รฟท.เตรียมพลิกโฉม ‘ตลาดคลองสาน’ พัฒนาพื้นที่ 4 ไร่ ผุดโรงแรม-ร้านค้า พ่วงตลาดคนเดินโมเดล ‘จตุจักร’ จ่อชงบอร์ดพิจารณา 29 ก.ย.นี้

รฟท. ลุยศึกษาแผนพัฒนาตลาดคลองสานขนาดพื้นที่ 4 ไร่ ผุดโรงแรมร้านค้าตลาดคนเดิน โมเดลจตุจักรสัมปทาน 30 ปี เร่ง SRTA เคาะสรุป จ่อชงบอร์ดพิจารณา 29 ..นี้ คาดเปิดประมูลภายในปี 66

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. วันนี้(25 .. 2565) ว่า ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าผลการศึกษาโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณตลาดคลองสาน โดยในเบื้องต้นได้มอบหมายให้บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด(SRTA) หรือบริษัทลูกของ รฟท.ไปพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติม ก่อนที่จะเสนอเข้าบอร์ดพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 29 .. 2565

สำหรับบริเวณตลาดคลองสาน มีพื้นที่ 4 ไร่ 1 งาน 95 ตารางวา มีมูลค่าลงทุนการก่อสร้างและพัฒนาโครงการฯ 839 ล้านบาท ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี เบื้องต้นการพัฒนาพื้นที่มี 2 รูปแบบ คือ 1.ปรับปรุงอาคารพาณิชย์เดิมให้เป็นโรงแรมราคาประหยัด และพัฒนาพื้นที่เป็นร้านค้าตลาดรองรับผู้ค้าขายตลาดคลองสานเดิม ระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปีจัดประโยชน์ 30 ปี มูลค่าพื้นที่ปัจจุบัน (NPV) อยู่ที่ 166 ล้านบาท

2.รื้อพื้นที่ทั้งหมด แล้วสร้างเป็นโรงแรมระดับกลางและพื้นที่รีเทล ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี จัดประโยชน์ 30 ปี มูลค่าพื้นที่อยู่ที่ 325 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จะเลือกรูปแบบไหนนั้น ต้องรอสรุปจาก SRTA ก่อนเสนอให้บอร์ด รฟท. พิจารณา และคาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลให้เอกชนเช่าพื้นที่ได้ภายในปี 2566

นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า สำหรับคอนเซปต์ของพื้นที่ตลาดคลองสานนั่น ทางบริษัทที่ปรึกษาโครงการ มีแนวคิดไม่เปิดให้เช่าที่ดิน เนื่อวจากไม่ต้องการให้เกิดการแข่งขันกับเอกชนรายใหญ่ที่มีโครงการต่างๆ อาทิ โรงแรมระดับ 5 ดาว และศูนย์การค้าไอคอนสยาม แต่ต้องการให้พื้นที่ดังกล่าว มีการส่งเสริมซึ่งกันและกัน อาทิ การสร้างตลาดคนเดิน ในรูปแบบเดียวกับตลาดนัดจตุจักร และโรงแรมระดับ 3-4 ดาว เพื่อเป็นทางเลือกให้กลุ่มประชาชน และนักลงทุนทั่วไปด้วย

ทั้งนี้ โครงการพัฒนาพื้นตลาดคลองสาน ยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย หากโครงการดังกล่าวเริ่มดำเนินการ ก็จะมีการสงวนสิทธิ์พื้นที่ดังกล่าวไว้ เพื่อก่อสร้าง โดยที่ผ่านมาทางกระทรวงคมนาคมมองว่า หากมีการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายรูปแบบแบบอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา จะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน จึงขอสงวนพื้นที่ดังกล่าว เพื่อรอการพิจารณารูปแบบการก่อสร้างในอนาคตต่อไป