‘แขวง ทล.ภูเก็ต’ ทุ่ม 70 ล้าน แก้ปัญหาโค้งหักศอก ‘ควนสะตอ’ จ.ภูเก็ต คาดแล้วเสร็จภายใน ส.ค.65

แขวงทางหลวงภูเก็ตทุ่มงบ 70 ล้าน แก้ปัญหาโค้งหักศอกควนสะตอ.ภูเก็ต ระยะทางเกือบ 1 กม. หลังเกิดเกิดอุบัติเหตุซ้ำซาก คาดว่าเริ่มก่อสร้าง .. 65 แล้วเสร็จภายใน .. 65 รองรับการจราจรวันละกว่า 1 หมื่นคัน ด้านผู้ตรวจการแผ่นดินแนะวางแนวทางป้องกันความเสี่ยงถนนทรุดตัว

นายสมัคร เลือดวงหัด ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงภูเก็ต กรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ ศาสตราจารย์อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน พร้อมด้วยนายกีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินและคณะฯ ลงพื้นที่ .ภูเก็ตร่วมกับ ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริเวณโค้งควนสะตอเพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งจากเส้นทางขึ้นลงเขา บนหลวงหมายเลข 4028 ตอนห้าแยกฉลองกะรน บริเวณทางโค้งควนสะตอ .ภูเก็ต ซึ่งถนนเส้นทางดังกล่าว ประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวต่างชาติใช้ในการเดินทางสัญจรเส้นรอบเกาะไปยังหาดกะตะ, หาดกะรน, หาดป่าตอง และหาดกมลาได้

สำหรับปัญหาบริเวณถนนหักศอกดังกล่าว มีขนาด 4 ช่องจราจร ระยะทางเกือบ 1 กิโลเมตร (กม.) พบว่ามีปัญหาซ้ำซ้อนเรื่องของดินสไลด์ โดยแนวทางในการแก้ไขนั้น วางแผนว่า จะเริ่มดำเนินการซ่อมแซมและปรับปรุงถนนให้สามารถกลับมาใช้ได้เป็นปกติภายในปี 2565 ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มหาตัวผู้รับจ้างได้ภายใน .. 2564 ซึ่งเมื่อหาผู้รับจ้างได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเริ่มก่อสร้างภายใน .. 2565 คาดว่า จะใช้เวลาในการก่อสร้าง 210 วัน หรือประมาณ 7 เดือน หลังจากที่ได้มีการลงนามสัญญาฯ โดยจะใช้งบประมาณประจำปี 2565 วงเงิน 70 ล้านบาท

นายสมัคร กล่าวอีกว่า สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ดังกล่าว เกิดจากรถบรรทุกขนส่งวัสดุที่มาจากนอกพื้นที่ รวมถึงนักท่องเที่ยวเช่ารถรถมอเตอร์ไซค์ อาจจะไม่มีความชำนาญการขับขี่ในเส้นทางนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดเหตุในช่วงที่มีฝนตก เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว มีลักษณะเป็นทางโค้งหักศอก ลาดชัน ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ส่วนการจราจรในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว พบว่า มีรถสัญจรเกือบ 1 หมื่นคันต่อวัน ทั้งนี้ เชื่อว่าเมื่อแก้ไขบริเวณโค้งควนสะตอแล้ว จะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบาย และลดการเกิดอุบัติเหตุในการสัญจร ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของนายศักดิ์สยามชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดี ทล.

ทั้งนี้ ในระหว่างที่มีการปรับปรุงซ่อมแซ่มเส้นทางดังกล่าว ได้มีการวางแผนบริหารจัดการในระหว่างที่มีการก่อสร้างซึ่งปัจจุบันยังเกิดการสไลด์ของดิน ทำให้เหลือผิดจราจรที่สามารถใช้ได้ 3 ช่องจราจร แบ่งเป็น ขาขึ้น 1 ช่องจราจรขาลง 2 ช่องจราจร สำหรับ การแก้ไขเรื่องโค้งหักศอกนั้น ทางผู้ตรวจการแผ่นดินได้เร่งให้ ทล.รีบดำเนินการ ซึ่งหลังจากนี้ จะทำการสำรวจออกแบบ ขณะเดียวกัน ต้องดูว่าจะต้องมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ด้วยหรือไม่

นอกจากนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินยังได้ฝากให้ ทล. ดำเนินการตรวจสอบแนวทางแก้ไขป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดจากปัญหาถนนที่ทรุดตัว ได้แก่

  1. ควรเข้มงวดในการตรวจจำกัดน้ำหนักของรถ ปัจจุบัน เช่น รถบรรทุก รถทัวร์ท่องเที่ยว ฯลฯ ที่น้ำหนักเกินพิกัดรวมถึงการหาเส้นทางอื่นๆ ให้ประชาชน นักท่องเที่ยวใช้สัญจรเป็นเส้นทางเบี่ยงก่อน
  2. ให้ดำเนินการเพิ่มอุปกรณ์นำทาง อาทิ ป้ายสะท้อนแสงบริเวณเกาะกลาง เพื่อเป็นสัญลักษณ์นำทิศทางการขับขี่ของประชาชน และช่วยลดอุบัติเหตุ
  3. ติดตั้งป้ายแนะนำความลาดชัน และป้ายเตือนเส้นทางโค้งหักศอก เพื่อให้ผู้ขับขี่เกิดความระวังในการสัญจร โดยแม้ว่าที่ผ่านมาแขวงทางหลวงภูเก็ต จะดำเนินการแล้วนั้น แต่หลังจากนี้จะดำเนินการให้เพิ่มมากขึ้น