‘คมนาคม’ กางโปรเจ็กต์ จ.กระบี่ เร่งสร้าง ‘สะพานเชื่อมเกาะลันตา’ จ่อเปิดใช้ปี 69 พร้อมลุย ‘ขยาย & สร้างถนน-พัฒนาท่าเรือ’ อัพเกรดการขนส่ง

คมนาคมกางโปรเจ็กต์ .กระบี่ เดินหน้าสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตา” 2.2 กม. มูลค่า 1,600 ล้าน จ่อชงครม.รับทราบโครงการฯ คาดเปิดใช้ภายในปี 69 ยกระดับคมนาคมขนส่ง อำนวยความสะดวก ปชช.-นักท่องเที่ยวด้านศักดิ์สยามจัดเต็ม สั่งลุยหลายโครงการขยายถนนสร้างถนนพัฒนาท่าเรือ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วานนี้ (12 .. 2564) ตนและคณะได้ลงพื้นที่ติดตามโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตา พร้อมพบปะกับประชาชนเพื่อรับฟังปัญหาและความต้องการการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางสัญจรในพื้นที่ รวมทั้งภาคขนส่งเพื่อสนับสนุนด้านพาณิชยกรรมอุตสาหกรรม การบริการและการท่องเที่ยวของ .กระบี่ ซึ่งกระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตา ตำบลเกาะกลางตำบลเกาะลันตาน้อย .กระบี่ เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง รวมทั้งยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่

ทั้งนี้ ตนได้มอบนโนบายในการดำเนินโครงการต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยไม่กระทบสิ่งแวดล้อม และให้ทำการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้านทุกมิติ ให้ความสำคัญกับประชาชนและชุมชนในพื้นที่ พร้อมทั้งมีข้อสั่งการให้ ทช. ขยายถนนภายในเกาะลันตา เป็นขนาด 12 เมตร และมีไหล่ทางเพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยและรับเรื่องร้องเรียนความเดือดร้อนของประชาชนเพื่อช่วยเหลือและดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ปัจจุบันการเดินทางไปเกาะลันตาจะต้องผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4206 เพื่อลงแพขนานยนต์ที่ท่าเรือบ้านหัวหินไปยังท่าเรือบ้านคลองหมาก ซึ่งท่าเรือดังกล่าวเชื่อมระหว่างเกาะกลางไปยังเกาะลันตาน้อย หลังจากนั้นจะมีสะพานสิริลันตาเชื่อมเกาะลันตาน้อยเกาะลันตาใหญ่ จึงจะถึงตัวเมือง ย่านชุมชน/การค้า และตรงต่อไปยังหาดต่างๆ ซึ่งการใช้แพขนานยนต์ แม้จะเป็นระยะทางเพียง 1.53 กิโลเมตร (กม.) แต่เนื่องจากแพขนานยนต์บรรทุกรถได้น้อย มีจํานวนและเวลาการให้บริการจํากัด ส่งผลให้การเดินทางเป็นไปอย่างล่าช้าในช่วงเวลาเร่งด่วน

ทั้งนี้ เมื่อโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตา ตำบลเกาะกลางตำบลเกาะลันตาน้อย ก่อสร้างแล้วเสร็จจะยกระดับการคมนาคมขนส่งให้มีความสะดวกรวดเร็วปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยลดระยะทางและระยะเวลาในการเดินทางรองรับการสัญจรของประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว รวมทั้งสามารถใช้เป็นเส้นทางอพยพในกรณีเกิดภัยพิบัติ

สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตา เป็นการก่อสร้างสะพานและถนนต่อเชื่อมความยาวรวม 2.2 กม. ขนาด 2 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นก่อสร้างที่ทางหลวงหมายเลข 4206 บริเวณบ้านหมู่ 8 ตำบลเกาะกลาง ไปจนถึงท่าเรือบ้านหัวหิน ตำบลเกาะกลาง แล้วก่อสร้างสะพานข้ามคลองช่องลาด และเข้าบรรจบกับเกาะลันตาน้อย โดยบรรจบกับทางหลวงชนบท กบ. 5035 ที่บริเวณบ้านหมู่ 2 ตำบลเกาะลันตาน้อย มีความยาวตลอดเส้นทาง 2.2 กม. ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 1,600 ล้านบาท

โดยในปัจจุบันดำเนินการออกแบบแล้วเสร็จและอยู่ระหว่างการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) และมีแผนจะเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประมาณ .. 2564 หลังจากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับทราบโครงการ ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี (2566-2568) และสามารถเปิดสัญจรได้ภายในปี 2569

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมมีแผนการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่ .กระบี่ ประกอบด้วย การพัฒนาโครงข่ายทางหลวง .กระบี่ เพิ่มช่องจราจร เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทาง ได้แก่

  • ทางหลวงหมายเลข 4034 ตอน .เขากลม.ท่าหินดาน เป็น 4 ช่องจราจรซึ่งจะเปิดใช้งานในปี 2566
  • ทางหลวงหมายเลข 4 ตอน สามแยกปลาลังเหนือคลอง เป็น 618 ช่องจราจร ซึ่งจะเปิดใช้งานในปี 2567
  • การพัฒนาโครงข่ายถนนสายใหม่ ทางเลี่ยงเมืองกระบี่ และเส้นทางปลายพระยาทับปุด
  • เพิ่มเป็น 4 ช่องจราจรบนทางหลวงหมายเลข 4037 เหนือคลองควนสว่าง, ทางหลวงหมายเลข 4156 เขาพนมบางเหรียง และทางหลวงหมายเลข 4038 คลองท่อมลำทับ
  • โครงการพัฒนาถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน ซึ่งมีแนวเส้นทางเบื้องต้นระยะทาง 650 กม. เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยว และความสะดวกปลอดภัยในการเดินทาง ตลอดจนการแก้ไขปัญหาจราจร และการเป็นถนนท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลแห่งใหม่
  • การพัฒนา Smart Pier ท่าเรือบ้านศาลาด่าน . เกาะลันตา เพื่อปรับปรุงท่าเทียบเรือให้ประชาชนและผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกแบะความปลอดภัยในการใช้งานรวมทั้งส่งเสริมเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ ปัจจุบันมีความคืบหน้า 80% คาดว่าเปิดให้บริการใน พ.ย. 2564
  • การพัฒนา Smart Pier ท่าเรือปากคลองจิหลาด เพื่อปรับปรุงท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวและการบริหารจัดการภายในท่าเทียบเรือ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานรวมทั้งส่งเสริมเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ คาดว่าเปิดให้บริการใน ม.ค. 2565
  • การศึกษาเพื่อพัฒนา Maritime Hub ซึ่งดำเนินการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันให้เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวและการขนส่งทางทะเล (Maritime Hub) แบบครบวงจร เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่งของภูมิภาคในทุกรูปแบบการขนส่ง (Hub for Connectivity) โดยคาดว่าศึกษาแล้วเสร็จใน เม.. 2566 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเตรียมขอตั้งงบประมาณงบกลางปี 2565 โดยมีวงเงินลงทุน 25 ล้านบาท