ส่องความเห็น! เสวนา ‘เปิดปมสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว ประชาชนได้หรือเสีย?’ ประสานเสียงค้านต่อสัมปทาน

สภาผู้บริโภคฯจัดเวทีเสวนาออนไลน์เปิดปมสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว ประชาชนได้หรือเสีย?” คัดค้านแปลงสัญญาสัมปทานเป็นสัญญาร่วมทุนอดีตผู้ว่า รฟท.” จี้เปิดสัญญาให้ ปชช.ทราบ ลั่นไม่ควรรีบทำ ด้านนักวิชาการแนะรถไฟฟ้าทุกสายต้องมีราคาถูก วอนดร.เอ้แสดงจุดยืนให้ชัดเจน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (21 .. 2565) สภาองค์กรของผู้บริโภค จัดเวทีเสวนาออนไลน์เปิดปมสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว ประชาชนได้หรือเสีย?” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะนักวิชาการ, นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (..) พรรคภูมิใจไทย

นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามหลักแล้ว สัญญาสัมปทานประเภทดังกล่าว หน่วยงานราชการควรเปิดเผยให้ประชาชนทราบ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับประชาชน อาทิ ค่าโดยสาร ทั้งนี้ ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ต้องชี้แจง และทำให้ปรากฏว่า ไม่มีอะไรปิดบังซ่อนเร้น

นอกจากนี้ ไม่ควรมีการดำเนินการแบบแปลกๆ อย่างการใช้มาตรา 44 ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่ให้ กทม.จ้างเอกชนรายเดียวเดินรถในพื้นที่ .สมุทรปราการ อีกทั้งพระราชบัญญัติ (...) ร่วมลงทุนระหว่างรัฐ และเอกชน .. 2562 ที่ควรมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

ที่ผ่านมารถไฟฟ้าสายสีเขียว มีกระบวนการที่ไม่ได้ทำตามขั้นตอนที่ควรจะเป็น ตั้งแต่การก่อสร้างทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และการต่อสัญญาจนถึงสถานีแบริ่ง ผมอยู่ในวงการมา ก็ยังไม่ทราบว่าสัญญาของบีทีเอสมันมีกี่ปีกันแน่มันไปถึงเมื่อไหร่ ตรงนี้เป็นข้อมูลที่ผมเชื่อว่าหลายท่านก็ไม่ทราบ และตราบใดยังไม่เปิดข้อมูลทั้งหมดมันเป็นอันตรายมาก โดยเฉพาะในอนาคตที่จะมีการเชื่อมต่อโครงข่ายอีกหลายสาย

นายประภัสร์ กล่าว

นายประภัสร์ กล่าวอีกว่า เมื่อรัฐบาลอ้างว่า ดำเนินการทุกอย่างตาม ...ร่วมทุนฯ ยกเว้นการใช้มาตรา 44  ก็ได้สะท้อนนัยยะบางอย่างที่ตรวจสอบไม่ได้ และไม่โปร่งใส ทั้งนี้ การเร่งอนุมัตินั้น ก็มีสิทธิ์ที่จัมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา (..) มาตรา 157

ทำไมมันถึงเร่งด่วนต้องเอาเข้าให้ได้ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง หรือที่รัฐบาลนี้จะหมดชุดลงไป ทั้งที่สัญญาไม่ใช่จะหมดวันนี้ วันพรุ่งนี้ ส่วนนี้ก็เร่งเก็บเงินไปเลย บวกเข้าไปใช้หนี้ มันควรต้องเอามาดูให้ชัด ไม่งั้นหากอนุมัติไปความเสียหายที่ตามขึ้นมาอีกหลายเรื่องต่อระบบขนส่งมวลชน ที่ต้องทำให้มวลชนใช้ได้ ไม่ใช่แค่บางชนชั้นใช้ได้ มันเป็นขนส่งสาธารณะที่ควรดูที่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่หาค่าโดยสารแพงเพื่อหาเงินจ่ายให้กับรัฐบาลนายประภัสร์กล่าว

