‘KBank’ ชี้ B2C Logistics แรง!!! ปรับแผนสินเชื่อร่นเวลาชำระหนี้

ธนาคารกสิกรไทย เผยภาพรวมการให้สินเชื่อกลุ่มธุรกิจ Logistics ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่ม B2C Logistics แรงจากกระแส e-Commerce ที่โต 8-10% ต่อปี พร้อมได้แรงหนุนจากท่องเที่ยวที่คาดปีนี้โต 11-12% ขณะที่กสิกรมุ่งเน้นงานบริการด้านสินเชื่อช่วยลูกค้าปรับเงื่อนไขเงินกู้อย่างเหมาะสม หวังช่วยลดค่าใช้จ่ายอัตราดอกเบี้ยลง

แหล่งข่าวจากสายงานธุรกิจลูกค้าบริษัท ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ภาพรวมการให้สินเชื่อกลุ่มธุรกิจ Logistics ยังคงขยายตัวได้ โดยปัจจัยส่วนใหญ่เกิดจากการขยายตัวของกลุ่ม B2B Logistics ซึ่งเป็นการลงทุนในทรัพย์สินถาวรของบริษัทเอกชน เช่น กองรถ กองเรือ คลังสินค้า ลานคอนเทนเนอร์ ซึ่งมีทั้งส่วนที่ลงทุนเพื่อทดแทน และโครงการลงทุนใหม่

ทั้งนี้ Sector ที่มาแรงและยังเติบโตได้ต่อเนื่อง คือกลุ่ม B2C Logistics ซึ่งได้รับอนิสงค์จากตลาด e-Commerce ที่เติบโตเฉลี่ยปีละ 8-10% (ข้อมูลจาก ETDA 2/2/62) ทำให้ผู้ให้บริการต้องการเงินทุนเพื่อลงทุนในรถขนส่ง ทั้งรถบรรทุกขนาดใหญ่ รถกระบะ และมอเตอร์ ไซค์ รวมถึงศูนย์กระจายสินค้า และหน้าร้าน (Parcel Shop) เพื่อเป็นจุดรับ-ส่ง

ขณะเดียวกันธุรกิจ Logistics ยังได้รับแรงหนุนจากธุรกิจท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน โดยในปี 2562 นี้คาดว่าจะเติบโตที่ประมาณ 11-12% (ข้อมูลจาก TAT) ส่งผลให้มีการลงทุนในกองเรือ เรือท่องเที่ยว เรือโดยสาร เรือข้ามฟาก เพื่อรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงอู่ซ่อมเรือท่องเที่ยว เรือยอร์ช และมารีน่า ทางภาคใต้ของไทยได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

นอกจากนี้ นโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจ EEC ของภาครัฐ ยังทำให้มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนจากประเทศจีน ซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า (US-China Trade War) และได้ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทยค่อนข้างมาก โดยจะเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของนักลงทุนที่มาซื้อที่ดินและเช่าโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจ EEC ซึ่งจากเหตุผลที่กล่าวข้างต้น ส่งผลให้ทิศทางการพัฒนาของธุรกิจ Logistic มีแนวโน้มเติบโตต่อไป

สำหรับ สินเชื่อที่ธนาคารกสิกรไทยให้กับกลุ่มลูกค้า Logistics ที่เป็น Operator รถขนส่ง กองเรือขนส่ง หรือ Warehouse ที่ลงทุนใน Fixed assets เช่น ขยายกองรถ เรือ หรือ Warehouse รวมถึงอุปกรณ์และระบบต่างๆ ธนาคารจะสนับสนุนในรูปแบบเงินกู้ระยะยาว, Financial lease และวงเงินบัตรน้ำมัน (Fleet card, Fill and Go) เพื่อให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการ ควบคุม และติดตามการใช้น้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนหลักได้ สำหรับลูกค้า Logistics ประเภท Freight Forwarder จะมีความต้องการใช้วงเงินหมุนเวียนเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากต้อง Advance เงินให้กับลูกค้า Importer/Export วงเงินที่เหมาะสม ได้แก่ O/D หรือ P/N รวมทั้ง BG เพื่อวางต่อสายการบิน หรือกรมศุลกากร และ Forward Contract

ขณะที่ การพิจารณาให้สินเชื่อแก่ลูกค้า Logistics ธนาคารพิจารณาเครดิตตามกระบวนการปกติ ตามระดับความเสี่ยงของลูกค้าแต่ระราย แต่ธนาคารจะช่วยดูเรื่องการปรับเงื่อนไขเงินกู้ให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้าแต่ละรายได้ เช่น จากเดิมที่ให้สินเชื่อเงินกู้ระยะยาวมาก ก็อาจปรับให้เป็นสินเชื่อเงินกู้ระยะสั้นหรือระยะกลางได้ หากลูกค้ามีความสามารถในการชำระหนี้ที่ดี และมีกระแสเงินสดหรือสภาพคล่องส่วนเกินของบริษัทเยอะ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายอัตราดอกเบี้ยลง เป็นต้น

นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทยยังให้บริการครอบคลุมลูกค้ากลุ่ม Logistics ทุกประเภท ได้แก่ กลุ่ม B2B Logistics, B2C Logistics, Passenger, Cargo และการขนส่งทางบก ทางน้ำ และอากาศ ปัจจัยที่ลูกค้าเลือกใช้บริการกับธนาคาร คือ การให้บริการแบบ Total solution ความหลากหลายของบริการทางการเงินจากธนาคารฯ และบริษัทในเครือเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจของลูกค้า รวมทั้งการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในลักษณะ Trusted partner บริการทางการเงินที่ธนาคารฯ มีไว้รองรับการให้บริการลูกค้า ได้แก่ วงเงินกู้ระยะสั้นและระยะยาว, Leasing, บริการ Internet Banking, ช่องทางการรับชำระเงินทั้ง Payment Gateway, EDC, QR Payment, P-Card, การให้บริการด้านประกันภัย การลงทุนในเงินฝากและกองทุนต่าง ๆ นอกจากนี้ ธนาคารยังมีบริการ Business Matching และการระดมทุนทั้ง IPO, PP และกอง REIT ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อความต้องการในธุรกิจ