ทล.ลุยของบปี 65 มูลค่า 420 ล้าน สร้างทางแยกต่างระดับ ‘พหลฯ-ม.พะเยา’ แก้จราจร-ลดอุบัติเหตุ

ทางหลวงฯลุยของบปี 65 วงเงิน 420 ล้าน ผุดโปรเจ็กต์ปรับปรุงจุดตัด ทล.1 กับทางเข้า .พะเยา เป็นทางแยกต่างระดับ เพิ่มประสิทธิภาพการจราจร ลดอุบัติเหตุ พร้อมยกระดับความปลอดภัยด้านคมนาคม คาดเริ่มก่อสร้างต้นปี 65

รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) ระบุว่า ทล. ได้จัดทำแผนออกแบบโครงการทางแยกต่างระดับจุดตัดถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) กับทางเข้ามหาวิทยาลัยพะเยา บริเวณ กม. 822+500 ท้องที่ .แม่กา .เมือง.พะเยา ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยพะเยา ศูนย์การแพทย์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา เนื่องจากปัจจุบันบริเวณทางเข้ามหาวิทยาลัยพะเยาเป็นทางแยกสัญญาณไฟจราจร ตัดกับทางหลวงหมายเลข 1 ซึ่งเป็นจุดทางแยกที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่น และเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ประกอบกับถนนพหลโยธิน เป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้า จึงต้องออกแบบปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่หนาแน่นและมีแนวโน้มสูงขึ้น และลดการเกิดอุบัติเหตุ ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน

ทั้งนี้ กรมทางหลวงจึงดำเนินการออกแบบเป็นรูปแบบทางลอดขนาด 4 ช่องจราจร โดยจะก่อสร้างทางลอดบนทางสายหลัก และปรับปรุงทางคู่ขนานแบบ 2 ทิศทาง ทั้ง 2 ฝั่งของถนน ความกว้างช่องจราจร ช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.50 เมตร พร้อมทางเท้าและระบบระบายน้ำใต้ทางเท้า แบ่งทิศทางการจราจรด้วยแบริเออร์คอนกรีตแบบ 2 หน้า ความยาวทางลอด 760 เมตร พร้อมปรับปรุงขยายช่องจราจรให้สัมพันธ์กับทางลอดเพื่อให้เกิดความปลอดภัย โดยจะใช้งบประมาณก่อสร้าง 420 ล้านบาท ปัจจุบันโครงการดังกล่าว อยู่ในระหว่างการเสนอของบประมาณก่อสร้างปีงบประมาณ .. 2565 หากได้รับการจัดสรรงบประมาณ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณต้นปี 2565

สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างทางเข้าหน้ามหาวิทยาลัยและชุมชนฝั่งตรงข้ามจะใช้วงเวียนในการเปลี่ยนทิศทางการจราจร เพื่อระบายรถเข้าสู่ถนนคู่ขนาน โดยออกแบบวงเวียนขนาด 1 ช่องจราจร กว้าง 4 เมตร ไหล่ทางด้านในกว้าง 1 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2 เมตร รวมความกว้าง 7 เมตร พร้อมทั้งปรับปรุงทางคู่ขนานทั้ง 2 ฝั่งตลอดแนวทางลอดให้รถสามารถวิ่งสวนทางกันได้ และเมื่อนำมาเชื่อมต่อกับระบบวงเวียนจึงทำให้การจราจรทั้ง 2 ฝั่งสามารถเดินทางถึงกันได้อย่างปลอดภัย

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะแก้ไขปัญหาด้านการจราจรปัจจุบันและสอดคล้องกับแผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงในอนาคต ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน ลดการเกิดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 กับทางเข้ามหาวิทยาลัยพะเยา ให้มีความคล่องตัว ลดผลกระทบต่อชุมชน รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการคมนาคมขนส่งโดยรวมอีกด้วย