‘ศักดิ์สยาม’ รับลูกมติ ครม.ผุดแคมเปญ ‘ส่งผู้ป่วยโควิด-19 กลับภูมิลำเนา’ พื้นที่ 6 จังหวัด ‘อีสานตอนล่าง’ รองรับ 5,876 เตียง

ศักดิ์สยาม” รับลูกมติ ครมผุดแคมเปญ ส่งผู้ป่วยโควิด-19 กลับภูมิลำเนา” พื้นที่ 6 จังหวัด “อีสานตอนล่าง” รองรับ 5,876 เตียง แจ้งโทรประสานงานได้ตลอด 24 ชม.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามประชุมเตรียมการส่งผู้ป่วยโควิด-19 กลับภูมิลำเนา ในพื้นที่ 6 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ตอนล่าง ประกอบด้วย บุรีรัมย์ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษว่า การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 20 .. 2564 ที่ผ่านมา ที่ได้เห็นชอบแนวทางการมอบหมายให้รัฐมนตรีแต่ละท่านรับผิดชอบการจัดการนำผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีความประสงค์จะกลับไปพักรักษาตัวในจังหวัดภูมิลำเนา ซึ่งเป็นการดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นแกนกลางหลักในการประสานกับผู้ป่วย และรัฐมนตรีแต่ละท่านช่วยในการประสานใช้ทรัพยากรในการลำเลียง จัดส่ง และประสานจังหวัดภูมิลำเนาปลายทาง

สำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับผิดชอบจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 6 จังหวัดได้แก่ บุรีรัมย์ ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ อุบลราชธานี และศรีสะเกษ โดยในการประชุมดังกล่าว ที่ประชุมได้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน โดยเป็นลักษณะของการช่วยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งเป็นการทำหน้าที่เป็นแกนหลักประสานระหว่างผู้ป่วยกับหน่วยงานของรัฐในการจัดส่งผู้ป่วยกลับภูมิลำเนา ผ่านเบอร์โทรศัพท์ 1330

รวมทั้งมาตรการในการนำส่งผู้ป่วยกลับภูมิลำเนาของกระทรวงสาธารณสุข ความพร้อมของ 6 จังหวัดในการรองผู้ป่วยโควิด-19 กลับภูมิลำเนา เช่น การจัดตั้ง Community Isolation (CI) โครงการที่จังหวัดดำเนินการ อาทิ โครงการอุ้มลูกหลานเซราะกราวกลับบ้าน ของ .บุรีรัมย์  โครงการคนอุบลไม่ทิ้งกันของ . อุบลราชธานี โดยมีปริมาณจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยของทั้ง 6 จังหวัดขณะนี้มีจำนวน 5,876 เตียง และสามารถรองรับผู้ป่วยที่มีภูมิลำเนาพร้อมเดินทางแต่ละจังหวัด วันที่ 21 .. 2564 กลับไปรักษาที่จังหวัดบ้านเกิด รวม 6 จังหวัด 4,464 เตียง

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ในมติคณะกรรมการฯ บูรณาการประสานร่วมมือ ที่ประชุมจึงมีมติดังกล่าว นอกจากนี้คณะกรรมการอำนวยการศูนย์บริหารจัดการเพื่อนำผู้ป่วยโควิด-19 ส่งรักษาอาการในจังหวัดภูมิลำเนา 6 จังหวัด ภาคอีสานตอนล่าง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน และนายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ กระทรวงคมนาคม สธ. และ กระทรวงมหาดไทย (มท.) เป็นรองประธานกรรมการอำนวยการ

ทั้งนี้ มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการ ประสานสั่งการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้องในการอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้าย การเดินทางของผู้ป่วยกลับรักษาอาการ ในจังหวัดภูมิลำเนา รวมทั้งประสานจังหวัดในพื้นที่ภูมิลำเนา 6 จังหวัด เพื่อส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษา สถานพยาบาล โรงพยาบาล หน่วยบริการรักษาอาการ

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า ตนได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานพิจารณาดำเนินการ โดยให้หน่วยงานด้านคมนาคมที่ดูแลด้านการขนส่งคน ดำเนินการตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด อาทิ การเว้นระยะห่างภายในรถ การทำความสะอาด รวมทั้งการจัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่มให้กับผู้ป่วยระหว่างเดินทาง อีกทั้ง ขอให้จังหวัดดำเนินการวางแผนการรองรับผู้ป่วยกลับบ้าน โดยให้มีการคาดการณ์ถึงสถานการณ์ในอนาคตเพื่อดำเนินการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าด้วย

ขณะเดียวกัน กรณีที่จังหวัด หรือหน่วยงานใดฯ ต้องการการสนับสนุนหรือขอความอนุเคราะห์จากกระทรวงคมนาคมสามารถติดต่อสื่อสารผ่านกลุ่มไลน์เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ทันต่อสถานการณ์ ทั้งนี้ หากมีผู้ประสงค์จะขอรับบริการจัดส่งผู้ป่วยโควิด-19 กลับไปรักษาที่บ้านเกิดสามารถโทรประสานงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยกระทรวงคมนาคมพร้อมร่วมในการดำเนินการจัดส่งผู้ป่วย ด้วยทรัพยากรของกระทรวงคมนาคมทุกด้าน ซึ่งจะดูแลตั้งแต่การเดินทาง อาหาร และ ประสานดำเนินงานเพื่อให้ผู้ป่วย ถึงยังสถานพยาบาลในจังหวัดภูมิลำเนาด้วยความปลอดภัย และ ถึงมือแพทย์ โดยเร็วที่สุดตามมาตราฐานการบริการด้านสาธารณะสุขต่อไป

สำหรับหมายเลขโทรศัพท์ ในการประสานส่งผู้ป่วยโควิด-19 กลับไปรีกษาตัวที่ภูมิลำเนา มีดังนี้

  • ฮอตไลน์ สปสช. โทร 1330 กด 15
  • จังหวัดศรีสะเกษ เบอร์ สายด่วน 1422 และสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ เบอร์ 065-240-0680, 065 -240-0691
  • จังหวัดอำนาจเจริญ เบอร์ 090-241-0098, 093-323 -4686, 086-651-5424, 095-192-4903
  • จังหวัดสุรินทร์ เบอร์ 044-513-999 (เฉพาะเวลาราชการ) และ 092-599-5108 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
  • จังหวัดยโสธร เบอร์ 090-240-9930
  • จังหวัดอุบลราชธานี เบอร์ 082-648-9270, 096-693-2139, 096-937-1783
  • จังหวัดบุรีรัมย์ เบอร์ 025-765-5555