BEM ร่อนหนังสือ กทพ. ขอชดเชยหลังโดน ‘โควิด-19’ เล่นงาน ฉุดยอดใช้ทางด่วนหดต่อเนื่อง

BEM ร่อนหนังสือถึง กทพ. แจ้งผลกระทบ พร้อมขอชดเชยหลังโดน โควิด-19” พ่นพิษ! พ่วงประกาศ เคอร์ฟิวฉุดจราจรบนทางด่วนหดลงต่อเนื่อง ลั่น มี.. 63 เหลือยอดใช้ไม่ถึงล้านคัน/วัน

นางพเยาว์ มริตตนะพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือBEM เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่องในปัจจุบัน ประกอบกับมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล โดยออกคำสั่งห้ามทำกิจกรรมในสถานที่แออัด พร้อมออกคำสั่งห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานในช่วงเวลา 22.00-04.00 . ของวันรุ่งขึ้น ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 3 เม.. 2563 ที่ผ่านมานั้น ส่งผลให้ปริมาณจราจรบนทางพิเศษ (ทางด่วน) เฉลิมมหานครและทางพิเศษศรีรัชลดลงต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้ ด้วยสถานการณ์ดังกล่าวนั้น วานนี้ (16 เม.. 2563) BEM จึงได้ยื่นหนังสือถึงนายดำเกิง ปานขำ รองผู้ว่าการฝ่ายปฏิบัติการ รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อแจ้งผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยอ้างถึงสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ฉบับแก้ไข) ลงวันที่ 20 .. 2563 โดยนำเสนอปริมาณจราจรและรายได้ค่าผ่านทางทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษศรีรัชประจำเดือน ..-มี.. 2563 นอกจากนี้ ยังขอให้กทพ. พิจารณาแนวทางการชดเชยผลกระทบด้วย

นางพเยาว์ กล่าวต่ออีกว่า เมื่อสถานการณ์คลี่คลายกลับสู่ภาวะปกติแล้วนั้น BEM จะรายงานผลกระทบจากเหตุสุดวิสัยและเหตุการณ์ที่เป็นข้อยกเว้นที่เกิดขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามสัญญาข้อ 18.1 และ 18.2 รวมถึงแนวทางการชดเชยผลกระทบต่อไป อย่างไรก็ตาม BEM ได้ตระหนักถึงความจำเป็นของภาครัฐ และความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน เพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงโดยเร็ว

ทั้งนี้ BEM ได้รายงานจำนวนรถใช้ทางด่วน โดย มี.. 2563 ลดลงเหลือ 950,000 คันต่อวัน หรือคิดเป็น 25.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (2562) โดยในไตรมาสแรกคาดว่าจะมีปริมาณรถใช้ทางด่วนลดลง 11.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และลดลง 8.8% เมื่อเทียบระหว่างไตรมาส (QoQ) โดยจะเหลือรถใช้บริการทางด่วนเฉลี่ยอยู่ที่ 1.12 ล้านคันต่อวัน