‘ศักดิ์สยาม’ ลงพื้นที่ ‘ชลบุรี’ เดินเครื่องการขนส่งทางน้ำเต็มรูปแบบ หนุนท่องเที่ยว-สร้างรายได้-ลดต้นทุนโลจิสติกส์

ศักดิ์สยามกางแผนเสริมทรายชายหาด เทงบ 5,400 ล้าน ลุยระยะทาง 42 กม. ในระยะ 10 ปีข้างหน้า แก้ปัญหากัดเซาะฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว พร้อมสั่ง จท. เดินเครื่องท่าเรือมาริน่าดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มกำลังจ่ายสูง อัปเดตสายการเดินเรือแห่งชาติแลนด์บรดิจ์จ่อ Road Show ตปท. ดูดนักลงทุนต่างชาติ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ จท. ได้จัดทำแผนการพัฒนาชายฝั่งทะเลด้านการเสริมทรายชายหาด (Beach Nourishment) เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ฟื้นฟูพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว สร้างรายได้ และส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ โดยในปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครงการเสริมทรายชายหาดจอมเทียน.ชลบุรี ระยะที่ 1 ระยะทาง 3.6 กิโลเมตร (กม.) โดยการเสริมทรายให้กว้าง 50 เมตร เป็นระยะทาง 3,500 เมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2565

นอกจากนี้ ยังมีแผนงานเสริมทรายชายหาดท่องเที่ยวในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยจะเริ่มดำเนินการระยะต่อไปที่ชายหาดบางเสร่ รวมถึงพื้นที่อื่นๆ เช่น ชายหาดบางแสน ชายหาดสมิหลา ชายหาดชะอำ ชายหาดเขาหลัก ชายหาดบางเสร่ชายหาดอ่าวดงตาล ชายหาดแสงจันทร์ ชายหาดปราณบุรี และชายหาดทรายรี เป็นต้น โดยใช้งบประมาณ 5,400 ล้านบาท ระยะทางรวมประมาณ 42 กม. ซึ่งการเสริมทรายชายหาดนอกจากจะเป็นการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะและฟื้นฟูชายหาดอย่างยั่งยืนแล้ว ยังช่วยส่งเสริม สนับสนุนภาคการท่องเที่ยว และสร้างรายได้เป็นจำนวนมากให้กับประเทศอีกด้วย

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า กระทรวงคมนาคมเล็งเห็นโอกาสให้ไทยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือสำราญขนาดใหญ่ของภูมิภาค เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีกำลังจ่ายสูง เนื่องด้วยประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลทั้งด้านอ่าวไทยและอันดามันรวมกว่า 3,000 กม. โดยการพัฒนาท่าเรือสำราญกีฬา (มารีน่า) พร้อมทั้งทรัพยากรเกาะแก่ง แหล่งท่องเที่ยว และเมืองริมชายฝั่งที่มีความสวยงาม มีชื่อเสียง ซึ่งท่าเรือมารีน่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีกำลังจ่ายสูง ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดและกระจุกตัวอยู่ทางด้านบริเวณชายฝั่งอันดามัน

ทั้งนี้ จท.มีแผนงานโครงการเพื่อพัฒนาท่าเรือมารีน่าบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย 1.ศึกษาและวิเคราะห์ให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี2.ศึกษาสำรวจออกแบบท่าเรือต้นทาง สำหรับเรือสำราญขนาดใหญ่ บริเวณอ่าวไทยตอนบน และ 3.ศึกษาวางแผนแม่บทเพื่อพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ และสำรวจการออกแบบท่าเรือสำราญขนาดใหญ่บริเวณชายฝั่งอันดามันซึ่งได้เริ่มศึกษาในปี 2563 โดยจะดำเนินการเวลา 2 ปี

โดยเมื่อแล้วเสร็จและเห็นผลเป็นรูปธรรมจะช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก ถือเป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันช่วยเพิ่มสัดส่วนรายได้ด้านการท่องเที่ยวของประเทศ กระตุ้นการท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ และเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวที่สามารถเดินทางผ่านด่านทางน้ำ รวมทั้งสร้างงาน สร้างรายได้  สร้างโอกาสให้แก่ประเทศชาติและประชาชนต่อไป

นอกจากนี้ ตนได้มีข้อสั่งการให้ จท. ดำเนินการศึกษาการพัฒนาท่าเรือมารีน่าในรูปแบบ การร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ การบริหารจัดการให้แก่ผู้ใช้บริการ รวมถึงเป็นการเพิ่มการจัดเก็บรายได้ให้ภาครัฐเพื่อนำมาใช้ ในการศึกษาแผนพัฒนา ควบคุม กำกับ ดูแลท่าเรือมารีน่าในระยะต่อๆไป