ด้าน รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ทราบข้อมูลว่ากทม. ได้รับรายได้จากการเดินรถกว่า 3 แสนล้านบาท จากสูตรค่าโดยสาร 15+3X แล้วประโยชน์ดังกล่าว จะกลับมาที่ประชาชนหรือไม่? พร้อมทั้งคาดการณ์ฉากทัศน์ที่จะเกิดขึ้นในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) 3 รูปแบบ ได้แก่1.เลื่อนการต่อสัญญาสัมปทานนี้ออกไป 2.ต่อสัญญาสัมปทานด้วยการหักด้ามพร้าด้วยเข่าหรือคือการอาศัยอำนาจของ ครม. ลงมติอนุมัติ 3.ถอนออกไปเลย โดยไม่กลับเข้า ครม. อีก

หวังว่าจะมีการแก้ปัญหาเป็นระบบ และมองภาพรวม เพราะเป้าหมาย คือ การทำให้ค่าโดยสารทั้งหมดให้มีราคาถูกไม่ใช่แค่สายสีเขียว และควรมีแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ ไม่ให้ประชาชนต้องจ่ายทั้งหมดใน 30 ปี แค่ทราบข้อมูลบางส่วน การต่อสัมปทาน 30 ปี ก็เหมือนจะไปต่อไม่ได้แล้ว

รศ.ดร.ชาลี กล่าว

รศ.ดร.ชาลี ยังกล่าวถึงการกดดันมติใน ครม.ว่า แม้ฝ่ายค้านจะไม่สามารถควบคุมการทำงานของ ครม. ได้เสียทีเดียวแต่สามารถพูดให้ดังขึ้นได้ ซึ่งหาก ครม. จะอนุมัติเรื่องดังกล่าว ก็ต้องใช้เสียงเกินครึ่งหนึ่งของ ครม. ซึ่งอาจสามารถรวมเสียงคัดค้านของพรรคภูมิใจไทย

พร้อมทั้งอยากเรียกร้องไปยังพรรคประชาธิปัตย์ ที่การเรียกร้องไปยัง .ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีจุดยืนไม่สนับสนุนการต่อสัญญาสัมปทาน ให้ชัดเจนในจุดยืนและร่วมกดดันเรื่องนี้ด้วย

ขณะที่ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (..) พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า หากมีการเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นั้น จะไม่มีการวอล์คเอาท์ โดยจะเตรียมข้อมูลไปนำเสนอโต้แย้ง ซึ่งทางกระทรวงคมนาคมได้เตรียมเอกสารข้อมูลประกอบไว้ค่อนข้างพร้อม โดยเฉพาะโครงสร้างกรรมสิทธิ์ในสัญญาสัมปทาน ช่วงปี2561-2562 ที่ได้ดำเนินการไว้ไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม หากกระทรวงมหาดไทยยังไม่เปลี่ยนแปลง  พรรคภูมิใจไทยคงมีจุดยืนเดิม คือ ไม่ลงมติเห็นด้วยกับการต่อสัญญาสัมปทาน

ทั้งนี้ ครม.ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า หนี้ค่าก่อสร้างจำนวน 6 หมื่นล้าน เป็นของใคร และ กทม.ได้ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายหรือไม่ เพราะแม้มีมติ ครม.ให้มีการโอนงานก่อสร้างให้ กทม. แต่หาก กทม.ยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายให้ครบถ้วน ดังนั้น ภาระหนี้จึงเป็นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ ตลอดจนบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด มีสิทธิ์อะไรไปจ้างบีทีเอส เพื่อดำเนินการตามสัมปทานเดินรถ

การก่อหนี้ตรงนี้ต้องมีคนรับผิด แม้จะอ้างมาตรา 44 แต่การดำเนินการที่ผิดพลาดมันมาตั้งแต่ก่อนมาตรา 44 ซึ่งต้องเน้นย้ำในทางปฏิบัติที่ต้องให้ กทม. ดำเนินการตามระเบียบขั้นตอน นี่คือประเด็นข้อกฎหมายที่มีน้ำหนักมากในที่ประชุม ครม. และหากยังจะพิจารณาสัญญาตรงนี้ คมนาคมก็จะยังคงไม่เห็นด้วย

นายสิริพงศ์ กล่าว