กทพ.ลุ้น! คณะ กก.สิ่งแวดล้อมฯ ไฟเขียว ทางด่วน ‘ฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี’ 8.05 หมื่นล้าน ภายใน เม.ย.นี้

กทพ. อัปเดตโปรเจ็กต์ทางด่วนฉลองรัชนครนายกสระบุรี” 8.05 หมื่นล้าน ศึกษาคืบหน้าแล้ว 10 กว่า% ลุ้น! คณะกก.สิ่งแวดล้อมฯ ไฟเขียวภายใน เม..นี้ พร้อมเร่งสำรวจจุดสตาร์ทพื้นที่ กทม.ให้เสร็จปลายปี 64 คาดเริ่มตอกเข็มตามแผนช่วงปลายปี 65 แล้วเสร็จปี 68

แหล่งข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการทางพิเศษ(ทางด่วน) สายฉลองรัชนครนายกสระบุรี ระยะทาง 104.7 กิโลเมตร (กม.) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนที่ปรึกษาลงพื้นที่สำรวจและออกแบบรายละเอียดโครงการฯ โดยมีความคืบหน้า 10 กว่า% ซึ่งเป็นไปตามแผนงาน ในส่วนของพิจารณาและวิเคราะหฺผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) รอบแรกนั้น ได้รับการอนุมัติจากกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) แล้ว อีกทั้ง ได้มีหนังสือไปยังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เพื่อให้พิจารณาเมื่อวันที่ 26 .. 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ระหว่างการบรรจุเข้าที่ประชุม กก.วล. โดยคาดว่าจะมีการประชุมในช่วง มี..-เม.. 2564

สำหรับโครงการดังกล่าว จะแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ช่วง  เนื่องจากมีระยะทางค่อนข้างยาว ได้แก่ ช่วงที่ 1 ก่อสร้างต่อเชื่อมจากทางพิเศษฉลองรัช หรือทางด่วนสายรามอินทราวงแหวนรอบนอก ด้านตะวันออก ถึง .นครนายก และช่วงที่2 ก่อสร้างจาก .นครนายกถึง .สระบุรี ทั้งนี้ เบื้องต้นจะเร่งการออกแบบจุดเริ่มต้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้แล้วเสร็จภายในปลายปี 2564 หลังจากนั้นจะดำเนินการประกวดราคาหาตัวผู้รับเหมาต่อไป โดยตามแผน คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2565 หรือต้นปี 2566 และจะแล้วเสร็จภายในปี 2568

ปกติประชาชนที่เดินทางไป .ปทุมธานี .นครนายก และ .สระบุรี ส่วนใหญ่จะเดินทางบนถนนพหลโยธินและถนนรังสิตนครนายก ซึ่งปัจจุบันจะเห็นว่า ทั้ง 2 เส้นทาง มีการจราจรหนาแน่น และมีการจราจรที่ติดขัดมาก โดยเฉพาะช่วงวันหยุดเทศกาล และวันหยุดนักขัตฤกษ์ รวมถึงมีรถบรรทุกใช้เส้นทางดังกล่าวค่อนข้างเยอะ ทำให้มีความไม่สะดวกในการเดินทาง ดังนั้น กทพ.ได้มีการศึกษาโครงการดังกล่าว และเล็งเห็นว่า เส้นทาง .นครนายก และ .สระบุรี เป็นเส้นที่มีศักยภาพ ควรที่จะได้รับการพัฒนาและเพิ่มโครงข่ายการจราจร จึงได้มีการศึกษาทางด่วน สายฉลองรัชนครนายกสระบุรีขึ้นมา ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ได้มอบนโยบายในการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการเดินทางสะดวก ปลอดภัยและไร้รอยต่อแหล่งข่าวจาก กทพ. กล่าว

ด้านรายงานข่าวจาก กทพ. ระบุว่า สำหรับจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อทางพิเศษฉลองรัช ที่ด่านจตุโชติ บริเวณถนนวงแหวนรอบนอก ด้านตะวันออก เป็นทางพิเศษขนาด 6 ช่องจราจร มีแนวเส้นทางไปทางทิศตะวันออก ตัดผ่านถนนหทัยราษฎร์ และถนนนิมิตใหม่ จากนั้น เลี้ยวขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านถนนลำลูกกา บริเวณ กม.22+500 ทางหลวงชนบท นย.3001 ถนนรังสิตนครนายก บริเวณ กม. 59+800 แล้วขึ้นไปทางทิศเหนือ

ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) บริเวณ กม.116 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3222 เชื่อมต่อกับโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 6 (สายบางปะอินนครราชสีมา) และทางเลี่ยงเมืองสระบุรี สิ้นสุดโครงการที่ทางหลวงหมายเลข 2 หรือถนนมิตรภาพ ที่ กม.10+700 อำเภอแก่งคอย มีทางขึ้นลง 9 แห่งโดยแนวเส้นทางจะเพิ่มความสะดวก และประหยัดเวลาแก่ผู้ใช้ทางเส้นทางที่เดินทางจาก กทม. ไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) รวมถึงผู้ใช้เส้นทางจากภาคตะวันออก สามารถเดินทางสู่ภาคกลางตอนบน และภาคอีสานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

รายงานข่าวจาก กทพ. ระบุอีกว่า ก่อนหน้านี้ กทพ.ได้ว่าจ้างบริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท เอพซิลอน จำกัด เป็นที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการทางพิเศษฉลองรัชนครนายกสระบุรี ระยะทาง 104.7 กม. วงเงิน 380 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาศึกษาทั้งสิ้น 540 วัน ทั้งนี้ ตามผลการศึกษาโครงการมีค่าลงทุน รวมจำนวน80,594.31 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 7,395.42 ล้านบาท และค่าก่อสร้าง (รวมค่าควบคุมงาน) จำนวน 73,198.89 ล้านบาท