นายศักดิ์สยาม ยังกล่าวภายหลังตรวจติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลและสิ่งล่วงล้ำลำน้ำในพื้นที่จังหวัดชลบุรีที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมเจ้าท่า (จท.) วันนี้ (9 .. 2564) ว่า จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ พบว่า ยังมีส่วนที่ยังไม่ได้รื้อถอน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา จท. ถูกตัดงบประมาณเพื่อนำไปดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ จึงได้มอบหมายให้ จท. ไปจัดทำรายละเอียด เพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 21 .. 2564 พิจารณาอีกครั้งพร้อมทั้งกำชับให้ จท.สอดส่องดูแลไม่ให้มีสิ่งรุกล้ำลำน้ำเพิ่มเติม

*** จัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ ***

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีนโยบายมุ่งมั่นพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทั่วประเทศอย่างบูรณาการ ทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ พร้อมทั้งรองรับการขนส่งและการเดินทางต่อเนื่องหลายรูปแบบเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด ลดต้นทุน โลจิสติกส์ด้านการขนส่งสินค้าของประเทศ โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง จากถนนสู่เรือให้มากขึ้น

ทั้งนี้ ได้มอบให้ จท. และการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เร่งพัฒนาโครงการสำคัญ เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและดำเนินการตามแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็นประตูการค้า เชื่อมโยงพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกและตะวันตกให้เชื่อมต่อและขนส่งสินค้าไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าจากภาคตะวันออกสู่ภาคใต้

โดยได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ ซึ่งผลการศึกษาเบื้องต้นระบุว่า ควรจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ 2 เส้นทาง คือ 1.การเดินเรือภายในประเทศ (Domestic Marine Line) เชื่อมโยงการเดินทางอ่าวไทย ซึ่งเป็นการร่วมมือกับภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยกระทรวงคมนาคมจะสนับสนุนเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและท่าเทียบเรือ เพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งการพิจารณาอนุญาตเกี่ยวกับสายการเดินเรือ

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน จท. ได้ร่วมกับบริษัท ซีฮอร์ส เฟอร์รี่ จำกัด นำเรือ Ro-Ro Ferry “The Blue Dolphin” เดินเรือเฟอร์รี่ข้ามอ่าว เส้นทางระหว่าง .ชลบุรี.สงขลา เปิดให้บริการเส้นทางสัตหีบสงขลา ซึ่งเป็นการดำเนินงานภายใต้การพัฒนาสายการเดินเรือภายในประเทศ เพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางน้ำของประเทศ โดยได้เริ่มทดสองให้บริการเดินเรือเมื่อ .. 2564 ที่ผ่านมา และมีแผนเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปี 2565 ซึ่งในระยะแรกจะเปิดให้บริการเส้นทางท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ (จุกเสม็ด)-ท่าเรือสวัสดิ์ .สงขลา ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการจราจร ลดปริมาณรถในการขนส่งสินค้าได้ประมาณ 90,000 คันต่อปี

*** จ่อ Road Show ดึงนักลงทุนต่างชาติ ***

2.การเดินเรือในระดับ International แบ่งเป็น สายการเดินเรือฝั่งตะวันออก ตั้งแต่กัมพูชา เวียดนาม เกาหลีใต้ จีนญี่ปุ่น และฝั่งตะวันตกได้แก่ แอฟริกา และยุโรป หรือกลุ่ม BIMSTEC คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 2 ของปี 2565 นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ระหว่าง .ชุมพร.ระนอง ให้เป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก

ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการศึกษาพิจารณาบทเรียนและความสำเร็จของช่องทางการเดินทาง โดยเป็นการร่วมลงทุนกับภาคเอกชน ซึ่งจะมีการจัด Road show ในงานแสดงสายการเดินเรือระดับโลก เพื่อแสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าในการเดินทางและค่าใช้จ่ายและมาร่วมลงทุน ซึ่งปัจจุบันได้รับความสนใจจากหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ตุรกี ฝรั่งเศสอังกฤษ ซึ่งจะดำเนินการให้แล้วเสร็จในไตรมาส 2 ของปี 2565 ซึ่งจะมีปริมาณสินค้าเข้าประมาณ 20 ล้านทีอียู ถือเป็นความท้าทายที่จะดึงดูดให้ผู้ประกอบการจากทั่วโลกมาใช้เส้นทางแลนด์บริดจ์ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศต่อไป