‘ศักดิ์สยาม’ สั่งเตรียมพร้อมรถไฟทางไกล 52 ขบวน สิ้นสุดที่ ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’ จ่อขายบัตรโดยสารร่วมสีแดง-รถเมล์ในเดือนนี้ ส่วนปมเปลี่ยนป้าย เดดไลน์ข้อเท็จจริงใน 15 วัน

ศักดิ์สยามสั่งเตรียมความพร้อม รองรับรถไฟทางไกล 52 ขบวน วิ่งสิ้นสุดที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ดีเดย์19 ..นี้ พร้อมปรับปรุงเส้นทางรถเมล์ 3 สาย เชื่อมต่อการเดินทาง จ่อเปิดขายบัตรโดยสารร่วมสายสีแดงขสมก. ภายในเดือนนี้ ลุยตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงปรับปรุงป้ายสถานีฯ เดดไลน์ภายใน 15 วัน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินการรถไฟสายสีแดง เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริการขนส่งทางราง วันนี้ (4 .. 2566) ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้กำหนดปรับเปลี่ยนขบวนรถไฟทางไกลเชิงพาณิชย์ สายเหนือ สายใต้ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) รวมทั้งหมดจำนวน 52 ขบวน ให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ตั้งแต่วันที่ 19 .. 2566 เป็นต้นไป เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดทางรถไฟในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.)

สำหรับผู้โดยสารที่มีต้นทางปลายทาง ที่สถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ และสถานีดอนเมือง สามารถใช้ตั๋วโดยสารรถไฟทางไกลเชิงพาณิชย์ขึ้นรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เพื่อเชื่อมต่อสถานีที่รถไฟทางไกลเชิงพาณิชย์ไม่หยุดรับส่ง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ส่วนขบวนรถธรรมดา รถชานเมือง และสำหรับขบวนรถนำเที่ยวทุกสายยังคงให้บริการที่สถานีหัวลำโพงเหมือนเดิม อีกทั้งผู้โดยสารรถไฟชานเมืองที่ใช้ตั๋วโดยสารรายเดือน สามารถนำมาใช้กับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม

นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงเส้นทางการเดินรถประจำทางสาย 1-33 (บางเขนสถานีกลางบางซื่อ) สาย 2-15 (กระทรวงสาธารณสุขโรงพยาบาลสงฆ์) และสาย 2-17 (วงกลมสถานีรถไฟฟ้าบางซื่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) เพื่อเป็นระบบเชื่อมต่อการเดินทางให้กับประชาชน อีกทั้งเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่จะมาใช้บริการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ที่สถานีรังสิต

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ (Feeder) เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) โดยได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการจัดให้มีระบบขนส่งสาธารณะเสริม(Feeder) เพื่อติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานด้านระบบ Feeder ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับการให้บริการบัตรโดยสารรายเดือนร่วมของรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และรถโดยสารปรับอากาศองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ปัจจุบัน รฟท. และ ขสมก. ได้จัดทำ MOU ร่วมกันแล้วโดยคาดว่าจะเปิดขายบัตรโดยสารดังกล่าวได้ภายใน .. 2566

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ได้มีข้อสั่งการเพิ่มเติม โดยมอบหมายให้ รฟท. ตรวจเช็คระบบสาธารณูปโภคภายในสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการให้บริการแก่ประชาชน สำหรับการปรับเปลี่ยนขบวนรถไฟทางไกลเชิงพาณิชย์ ที่จะให้บริการที่สถานีกลางฯ ตั้งแต่วันที่ 19 .. 2566 เป็นต้นไป รวมทั้งให้ตรวจสอบความถูกต้องให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องในการจัดประโยชน์พื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในพื้นที่ของสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และให้มีช่องทางรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนต่อไป

ขณะเดียวกัน มอบหมายให้ รฟท. และบริษัท รถไฟฟ้า ... จำกัด (รฟฟท.) จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ที่ส่งเสริมให้ประชาชนมาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงเพิ่มมากขึ้น โดยเน้นการเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) และใช้ Influencer ที่มีผู้ติดตามที่หลากหลาย เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การประชาสัมพันธ์ให้เป็นรูปธรรมต่อไป

ส่วนการปรับปรุงป้ายชื่อของสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์นั้น มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยมีนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวง (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) เป็นประธานและนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นรองประธาน

อีกทั้งให้มีผู้แทนจากสภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สมาคมสถาปนิกสยาม และกรมบัญชีกลาง ร่วมเป็นคณะกรรมการฯ และให้ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นเลขานุการโดยให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 15 วัน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนต่อไป

ด้านรายงานข่าวจาก รฟท. ระบุว่า สำหรับขบวนรถที่ให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จำนวน 52 ขบวน ได้แก่กลุ่มขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว ประกอบด้วย

สายเหนือ 14 ขบวน ได้แก่ 7 8 9 10 13 14 51 52 102 107 108 109 111 112

สายตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) 18 ขบวน ได้แก่ 21 22 23 24 25 26 71 72 75 76 133 134 135 136 139 140 141 142

สายใต้ 20 ขบวน ได้แก่ 31 32 37 38 39 40 43 44 45 46 83 84 85 86 167 168 169 170 171 172

ทั้งนี้ ขบวนรถไฟสายเหนือ และสายอีสานทุกขบวน จะวิ่งบนโครงสร้างทางยกระดับเช่นเดียวกับรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อรังสิต) ตั้งแต่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์จนถึงสถานีดอนเมือง ซึ่งเป็นสถานียกระดับ จะไม่มีขบวนรถโดยสารวิ่งระดับพื้นดินและจะยกเลิกการใช้ป้ายหยุดรถไฟ กม.1 สถานีบางเขน ที่หยุดรถไฟทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่และป้ายหยุดรถการเคหะ กม.19

ส่วนขบวนรถใฟเส้นทางสายใต้ ก็จะวิ่งบนโครงสร้างทางยกระดับรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อตลิ่งชัน) ตั้งแต่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จนถึงสถานีบางบำหรุ ยกเว้นขบวนรถธรรมดา และขบวนรถชานเมือง โดยทั้งหมดนี้ จะสามารถแก้ไขปัญหาจราจรบริวณจุดตัดได้เป็นอย่างดี ขบวนรถไฟสามารถเดินตรงตามเวลาได้มากขึ้น โดยที่ไม่ต้องผ่านจุดตัดทางรถไฟกับรถยนต์