นิด้า เปิดแผนการศึกษา ป.โท-ป.เอก ชูความต่างหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ นำเข้าสู่คณะสถิติประยุกต์ มุ่งพัฒนามุมมองเชิงลึก เพื่อการวิเคราะห์และการจัดการระบบโลจิสติกส์ เตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้บริหาร นักวิเคราะห์/นักวิชาการ ขณะเดียวกันจับมือ Hull University แห่งอังกฤษ เปิดหลักสูตร Double Degree ยกระดับผู้เรียนไทย-ต่างชาติ พร้อมขยายฐานตลาดในอาเซียน

รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจ์นภา อมรัชกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า จุดเด่นของหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ของคณะสถิติประยุกต์ NIDA เน้นการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะด้านการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ด้านเทคโนโลยี และด้านการบริหาร เพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณธรรมและจริยธรรม และมีความเข้าใจธุรกิจในลักษณะองค์รวม มีความสามารถทางการวิเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้แบบบูรณาการ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น นักศึกษาจะได้รับการพัฒนามุมมองเชิงลึกในการวิเคราะห์และการจัดการระบบโลจิสติกส์ภายในองค์กร หลักสูตรได้รับการพัฒนาให้มีความยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองการเตรียมความพร้อมสู่สายอาชีพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร นักวิเคราะห์/นักวิชาการ และบุคลากรในสายอาชีพทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ การเรียนการสอนเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประยุกต์เพื่อการจัดการและการวิเคราะห์งานโลจิสติกส์ การใช้กรณีศึกษาและการศึกษาหน่วยปฏิบัติงานจริงทั้งในและต่างประเทศ

นอกจากนี้ ยังเป็นหลักสูตรที่มีการปรับปรุงใหม่อยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษานำความรู้ไปพัฒนาวิชาชีพทั้งทางด้านการบริหารเศรษฐศาสตร์ การเงิน การดำเนินการเพื่อการตัดสินใจ ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบและสามารถพัฒนาแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์และถูกต้อง ขณะเดียวกันผู้เรียนจะมีทักษะในการใช้ข้อมูล สืบค้นข้อสนเทศและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปสู่การวิจัย และการพัฒนาต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับระยะเวลาในการเรียนตลอดหลักสูตรคือ 2 ปี และไม่เกิน 5 ปีการศึกษา โดยมีการเปิดสอนภาคปกติ ซึ่งจะมีทั้งหลักสูตรภาษาไทย และ English Program ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ โดยจะต้องมาเรียนในวันพฤหัสบดี และวันศุกร์ ทั้งนี้ในส่วนของ English Program จะมีให้ผู้เรียนเลือกเรียนทั้งในแบบ M.Sc. Logistics Management และแบบ Double Degree และภาคพิเศษ ที่ผู้เรียนจะมาเรียนในวันเสาร์ และอาทิตย์

ขณะที่การเรียนในรูปแบบ Double Degree ผู้เรียนจะเรียน 1 เทอม ที่ไทย และเรียนอีก 1 ปีที่อังกฤษ ซึ่งหลักสูตรนี้ได้ร่วมมือกับ Hull University Business School และหากผ่านจะได้รับ 2 ปริญญา MSc. Logistics and Supply Chain Management ร่วมถึงเมื่อนักศึกษาเรียนจบ ยังจะได้ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับสากลรับรองจาก 2 Charters ได้แก่ การขนส่งและโลจิสติกส์ Charter Institute of Logistics and Transport (CILT) และ การจัดซื้อและอุปทาน Charter Institute of Procurement and Supply (CIPS) โดยไม่ต้องสอบเพิ่มเติมอีกด้วย ซึ่งขณะนี้ทางนิด้ากำลังเปิดรับสมัครหลักสูตรดังกล่าวอยู่ และจะไปสิ้นสุดในเดือนตุลาคม และจะทำการเปิดภาคเรียนในเดือนมกราคมปี 63 โดยคาดว่าจะมีผู้สนใจเข้ามาเรียนไม่น้อยกว่า 10 ราย ในการเปิดภาคเรียนการศึกษาแรก

รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจ์นภา กล่าวว่า แผนการทำงานของนิด้าในปีนี้ได้เตรียมไว้อีกหลายโครงการ เช่น โครงการที่ร่วมกับภาคธุรกิจ โครงการปริญญาเอก โครงการบูรณาการประกาศนียบัตรวิชาชีพ (professional certification) กับวิชาในหลักสูตร โดยจะทยอยดำเนินการต่อไป ซึ่งโครงการที่เสร็จสมบูรณ์ล่าสุดคือ โครงการที่ทำร่วมกับ ร่วมกับ University of Hull ประเทศอังกฤษเสร็จเรียบร้อย นอกจากนี้ยังได้เตรียมขยายฐานผู้เรียนไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนมากยิ่งขึ้น อาทิ เวียดนาม เมียนมา ซึ่งจะทำการประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการรับรู้ให้มากขึ้น

ดร.ศิวิกา ดุษฎีโหนด อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของหลักสูตร English Program ทางนิด้าได้เริ่มเปิดสอนมาเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา หลังจากที่สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) ได้มีการประเมินคุณภาพการศึกษา ตามเกณฑ์มาตรฐาน จาก Asean University Network Quality Assurance (AUN-QA) ส่งผลให้หลักสูตรนี้ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่เปิดการเรียนการสอนมา ผู้สนใจเข้ามาสมัครเรียนเป็นที่น่าพอใจ โดยใน 1 ปี จะทำการเปิดรับสมัคร 2 ครั้ง ซึ่งในแต่ครั้งจะทำการเปิดรับสมัครจำนวนไม่เกิน 30 คนต่อครั้งในภาคพิเศษ และภาคปกติเปิดรับสมัครไม่เกิน 20 คนต่อครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้อาจารย์และผู้เรียนได้รับความรู้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ เหตุผลที่ตนเองมองว่ามีผู้สนใจเข้ามาสมัครเรียนในระดับปริญญาโทกับหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์ ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์นั้น เพราะเป็นคณะที่มีความเฉพาะทาง และเป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเชิงคิด วิเคราะห์ในเชิงลึก ซึ่งยังไม่มีสถาบันการศึกษาไหนจัดทำขึ้นมาผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ จันทร์สุวรรณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะสถิติประยุกต์ กล่าวต่อว่า หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งอยู่ในคณะสถิติประยุกต์นั้นจะมุ่งเน้นการหาคำตอบจากข้อมูล เพื่อนำมาจัดการให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งในหลายครั้งต้องใช้สมการเข้ามาช่วย เช่น ถ้าขนส่งมีปัญหาที่จะต้องส่งสินค้าจากจุดต้นทางไปยังปลายทางด้วย