สนข.เร่งเครื่อง พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ จ่อชง ‘คมนาคม’ เคาะ ม.ค. 66 ดันประกาศใช้ภายในปลายปีหน้า คาด ปชช.ได้ใช้ค่ารถไฟฟ้ามาตรฐานเดียวกันในปี 70

สนข. จ่อชงคมนาคมพิจารณา ...ตั๋วร่วมฯ ช่วง .. 66 ดันประกาศใช้ภายในปลายปี 66 กำหนดค่าโดยสารรถไฟฟ้ามาตรฐานเดียวกัน คาด ปชช.ได้ใช้ในปี 70 พร้อมเตรียมจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม หนุนวงเงินปีละ 1.5 พันล้าน เยียวยาผลกระทบภาคเอกชน เล็งเสนอของบปี 67 วงเงิน 1.6 พันล้าน ผุดบริษัทบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม & พัฒนาศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง

นางสาวกรุณา เนียมเอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงโครงการศึกษาจัดทำแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมว่าขณะนี้ สนข.อยู่ระหว่างเตรียมเสนอร่างพระราชบัญญัติ (...) การบริหารจัดการตั๋วร่วม .…. ไปยังกระทรวงคมนาคมพิจารณาภายใน .. 2566 ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยคาดว่าตามกระบวนการจะแล้วเสร็จ เพื่อประกาศใช้ ...ตั๋วร่วมฯ ดังกล่าว ภายในปลายปี 2566 พร้อมเริ่มต้นการประกาศใช้อัตราราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

หลัง พรบ.ตั๋วร่วมมีผลบังคับใช้ ก็จะนำไปสู่การจัดตั้งบริษัทบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม ซี่งส่วนนี้จะนำมาสนับสนุนรายได้ค่าโดยสารของเอกชนที่จะขาดหายไปจากการกำหนดอัตราตั๋วร่วมในมาตรฐานเดียวกัน และจากการบังคับใช้ส่วนลดค่าแรกเข้ารถไฟฟ้าข้ามสายที่จะเกิดขึ้น เพื่อทำให้สัญญาสัมปทานที่มีเอกชนไม่ได้รับผลกระทบ แต่ขณะที่ประชาชนได้ประโยชน์จากการจัดเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว ค่าโดยสารถูกลง” นางสาวกรุณา กล่าว

นางสาวกรุณา กล่าวต่อว่า สนข.จะจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม โดยนำเอารายได้จากหลายส่วน อาทิ การสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ ส่วนแบ่งรายได้หรือผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ให้บริการขนส่งรายใหม่เมื่อสัญญาสัมปทานมีข้อสัญญาให้ต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯ ส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการตั๋วร่วม และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้แก่กองทุน เป็นต้น โดยเบื้องต้น สนข.ประเมินว่าจะต้องใช้เงินจากกองทุนดังกล่าว เพื่อสนับสนุนรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการรถไฟฟ้าที่มีรายได้ลดลงเฉลี่ยรวมปีละ 1,300-1,500 ล้านบาท

นอกจากนี้ สนข.ได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณปี 2566 ประมาณ 40 ล้านบาท เพื่อดำเนินการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาเริ่มต้นศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการเจรจาธุรกิจในการกำหนดและประกาศใช้โครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม(Common Fare) สำหรับระบบขนส่งมวลชนที่เข้าร่วมในระบบตั๋วร่วมทั้งหมด หลังจากนั้น สนข.เตรียมเสนอของบประมาณประจำปี 2567 ประมาณ 1,600 ล้านบาท เพื่อศึกษารูปแบบการจัดตั้งบริษัทบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และพัฒนาศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House: CCH)

ทั้งนี้ สนข.ประเมินว่าภายในปี 2570 ประชาชนจะสามารถใช้ระบบตั๋วร่วมที่กำหนดอัตราค่าโดยสารเป็นมาตรฐานเดียวกัน สำหรับระบบรถไฟฟ้าจะเป็นโครงข่ายขนส่งสาธารณะหลักที่กำหนดให้มีการจัดเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว โดยสนข.จะเจรจากับเอกชนผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าในปัจจุบัน ขอความร่วมมือเข้าร่วมระบบ CCH เพื่อเป็นประโยชน์ให้การคำนวณการชดเชยรายได้ของเอกชน และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการถือบัตรรถไฟฟ้าเพียงใบเดียว

ขณะที่การเจรจาสัมปทานรถไฟฟ้าในอนาคต กระทรวงคมนาคมมีนโยบายที่จะกำหนดให้ภาคเอกชนใช้ระบบ CCH ของ สนข.ในการชำระค่าโดยสาร เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ เบื้องต้น สนข.ศึกษาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม/อัตราค่าโดยสารเดียว สำหรับรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑลโดยศึกษาจากพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสาร

ทั้งนี้ พบว่า อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมจะเริ่มต้นที่ 14 บาท และเพดานสูงสุดขั้นแรกที่ 42 บาท แต่หากมีการเดินทางข้ามระบบรถไฟฟ้าในพื้นที่ปริมณฑล ซึ่งส่วนใหญ่จะมีแนวเส้นทางยาว จึงประเมินว่าการเดินทาง 36 กิโลเมตร (กม.) ขึ้นไป จะมีอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ 65 บาท