ออกโรง! ‘กมธ.คมนาคม’ ลั่น! กทม.ขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซ้ำเติม ปชช.ช่วงวิกฤติ ‘โควิด-19’ จ่อเรียกชี้แจง 21 ม.ค.นี้

กมธ.คมนาคมชี้ กทม. ขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาท อาศัยวิกฤติโควิด-19” ซ้ำเติมประชาชนพร้อมไม่สนใจข้อท้วงติงราชการ เชื่อทำราคาได้ต่ำกว่า 65 บาทตลอดสาย เตรียมเรียกแจง 21 ..นี้ ยันส่งเรื่องรัฐบาลคัดค้านถึงที่สุด

นายโสภณ ซารัมย์ ประธานกรรมาธิการ การคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึงกรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ออกประกาศเพื่อปรับอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายอยู่ที่ 104 บาท เป็นการซ้ำเติมประชาชนในช่วงสถานการณ์วิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทั้งนี้ กมธ.การคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ได้แสดงจุดยืน ไม่เห็นด้วยกับการคิดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ราคร 65 บาทตลอดสาย ขณะเดียวกัน ตามที่ขอให้ กทม. ชี้แจ้งที่มาของการคำนวณราคาตั้งแต่เมื่อช่วง .. 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งจนถึงขณะนี้ ยังไม่ได้รับ ข้อมูล แต่กลับข่มขู่ประชาชนว่าจะขึ้นราคา 104 บาท ในวันที่ 16 .. 2564

โดยที่ผ่านมา กมธ.การคมนาคม ได้มีข้อเสนอแนะในเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า การคิดอัตราค่าโดยสารนั้นต้องเปิดเผยที่มาของการคิดราคาอย่างโปร่งใส และเชื่อว่า สามารถคิดราคาได้ถูกกว่า 65 บาทตลอดสาย และควรกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ถูกที่สุดสำหรับประชาชนที่ใช้บริการ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมาใช้บริการ  นอกจากนี้ ยังมองว่า การต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยคิดราคาค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท กทม.ควรเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ ว่ามีฐานการคิดคำนวณมาอย่างไร เนื่องจาก การสอบถามข้อมูลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว กระทรวงคมนาคมเห็นว่า ยังสามารถลดค่าโดยสารลงได้ต่ำกว่า 65 บาท กมธ.การคมนาคม จึงเห็นว่า ค่าโดยสารที่สามารถลดลงได้อีกเนื่องจากปริมาณการเดินทางในอนาคตจะมีมากขึ้น ต้นทุนต่อการเดินรถควรจะถูกลงอีก  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะ ประชาชนผู้มีรายได้น้อย จะสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนได้มากขึ้น

นายโสภณ กล่าวต่ออีกว่า ประชาชนควรจะได้รับประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมในการต่อสัญญาสัมปทานครั้งนี้มากกว่านี้อาทิ การลดค่าแรกเข้าระบบ ที่ไม่ควรจะมีการคิดซ้ำซ้อนและไม่มีเงื่อนไขซึ่ง จะเป็นภาระต่อผู้โดยสาร อีกทั้ง หากยังไม่มีการต่อสัญญาสัมปทาน ซึ่งกำลังจะหมดลงในปี 2572 หรือในอีก 9 ปี ข้างหน้า และสินทรัพย์ทั้งหมด จะตกกลับมาเป็นของรัฐ คือ กทม. จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า เนื่องจาก รถไฟฟ้าสายสีเขียวมีกำไร หลังจากหักค่าจ้างเดินรถแล้วจะมีกำไร ไม่น้อยกว่าปีละ 5,000 ล้านบาทต่อปี และเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งกำไรดังกล่าว สามารถนำมาบริหารจัดการ ช่วยลดอุดหนุนเส้นทางรถไฟฟ้าอื่นๆ ที่อยู่นอกเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชาชนผู้มีรายได้น้อยกว่า ได้ใช้รถไฟฟ้าในอัตราที่ถูกกว่าคนในใจกลางเมือง

การที่อ้างว่า กทม.ไม่มีความสามารถทางการเงินในการชำระหนี้ และบริหารจัดการ ไม่เป็นความจริง เนี่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งเส้นทาง มีศักยภาพทางธุรกิจที่ชัดเจน สามารถระดมเงินเพื่อบริหารจัดการ ได้จากแหล่งเงินต่างๆ เช่น ธนาคาร แหล่งทุน เนื่องจากมีรายได้มหาศาลที่ชัดเจนนายโสภณ กล่าว

นายโสภณ กล่าวต่ออีกว่า การดำเนินการของคณะกรรมการฯ ตามคำสั่ง หัวหน้า คสช. ที่ 3/2562 ควรเปิดเผยรายงานการประชุมต่อสาธารณะ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนโดยทั่วไปได้ รวมถึงการต่อสัญญาสัมปทานดังกล่าว ยังดำเนินการไม่ครบถ้วน เช่น ... วินัยการเงินการคลัง 2562 และการตรวจสอบจากองค์กรอิสระต่าง ยังไม่แล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม หาก กทมยังคงยืนยันการดำเนินการเรื่องรถไฟสายสีเขียวในยามวิกฤติความเดือดร้อนของประชาชนถือว่าเป็นการซำ้เติมสถานการณ์ของบ้านเมือง และยังไม่ฟังเสียงประชาชนและข้อทักท้วงจากส่วนราชการ และข้อแนะนำจากภาคประชาชน

กมธ.การคมนาคมจะเชิญผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ (21 .. 2564) เพื่อคัดค้านการขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรมและแจ้งเรื่องการคัดค้านดังกล่าวไปยังรัฐบาล เพื่อสั่งให้ยุติวิกฤติความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร็วที่สุดนายโสภณ กล่าว