ปัดฝุ่น! ทล.หยั่งเสียงแผนแม่บท MR-MAP คาดศึกษาเสร็จภายในสิ้นปี 65 ลุยพัฒนาระยะ 20 ปี (66-68) ประเดิม 3 เส้นทาง มูลค่า 6.61 แสนล้าน

ทางหลวงปัดฝุ่นแผนแม่บทมอเตอร์เวย์ในรอบ 5 ปี สนองนโยบายรัฐ ลุย MR-MAP คาดผลการศึกษาแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ วางแผนพัฒนาระยะ 20 ปี (66-85) นำร่องเฟสแรก 3 เส้นทาง ระยะทาง 878 กม. มูลค่าลงทุนรวม 6.61 แสนล้านบาท

นายอภิชัย อิสริยานุกูล วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) กรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า วันนี้ (15 .. 2565) กรมทางหลวงได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) โดยมีนายไพฑูรย์ พงษ์ชวลิต รองอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธานฯ ทั้งนี้ ทล. ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ งบประมาณศึกษา 55 ล้านบาท เพื่อดำเนินการศึกษาจัดทำแผนกลยุทธ์การลงทุนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และงานศึกษาปรับปรุงแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษ พร้อมการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น

สำหรับโครงการดังกล่าว เป็นหนึ่งในโครงการศึกษาแผนแม่บทมอเตอร์เวย์ ซึ่งเป็นการนำมาทบทวนกลยุทธ์มอเตอร์เวย์ในรอบ 5 ปี (2560-2565) คลอบคลุมในระยะ 20 ปี  (2566-2568) เนื่องจากแผนเดิมได้ศึกษาแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2559 ครอบคลุมในระยะ 20 ปี (2560-2579) แต่แผนจองสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และแผนพัฒนาพื้นที่ต่างๆ เปลี่ยนไป ดังนั้น ทล.จึงได้ศึกษาอัพเดทกลยุทธ์มอเตอร์เวย์ รวมถึงบูรณาการแผนราง หรือการงานโหมดอื่นๆ อาทิ ระบบน้ำ และอากาศด้วย

นายอภิชัย กล่าวอีกว่า การรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ ได้นำเสนอแนวคิดโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบรางเบื้องต้น 10 เส้นทาง โดยจะนำความคิดเห็นมาดำเนินการปรับปรุงแผน นอกจากนี้ จะมีการลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็น 20 ครั้งทั่วประเทศ เพื่อเสนอแนวเส้นทางต่างๆ ก่อนที่จะสรุปผลการศึกษาภายในสิ้นปี 2565 จากนั้นจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) สศช. ก่อนนำเสนอไปยังกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป อย่างไรก็ตาม แผนดังกล่าว ไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะเป็นแผนระดับหน่วยงานเท่านั้น

นับเป็นการบูรณาการแผนครั้งใหญ่ของกระทรวงคมนาคมก็ว่าได้ เพราะการนำระบบรางและระบบทางถนนมาดำเนินการไปพร้อมๆ กัน เพราะบางพื้นที่ที่จะพาดผ่านวงแหวนรอบ 3 ด้านใต้ (MR 10) พื้นที่มันแคบ ถ้าไม่นำเสนอพัฒนาระบบรางและมอเตอร์เวย์ไปพร้อมๆ กัน ในอนาคตหากโครงการใดโครงการหนึ่ง มาก่อสร้างตามทีหลังจะดำเนินการได้ยากมาก เนื่องจากประชาชน พัฒนาพื้นที่ไปหมดแล้ว โดยที่แผนนี้ไม่จำเป็นต้องสร้างระบบรางและมอเตอร์เวย์ไปพร้อมกัน เช่น สร้างรางไปก่อน แล้วค่อยสร้างถนนได้นายอภิชัย กล่าว

นายอภิชัย กล่าวต่ออีกว่า โครงการดังกล่าว ได้จัดลำดับความสำคัญเบื้องต้นในระยะที่ 1 จำนวน 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 878 กิโลเมตร (กม.) มูลค่าโครงการรวม 661,585 ล้านบาท ได้แก่ 1.เส้นทาง MR8 ชุมพรระนอง ระยะทาง 91 กม. มูลค่าโครงการรวม 134,715 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างรวม 132,415 ล้านบาท ประกอบด้วย มอเตอร์เวย์ 66,690 ล้านบาท ระบบราง 45,785 ล้านบาท งานท่อ 19,940 ล้านบาท และค่าเวนคืนรวม 2,300 ล้านบาท ประกอบด้วยมอเตอร์เวย์ 1,970 ล้านบาท ระบบราง 330 ล้านบาท

