ดีเดย์! ต.ค.นี้ เปิดตัวทางการ ‘สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง‘ เร่งวิจัย ‘ชิ้นส่วนรางผลิตภายในประเทศ-สร้างรถไฟ EV ต้นแบบ

กรมรางฯเปิดตัวสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางลุ้นปลัดคมนาคมเคาะแต่งตั้งรักษาการผอ.สถาบันในการประชุมคณะกรรมการนัดแรกภายใน 1-2 เดือน พ่วงสรรหาเจ้าหน้าที่เบื้องต้น 80 คน คาดสถาบันเปิดทางการภายใน ..นี้ ก่อนเร่งวิจัยชิ้นส่วนรางให้ผลิตภายในประเทศ สนองนโยบาย Thai First-วิจัยสร้างรถไฟ EV ต้นแบบ

รายงานข่าวจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ตามที่เมื่อวันที่ 13 .. 2564 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) .. 2564 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป หรือ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 .. 2564 เป็นต้นไป เนื่องจากการที่ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาและลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางรางอย่างต่อเนื่องแต่ยังคงต้องพึ่งพาองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบรางจากต่างประเทศเป็นหลัก

ดังนั้น เพื่อให้สามารถพัฒนาระบบรางได้อย่างยั่งยืนและลดการพึ่งพาต่างประเทศ จึงควรจัดตั้งหน่วยงานในประเทศที่มีหน้าที่ศึกษา วิจัย เปรียบเทียบเทคโนโลยีระบบราง และประเมินความต้องการด้านเทคโนโลยีระบบราง เพื่อใช้ในการวางยุทธศาสตร์ของประเทศ พร้อมทั้งบริหารจัดการงานวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบรางและการขนส่งทางราง ตลอดจนการรับ แลกเปลี่ยน และถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และส่งเสริมอุตสาหกรรมในระบบการขนส่งทางราง รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระบบราง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้นมา

*** เร่งตั้ง ผอ.สถาบันฯ – เปิดสถาบันฯ ทางการ ต.ค.นี้ ***

รายงานข่าวจาก ขร. ระบุอีกว่า ภายหลังการประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) .. 2564 แล้ว คณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางตามบทเฉพาะกาลตามมาตรา 45 โดยมีนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน รวมถึงผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันประชุมหารือในวาระแรก เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (รักษาการในช่วงแรกเริ่ม) ซึ่งคาดว่า จะประชุมภายใน 1-2 เดือนนี้ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการสรรหาผู้อำนวยการฯ ภายใน 180 วัน นับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจาฯ ต่อไป

นอกจากนี้ ในการประชุมนัดแรกนั้น จะมีการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถาบันฯ และการสรรหาเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานยังสถาบันฯ ในระยะแรกเริ่ม (ปีที่ 1 หรือประมาณ 6 เดือน) จำนวน 80 คน แบ่งเป็น ผู้บริหารระดับสูง 3 คน, ผู้บริหารระดับกลาง 9 คน, ผู้บริหารระดับต้น 14 คน, ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน, ผู้ปฏิบัติงานประเภทวิชาชีพระดับสูง 14 คน และผู้ปฏิบัติงานประเภทวิชาชีพระดับต้น 31 คน และจะเพิ่มในปีที่ 2 อีก 46 คน รวมมีบุคลากรและเจ้าหน้าที่ 126 คน อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ จะมีการพิจารณาหาสถานที่ เพื่อจัดตั้งอาคารของสถาบันฯ โดยในเบื้องต้น จะเป็นการเช่า โดยกระบวนการทั้งหมดนั้น จะแล้วเสร็จ และมีสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) อย่างเป็นทางการใน .. 2564 ตามแผน

*** ภารกิจด่วนเร่งวิจัยผลิตชิ้นส่วนในประเทศ-รถไฟ EV ต้นแบบ ***

สำหรับสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางนั้น จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีระบบรางของประเทศ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง สร้างความร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง และจัดทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีระบบราง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและการสนับสนุนอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมายเร่งด่วน คือ การวิจัยชิ้นส่วนในระบบรางเพื่อให้สามารถผลิตรถไฟในประเทศ (Local Content) ได้ตามนโยบาย Thai First การวิจัยเพื่อสร้างรถไฟ EV ต้นแบบครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมกับการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และโครงการอื่นๆ ในอนาคต

ในส่วนของเรื่องทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการจะมีเงินประเดิม เงินอุดหนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทนจากการให้บริการของสถาบันวิจัยฯ และดอกผลรายได้จากทรัพย์สิน โดยสถาบันวิจัยฯ จะมีแนวทางในการจัดองค์การในแบบศูนย์ความเป็นเลิศในแต่ละด้าน เช่น ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟความเร็วสูงศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟขนส่งสินค้า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าในเมือง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาบุคลากรระบบราง และศูนย์ความเป็นเลิศด้านข้อมูลระบบราง เป็นต้น ซึ่งแต่ละศูนย์จะเน้นการร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และหน่วยงานผู้ใช้เทคโนยี เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมระบบรางให้บรรลุผลเป็นรูปธรรมต่อไป