ตั้ง ‘สุวรรธนะ สีบุญเรือง’ นั่งรักษาการดีดีการบินไทย มีผล 16 มิ.ย.-30 ก.ย. 64 ลุยลดทุนจดทะเบียนกว่า 5.1 พันล้าน หลังศาลเห็นชอบแผนฯภายใน 60 วัน

การบินไทยตั้งสุวรรธนะ สีบุญเรืองนั่งรักษาการดีดีการบินไทย มีผล 16 มิ..-30 .. 64 หลังชาญศิลป์ยื่นลาออก พร้อมประธานบอร์ด– 2 กรรมการ เดินหน้าปรับโครงสร้างทุน ลุยลดทุนจดทะเบียนกว่า 5.1 พันล้านภายใน 60 วันนับจากศาลล้มละลายกลางเห็นชอบแผนฟื้นฟูฯ

รายงานข่าวจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI ระบุว่า วานนี้ (15 มิถุนายน 2564) ได้ทำหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เรื่อง การลาออก และแต่งตั้งรักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยระบุอีกว่า ตามที่คณะผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทฯ ในการประชุมครั้งที่ 21/2564 เมื่อวันที่ 27 .. 2564 ได้มีมติอนุมัติการลาออกของนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร จากตำแหน่งรักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ และผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทฯ ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 .. 2564 เป็นต้นไป หรือจนกว่าศาลจะมีดำสั่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทฯ และแต่งตั้งรักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แล้วแต่เหตุใดจะถึงก่อนนั้น

ล่าสุด เมื่อวันที่ 15 มิ.. 2564 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทฯ และในวันเดียวกันคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทฯ ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2564 โดยที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้งให้นายสุวรรธนะ สีบุญเรือง ประธานเจ้าหน้าที่สายทรัพยากรบุคคล ดำรงตำแหน่ง รักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อีกตำแหน่งหนึ่ง ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มิ..-30 .. 2564

นายสุวรรธนะ สีบุญเรือง

รายงานข่าวจากการบินไทย ระบุอีกว่า การบินไทย ยังได้แจ้ง ตลท. เรื่อง การลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ 3 ราย ประกอบด้วย 1.พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน กรรมการอิสระ และประธานกรรมการบริษัทฯ 2.นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล รองประธานกรรมการบริษัทฯ คนที่ 2 และ 3.นายบุญทักษ์ หวังเจริญ กรรมการอิสระ ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 15 มิ.. 2564 เป็นต้นไป

ขณะเดียวกัน การบินไทย ยังได้สรุปสาระสำคัญของแผนฟื้นฟูกิจการ โดยใจความบางส่วน ระบุถึงการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ซึ่งแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทยได้จัดกลุ่มเจ้าหนี้ออกเป็น 36 กลุ่ม แบ่งออกเป็น เจ้าหนี้มีประกัน 1 กลุ่ม และเจ้าหนี้ไม่มีประกัน 35 กลุ่ม โดยในการฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ มีจำนวนคำขอรับชำระหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทั้งสิ้น จำนวน 13,133 ราย

ทั้งนี้ เป็นภาระหนี้ที่นำมาปรับโครงสร้างตามแผนตามมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ จำนวน 4.10 แสนล้านบาทประกอบด้วย เงินต้นจำนวน 4.04 แสนล้านบาท และดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่างๆ จำนวน 5.98 พันล้านบาท (โดยเจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นสกุลเงินต่างประเทศ คิดคำนวณเป็นสกุลเงินบาท โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน วันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ วันที่ 14 .. 2563)

ขณะเดียวกัน ผู้ทำแผนและเจ้าหนี้ได้ยื่นคัดค้านคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้บางรายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยมีภาระหนี้จำนวนประมาณ 2 แสนล้านบาท ที่ผู้ทำแผนเห็นว่าเป็นภาระหนี้ที่เกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจึงถือเป็นภาระหนี้ที่ไม่อาจยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ

ดังนั้น ภาระหนี้ดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงไปตามคำสั่งในคำขอรับชำระหนี้อันเป็นที่สุดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และ/หรือ ศาล (แล้วแต่กรณี) และแผนกำหนดให้มีการชำระหนี้ตามคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ศาลล้มละลายกลาง ศาลอุทธรณ์คดีชำนาญพิเศษ หรือศาลฎีกา (แล้วแต่กรณี) ซึ่งเป็นคำสั่งถึงที่สุดให้ได้รับชำระหนี้

ในส่วนของการปรับโครงสร้างทุนนั้น แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดการปรับโครงสร้างทุนของบริษัทฯ โดย วันที่ 14 .. 2563 การบินไทยมีทุนจดทะเบียน จำนวน 2.69 หมื่นล้านบาท (2,698,900,950 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท) โดยเป็นทุนชำระแล้วจำนวน 2.18 หมื่นล้านบาท (2,182,771,917 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท) และ วันดังกล่าวการบินไทยมีผลขาดทุนสะสมจำนวน 6.49 หมื่นล้านบาท และมีส่วนเกินมูลค่าหุ้นจำนวน 1.86 พันล้านบาท

โดยการบินไทยจะดำเนินการปรับโครงสร้างทุน อาทิ ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนการบินไทยจะดำเนินการลดทุนจดทะเบียนจากจำนวน 2.69 หมื่นล้านบาท ให้เหลือจำนวน 2.18 หมื่นล้านบาท โดยการตัดหุ้นในการบินไทยที่ยังไม่ได้ออกและจำหน่าย จำนวน 516,129,033 หุ้น

อีกทั้ง หลังจากการลดทุนดังกล่าวข้างต้น การบินไทยจะดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนเพื่อรองรับการจัดสรรและการออกหุ้นตามสัญญาการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน (Share Option) จำนวน 1.96 แสนล้านบาท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 2.18 หมื่นล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่จำนวน 2.18 แสนล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่จำนวน 19,644,947,252 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท

ทั้งนี้ ในปีที่ 4 นับจากวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน การบินไทยจะดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียน เพื่อรองรับการแปลงหนี้ดอกเบี้ยใหม่ตั้งพักของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่ 5 กลุ่มที่ 6 และเจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จำนวน1.9 หมื่นล้านบาท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 2.18 แสนล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่จำนวน 2.37 แสนล้านบาทโดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่จำนวน 1,903,608,17 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท

นอกจากนี้ จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของการบินไทย จำนวนไม่เกิน 1,903,608,176 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ให้แก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่ 5 กลุ่มที่ 6 และเจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้รายที่แสดงความประสงค์ที่จะแปลงหนี้ออกเบี้ยใหม่ตั้งพักเป็นหุ้นสามัญตามเงื่อนไขการคำนวณดอกเบี้ยใหม่ที่กำหนดไว้ในราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น และภายหลังจากกระบวนการการปรับโครงสร้างทุนและการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนเสร็จสิ้นลง หากปรากฎว่า ยังมีหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ได้รับการจัดสรร และ/หรือ ออกหุ้น ให้ผู้บริหารแผนมีอำนาจในการลดทุนจดทะเบียน เพื่อตัดหุ้นส่วนที่ไม่ได้รับการจัดสรร และ/หรือ ออกหุ้นได้