จุดเริ่มต้นโครงการบริเวณแหลมริ่ว .บางน้ำจืด .หลังสวน .ชุมพร สิ้นสุดที่บริเวณอ่าวอ่าง .ราชกรูด .เมืองระนอง .ระนอง คลอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 4 อำเภอ ได้แก่ .ชุมพร .หลังสวน ละแม และ พะโต๊ะ และ .ระนอง.เมืองระนอง รูปแบบจะเป็นมอเตอร์เวย์ขนาด 6 ช่องจราจร ไปกลับ ทางราถไฟขนาด 3 ราง (ทางรถไฟหลัก) พร้อมSiding Track 1 ราง อุโมงค์รถยนต์ขนาด 3 ช่องจราจร

อุโมงค์รถไฟจำนวน 2 ราง ต่อทิศทาง ทั้งนี้ช่วยลดพื้นที่การเวนคืนประมาณ 2,000 ไร่ เมื่อเทียบกับไม่มีการบูรณาการมอเตอร์เวย์ร่วมกับระบบราง เชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ตามนโยบายแลนด์บริดจ์ สนับสนุนการเดินทางขนส่งพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เชื่อมการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC)

2.เส้นทาง MR2 กรุงเทพฯ/ชลบุรีหนองคาย ช่วงชลบุรี (แหลมฉบัง)-นครราชสีมา ระยะทาง 313 กม. มูลค่าโครงการรวม 272,790 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้างรวม 243,900 ล้านบาท ประกอบด้วย มอเตอร์เวย์ 131,900 ล้านบาทระบบราง 112,000 ล้านบาท และค่าเวนคืนรวม 28,890 ล้านบาท ประกอบด้วย มอเตอร์เวย์ 22,870 ล้านบาท ระบบราง 6,020 ล้านบาท

คลอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ .ชลบุร ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และ นครราชสีมา รวม 17 อำเภอ มีรูปแบบมอเตอร์เวย์ขนาด 6 ช่องจราจร ไปกลับ ทางรถไฟขนาด 2 ราง อุโมงค์รถยนต์ 6 ช่องจราจร 2 แห่ง คือ แห่งที่ 1 ความยาว 3 กม.พื้นที่ .นาดี .ปราจีนบุรี และ แห่งที่ 2 ยาว 13 กม. .วังน้ำเขียว .นครราชสีมา

อุโมงค์รถไฟ 2 ราง รวมสองทิศทาง มี 2 แห่ง คือ แห่งที่ 1 ยาว 3 กม. .นาดี และ แห่งที่ 2 ยาว 20 กม. .วังน้ำเขียวและ .นาดี โดยเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยลดการเดินทางทางถนนจากแหลมฉบังไปยังนครราชสีมา จาก 5 ชั่วโมง(ชม.) เหลือ 3.30 ชม. ลดแออัดทางจราจร เชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบัง พื้นที่ EEC ภาคอีสาน สปป.ลาว และจีนตอนใต้

3.เส้นทาง MR5 กาญจนบุรีอุบลราชธานี ช่วงนครราชสีมาอุบลราชธานี ระยะทาง 474 กม. มูลค่าโครงการรวม 254,080 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างรวม 234,190 ล้านบาท ประกอบด้วย มอเตอร์เวย์ 193,600 ล้านบาท ระบบราง40,590 ล้านบาท และค่าเวนคืนรวม 19,890 ล้านบาท ประกอบด้วย มอเตอร์เวย์ 9,430 ล้านบาท ระบบราง 10,460 ล้านบาท

มีจุดเริ่มต้นโครงการ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) .โนนสูง .นครราชสีมา สิ้นสุดโครงการสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 6 .นาตาล .อุบลราชธานี/ด่านช่องเม็ก .สิรินธร .อุบลราชธานี คลอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี รวม 26 อำเภอ รูปแบบมอเตอร์เวย์ขนาด 6 ช่องจราจร ไปกลับ

ทางรถไฟขนาด 2 ราง (ทางรถไฟหลัก) ทั้งนี้ ช่วยลดเวลาในการเดินทางจาก 5 ชม. 30 นาที เหลือ 3 ชม. เชื่อมประตูการค้าที่ด่านช่องเม็ก เมืองปากเซ สะพานมิตรภาพไทยลาว แห่งที่ 6 เส้นทางหลักเชื่อมโยงไปยังท่าเว้ และท่าเรือดานัง ประเทศเวียดนาม

รายงานข่าวจาก ทล. ระบุว่า ทล. ได้จัดทำแผนแม่บทก่อสร้างมอเตอร์เวย์ 21 สาย ระยะทาง 6,612 กม. วงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท แผนระยะ 20 ปี (2560-2579) ขณะที่ การจัดทำแผน MR-MAP คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มกว่า 2.2 ล้านล้านบาท แผนระยะ 20 ปี (2566-2585) เนื่องจากจะต้องเพิ่มการดำเนินการระบบรางเข้ามาด้วย