จับตา! วันนี้ (9 ก.ค. 64) ‘ศักดิ์สยาม’ นัดประชุมถกแผนฟื้นฟู ขสมก. เร่งเคาะก่อนส่งต่อ ‘สภาพัฒน์ฯ’ พิจารณาอนุมัติ

จับตา! วันนี้ศักดิ์สยามนั่งหัวโต๊ะ ถกแผนฟื้นฟู ขสมก. เร่งเคาะอนุมัติ พร้อมส่งไม้ต่อสภาพัฒน์ฯพิจารณา ก่อนชง ครม. ไฟเขียว สานฝันคนกรุงเทพฯ ได้นั่งรถไฟฟ้าล็อตแรกก่อน 400 คัน ชี้สิ้นปีงบประมาณ 64 ยอดหนี้สะสมแตะ 1.32 แสนล้าน

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันนี้ (9 .. 2564) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายขนส่งทางบก เพื่อพิจารณาความคืบหน้าแผนฟื้นฟูองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ได้มีการพิจารณาของคณะทำงานฯ ในการปรับแผนแนวทางการปฏิรูประบบรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑลให้มีความชัดเจน และเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยมีายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานคณะทำงาน ที่นายศักดิ์สยาม ได้แต่งตั้งในคราวการประชุมคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 1 เม.. 2564 ที่ผ่านมา

แฟ้มภาพ

ทั้งนี้ หากในการประชุมวันนี้ ผ่านการพิจารณาของนายศักดิ์สยามแล้วนั้น ขสมก จะนำแผนฟื้นฟูดังกล่าว เสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ขสมก. พิจารณา ก่อนเสนอไปยังสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ)  แล้วจึงเสนอไปยังคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) และเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไป อย่างไรก็ตาม จะสามารถเสนอไปยัง ครม. ได้เมื่อใดนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสภาพัฒน์ฯ ว่าจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุอีกว่า สำหรับแผนฟื้นฟู ขสมก. เมื่อผ่านการพิจารณาอนุมัติจาก ครม.แล้วนั้นขสมก.จะเริ่มทยอยรับรถโดยสารไฟฟ้า (EV) ล็อตแรก จำนวน 400 คัน หลังจาก ครม.อนุมัติใน 3 เดือน และครบ2,511 คันใน 6 เดือน ซึ่งเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟู ขสมก. โดยในปัจจุบัน ขสมก. มีรถวิ่งให้บริการอยู่ประมาณ 2,900 กว่าคัน และใน .. 2564 จะปลดระวาง จำนวน 70 กว่าคัน ขณะที่ มูลค่าหนี้สะสมของ ขสมก.นั้น คาดการณ์ว่า วันที่ 30 .. 2564 (สิ้นปีงบประมาณ 2564) ขสมก.จะมีหนี้สะสม เป็นวงเงินประมาณ 1.32 แสนล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 1 เม.. 2564 ที่ผ่านมา โดยมีนายศักดิ์สยาม เป็นประธานนั้น ที่ประชุมได้มีข้อเสนอให้ดูสัญญาเพิ่มเติม เนื่องจากในปัจจุบันแผนดังกล่าว จะนำรถร่วมเอกชนเข้ามาให้บริการด้วย โดยทั้ง 2 ฝ่าย ต้องเจรจาในการจ้างเช่าวิ่งตามระยะทางร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุป

นอกจากนี้ ที่ประชุมในครั้งนั้น ยังได้มีการพิจารณาการขอเงินอุดหนุนจากภาครัฐ (PSO) เนื่องจากที่ผ่านมา ขสมก.ได้เสนอของบประมาณเพื่อขออุดหนุน จำนวน 9,000 ล้านบาท แต่ทางกระทรวงคลัง สภาพัฒน์ฯ และสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็นว่าควรปรับปรุงรายละเอียดของแผนฟื้นฟู ขสมก.ในบางประเด็นให้มีความชัดเจนมากขึ้น รวมถึงที่ประชุมยังระบุอีกว่า หากการจัดทำแผนฟื้นฟู ขสมก. ล่าช้า จะทำให้ ขสมก.มีผลประกอบการขาดทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