‘คมนาคม’ บูรณาการ 4 เมกะโปรเจ็กต์ ยึดแผน ‘MR-MAP’ แก้ทับซ้อน-ลดผลกระทบ ปชช. ด้าน ‘ด่วนฉลองรัช-สระบุรี’ คาดตอกเข็มปี 66 แล้วเสร็จปี 69

คมนาคมถก ทล.-กทพ. เร่งบูรณาการ 4 เมกะโปรเจ็กต์ พร้อมจัดลำดับความสำคัญ วางแผนไม่ให้กระทบการจราจรของ ปชช. สั่งพิจารณาแลนด์บริดจ์แทรมภูเก็ตทางด่วนฉลองรัชฯยึดแผน MR-MAP หวั่นโครงการทับซ้อนเดดไลน์ได้ข้อสรุปภายในปลาย เม..นี้ ด้านทางด่วนฉลองรัชฯ จ่อเปิดประกวดราคาเฟส 1 “ช่วงจตุโชติวงแหวนรอบ3” ระยะทาง 20.4 กม. ..-.. 64 คาดตอกเข็มต้นปี 66 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการตลอดเส้นทาง 104.7 กม.ในปี 69

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือ เรื่อง บูรณาการความเชื่อมโยงโครงการเชื่อมระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) และโครงการทางพิเศษสายฉลองรัชนครนายกสระบุรี ช่วงจตุโชติถนนวงแหวนรอบ 3 ว่า ที่ประชุมวันนี้ (31 มี.. 2564) ได้ติดตามวางแผนงานและเร่งรัดการดำเนินการให้บูรณาการโครงการก่อสร้างโครงข่ายถนนของกรมทางหลวง (ทล.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.), โครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม) จังหวัดภูเก็ต, การพัฒนาโครงข่าย MR-MAP และโครงการแลนด์บริดจ์ เพื่อจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินการ พร้อมทั้งวางแผนการดำเนินการในระหว่างการก่อสร้าง ไม่ให้กระทบกับการจราจรของประชาชน

ทั้งนี้ ในการหารือบูรณาการร่วมกันถึงโครงการแต่ละโครงการดังกล่าว จะพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการต่างๆ ว่า โครงการใดมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการเป็นลำดับแรก และลำดับต่อๆ ไป ซึ่งในแต่ละโครงการดังกล่าวนั้น จะต้องบูรณาการและยึดโครงการ MR-MAP เป็นหลัก เพื่อไม่ให้เกิดความทับซ้อนในการดำเนินโครงการ และที่สำคัญ คือ ประชาชนจะต้องไม่ได้รับผลกระทบทางด้านการจราจร ทั้งยังต้องสอดคล้องกับปริมาณความต้องการในแต่ละโครงการด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะได้ข้อสรุปของแต่ละหน่วยงาน และกลับมาประชุมอีกครั้งในช่วงปลาย เม..2564

นายชยธรรม์ กล่าวต่ออีกว่า ในส่วนของโครงการทางพิเศษ สายฉลองรัชนครนายกสระบุรีนั้น จะต้องพิจารณาในระยะที่ 1 ทางพิเศษฉลองรัชนครนายก ซึ่งจะต้องไปบูรณาการร่วมกันเพื่อให้สอดรับกับโครงการถนนวงแหวนรอบที่ 3 ฝั่งตะวันออกที่เชื่อมต่อกัน ทั้งนี้ เมื่อมีการก่อสร้างแล้วเสร็จในระยะที่ 1 ทางพิเศษฉลองรัชนครนายก ไปถึงวงแหวนรอบที่ 3 ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาจราจรได้ประมาณ 10 ปี

โดยในปัจจุบันมีปริมาณการจราจรหนาแน่น เนื่องจากเป็นเส้นทางหลักสู่ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดและช่วงเทศกาล จะเกิดปัญหาการจราจรติดขัดตลอดแนวเส้นทาง อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวนั้น ซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่ยังไม่มีโครงการถนนวงแหวนรอบที่ 3 และโครงการ MR-MAP จึงต้องไปพิจารณาให้มีการบูรณาการร่วมกันเกิดขึ้น ขณะที่ โครงการแทรม จังหวัดภูเก็ตนั้น ในขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่จะต้องไปพิจารณาจัดลำดับความสำคัญ และคำนึงถึงผลกระทบด้านการจราจร และต้องบูรณาการไม่ให้โครงการทับซ้อนเช่นเดียวกัน

รายงานข่าวจาก กทพ. ระบุว่า โครงการทางพิเศษสายฉลองรัชนครนายกสระบุรี แบ่งการดำเนินการออกเป็น 4 ระยะโดยระยะที่ 1 ช่วงจตุโชติถนนวงแหวนรอบ 3 (กับจุดเชื่อมต่อทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง) ระยะทาง 20.40 กิโลเมตร(กม.) ในขณะนี้ อยู่ระหว่าง กทพ. บูรณาการแนวทางการออกแบบเป็นลักษณะทางแยกต่างระดับร่วมกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายวงแหวนรอบนอกรอบที่ 3 (M91) ของ ทล. เพื่อลดผลกระทบของประชาชนจากการเวนคืนพื้นที่ และลดความสับสน ในการเดินทางของผู้ใช้ทาง

ทั้งนี้ ได้กำหนดเป้าหมายและแผนเร่งรัดดำเนินงาน โดยให้ดำเนินการทบทวนการศึกษาความเหมาะสม คาดว่าจะแล้วเสร็จใน เม.. 2564 จากนั้นจะนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ. ในช่วง เม..-.. 2564 ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติต่อไป ซึ่งหากกรณี ครม.มีมติอนุมัติโครงการประมาณ .. 2564 อาจเริ่มขั้นตอนประกวดราคาได้ในช่วง ..-.. 2564

สำหรับโครงการทางพิเศษสายฉลองรัชนครนายกสระบุรี (ช่วงจตุโชติถนนวงแหวนรอบ 3) นั้น ส่วนที่ 1 มีจุดเริ่มต้นบริเวณทางหลวงหมายเลข 305 (ถนนรังสิตนครนายก) จากนั้นแนววิ่งมา ทางทิศใต้ ผ่านพื้นที่ .ลำลูกกา .ปทุมธานีและตัดทางหลวงหมายเลข 3312 (ถนนลำลูกกา) แล้วมุ่งหน้าลงไปทางทิศใต้ข้ามคลองหกวาสายล่าง เข้าสู่เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ตัดถนนมิตรไมตรี ข้ามคลองแสนแสบ เข้าสู่เขตพื้นที่แขวงโคกแฝด และสิ้นสุดโครงการ

โดยโครงข่ายทางพิเศษฉลองรัชไปยังจังหวัดนครนายกและจังหวัดสระบุรี เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางที่สะดวกรวดเร็วและเป็นการเพิ่มโครงข่ายถนนเพื่อแบ่งเบาปริมาณจราจรบนถนนปัจจุบัน อีกทั้งช่วยในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระบุรี ระยะทาง 104.7 กม. เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร (ทิศทางละ 3 ช่องจราจร) ใช้งบประมาณลงทุน 80,594 ล้านบาท แยกเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 7,395 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 73,198 ล้านบาท ซึ่งตามแผน กทพ.คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 2566 และแล้วเสร็จและเปิดใช้บริการในปี 2569