‘ศักดิ์สยาม’ สั่งเร่งรถไฟสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ‘รังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต’ คาดเปิดใช้ภายในปี 68

ศักดิ์สยามสั่งเร่งรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายรังสิต.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตคาดเปิดใช้ภายในปี 68 สั่ง รฟท. จัดรถไฟดีเซลรางเชื่อมรังสิตเชียงรากน้อย ให้บริการในช่วงระหว่างก่อสร้างภายในปี 64 พร้อมปรับปรุงถนนพื้นที่โดยรอบ ลุยเชื่อมเส้นทาง มธ.-รพ. พ่วงพัฒนาพื้นที่ TOD-ปั้นบุคลากรระบบราง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันนี้ (25 มิ.. 2564) ได้หารือร่วมกับ รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และคณาจารย์ฯ ถึงแนวทางการการพัฒนาพื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และการพัฒนาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม โดยทั้ง 2 ฝ่ายเห็นสมควรดำเนินการพัฒนาร่วมกัน 5 เรื่อง ประกอบด้วย

1.ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยเร่งดำเนินการงานโยธาและระบบรางเป็นลำดับแรกก่อน ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ ภายในปี 2568 ท้ังน้ี ในระหว่างการก่อสร้าง รฟท.จะได้จัดรถไฟดีเซลรางเดินรถเชื่อมต่อระหว่างสถานีรังสิตไปถึงสถานีเชียงรากน้อย เพื่อรองรับการเดินทางไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตก่อนโดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในช่วง .. 2564

2.กรมทางหลวง (ทล.) ได้พิจารณาปรับปรุงโครงข่ายถนนบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในเบื้องต้นแล้วรวมทั้งมีแผนการพัฒนาในอนาคตด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายถนน และการคมนาคมบริเวณพื้นที่รังสิตเป็นไปด้วยความสะดวก ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในภาพรวม จึงได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แต่งต้ังคณะทำงานเพื่อพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมบริเวณพื้นท่ีรังสิต เพื่อพิจารณาผลักดันการดำเนินการไปสู่เป้าหมายดังกล่าวต่อไป

3.กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ปรับปรุงเส้นทางการเดินรถ เพื่อรองรับพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตแล้ว ท้ังนี้ เนื่องจากมีนักศึกษาและประชาชนจำนวนมากมาใช้บริการของมหาวิทยาลัยฯ และโรงพยาบาล ดังน้ัน จึงได้มอบหมายให้ ขบ.พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะปรับแนวเส้นทาง เข้าไปในมหาวิทยาลัยฯ และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์โดยตรงด้วย

4.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความสนใจที่จะร่วมพัฒนาพื้นที่กับกระทรวงคมนาคม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี (Transit Oriented Development หรือ TOD) ของกระทรวงคมนาคม ดังนั้น ทั้ง 2 ฝ่ายจึงเห็นควรจะร่วมมือกัน ซึ่งได้มอบหมายให้ สนข.พิจารณายกร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายในรายละเอียด เพื่อผลักดันความร่วมมือระหว่างกันให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

5.ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงในหลักการ ที่จะร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมระบบราง โดยอาจขยายผลไปถึงการพัฒนาบุคลากรด้านการขนส่งอื่นๆ เช่น ด้านพาณิชยนาวี เป็นต้น โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะได้หารือในรายละเอียดถึงกรอบความร่วมมืออีกครั้งหนึ่ง