื่อลดผลกระทบ และต่อลมหายใจให้กับธุรกิจสายการบิน ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่นอกจากจะเป็นฟันเฟืองที่สำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ยังช่วยฟื้นฟูธุรกิจรายอื่นที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอื่นๆ

ด้านนายสันติสุข คล่องใช้ยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย กล่าวว่า ธุรกิจการบินถือว่าได้รับผลกระทบหนักสุดและขณะนี้ยังหาทางออกไม่ได้จากผลกระทบจากโควิด-19 มา 17 เดือน หรือเกือบ 1 ปีครึ่งแล้ว และจากคำสั่งงดบินเข้าออกพื้นที่สีเเดงเข้ม ตั้งเเต่วันที่ 21 .. 2564 ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด ทำให้เครื่องบินของทั้ง 7 สายการบิน กว่า 170 ลำต้องจอดนิ่ง แต่ยังมีค่าจ้างพนักงานกว่า 2 หมื่นคน รวม เกือบ 1 พันล้านบาทต่อเดือน ขณะที่รายได้เป็นศูนย์ จึงเป็นที่มาที่รัฐบาลต้องช่วยเหลือ ซึ่งจำทำให้ธุรกิจการบินอาจจะไปต่อไม่ได้

ขณะที่ นายวรเนติ หล้าพระบาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยเวียตเจ็ท กล่าวว่า ทางสมาคมฯ ได้ปรับลดตัวเลขวงเงินการขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ รวม 7 สายการบิน จาก 2.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยื่นขออนุมัติครั้งแรกเมื่อ มี.. 2563 เหลือ 1.5 หมื่นล้านในการยื่นขออนุมัติเมื่อต้นปี 2564 แต่ก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติ จนล่าสุดปรับลดเหลือเพียง 5 พันล้านบาท เพื่อใช้รักษาการจ้างงานพนักงานทั้ง 7 สายการบิน กว่า 2 หมื่นคน ในครึ่งปีหลังของ 2564 เท่านั้น

สำหรับเงื่อนไขการขอรับเงินกู้ฯ ยอมรับว่าสายการบินไม่มีสินทรัพย์ในการค้ำประกันเงินกู้ จึงอยากให้รัฐบาลผ่อนผันให้นำตารางบิน (สล็อต) สิทธิการบิน และใบอนุญาตประกอบการกิจการค้าขายในการเดินอากาศใหม่ (เอโอแอล) ซึ่งเป็นใบอนุญาตที่ได้รับจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) มาเป็นหลักค้ำประกัน เพื่อให้สามารถกู้เงินได้ จึงขอความเห็นใจจากรัฐบาล กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา วงเงิน 5 พันล้าน เป็นการต่อลมหายใจให้สายการบิน และเป็นวงเงินที่ทำให้สามารถรักษาการจ้างของพนักงานต่อไปได้นายวรเนติ กล่าว

นางชาริตา ลีลายุทธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยสมายล์แอร์เวย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาสายการบินไม่ได้นิ่งนอนใจ พยายามหาหนทางที่จะมาช่วยให้สามารถจ้างพนักงานได้ต่อ แต่เนื่องด้วยยังติดข้อในจำกัดที่จะช่วยเหลือเฉพาะธุรกิจขนาดย่อมขณะที่ธุรกิจสายการบินเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะฉะนั้นวงเงินที่จะช่วยเหลือให้กู้ได้จะอยู่ที่ 15 ล้านบาท ซึ่งล่าสุดอยู่ระหว่างหารือกับกระทรวงแรงงาน เพื่อให้ช่วยเรื่องการรักษาการจ้างแรงงาน อย่างไรก็ตามถ้าสุดท้ายแล้วหากสายการบินไม่ไหวจริงๆ และไม่สามารถจ้างพนักงานไว้ได้แล้ว จะต้องขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง