‘คมนาคม’ คลอดแผนรับมือภัยพิบัติช่วงฤดูฝน สั่งหน่วยงานฯ ถอดบทเรียนในอดีตมาประยุกต์เตรียมความพร้อมสถานการณ์ในอนาคต

“ศักดิ์สยาม” คลอดแผนเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติในช่วงฤดูฝน เน้นปฏิบัติตามแผนบรรเทาสาธารณภัย พร้อมสั่งหน่วยงาน ลุยศึกษา-ถอดบทเรียนในอดีต วางมาตรการรับมือเหตุในอนาคต พ่วงประกอบการพิจารณาจัดตั้งงบกลาง ฟื้นฟูความเสียหาย

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัด กระทรวงคมนาคม ติดตามสถานการณ์รับมือภัยพิบัติในช่วงฤดูฝนอย่างใกล้ชิด โดยเตรียมความพร้อมและใช้การปฏิบัติตามแผนบรรเทาสาธารณภัยอย่างเคร่งครัด และมีประสิทธิภาพ รวมถึงให้รายงานการดาเนินการมายังกระทรวงฯ ทันทีเมื่อเกิดสถานการณ์

นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม จัดแบ่งพื้นที่เพื่อกำกับดูแล ประสานกับหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที และส่งผลกระทบกับการเดินทางของประชาชนน้อย ที่สุด พร้อมทั้งได้สั่งการให้หน่วยงานไปศึกษาและเก็บข้อมูลสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต มาถอดบทเรียนและ ประยุกต์ใช้ในการเตรียมความพร้อมป้องกันสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้ง เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเสนอขอรับการจัดสรรงบกลาง นำมาดาเนินการฟื้นฟูถนนที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และปลอดภัย

สำหรับโครงสร้างการประสานสั่งการพิจารณาจากการจัดระดับความรุนแรงในแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 อุทกภัยน้ำท่วมจะเป็นสาธารณภัยขนาดกลาง ซึ่งมีศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมในพื้นที่จังหวัดจะรายงานสภาพเหตุการณ์ให้กระทรวงคมนาคม

ในขณะเดียวกันกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการโดยจัดตั้งศูนย์ Command Center ภัยพิบัติกระทรวงคมนาคม เป็นศูนย์บัญชาการ ประสานสั่งการ รับแจ้งเหตุ ประสานข้อมูล/การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก และรายงานเสนอผู้บริหารกระทรวงคมนาคม เพื่อเป็นการรองรับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการเดินทาง โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมตั้งแต่ขั้นเตรียมพร้อม (ป้องกันก่อนเกิดภัย) การดำเนินการ (รับมือขณะเกิดภัย) และการฟื้นฟูซ่อมแซม (หลังเกิดภัย) และจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการเตรียมการดังกล่าว

กรมทางหลวง (ทล.) เตรียมพร้อมเครื่องมือ เครื่องจักร สะพานเบลีย์ (สะพานเหล็ก) และจัดเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบ ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้ใช้ทาง โปรดใช้ความระมัดระวังในการเดินทาง ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำ และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด

กรมทางหลวงชนบท (ทช.) เตรียมพร้อมเครื่องมือ เครื่องจักร สะพานเบลีย์ (สะพานเหล็ก) เตรียมความพร้อมเข้าดำเนินการถมวัสดุเชื่อมเส้นทางเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เส้นทางในการสัญจรได้โดยเร็วกรณีประชาชนเข้าที่พักอาศัยไม่ได้จัดรถบรรทุกไว้ให้บริการรับส่งประชาชนในพื้นที่ประสบภัย รวมทั้งตั้งเต็นท์บริการประชาชนที่ประสบอุทกภัย แจกจ่ายอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องอุปโภค บริโภค ที่จำเป็นให้กับผู้ประสบภัย

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ระดมบุคลากรและแรงงานที่ประจาอยู่ในพื้นที่ เพื่อให้ความช่วยเหลือ หรือแก้ไขปัญหา อุปสรรค ให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด จัดตั้งศูนย์ ประสานงานประจาส่วนกลาง และในพื้นที่ประสบภัย ประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

กรมเจ้าท่า (จท.) สนับสนุนยานพาหนะรถยนต์และเรือเข้าพื้นที่พร้อมให้การช่วยเหลือ หรือตามที่จังหวัดร้องขอ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและขนย้ายสิ่งของที่จาเป็น รวมทั้งสนับสนุนถุงยังชีพ อาหาร เครื่องดื่ม ช่วยเหลือ

กรมท่าอากาศยาน (ทย.) เตรียมแผนรองรับสถานการณ์เพื่อให้ท่าอากาศยานยังสามารถเปิดให้บริการได้ โดยเร่งสร้าง คันกั้นน้ำรอบพื้นที่ท่าอากาศยานและสูบระบายน้ำออกจากพื้นที่สู่ลำน้ำสาธารณะ สำหรับกรณีที่สถานการณ์อยู่ในภาวะวิกฤติจะเร่งขนย้าย อพยพ ผู้ประสบอุทกภัยในท่าอากาศยาน เพื่อเคลื่อนย้ายออกอากาศยานสู่พื้นที่ปลอดภัย หรือศูนย์พักพิงชั่วคราว

สายด่วนติดต่อขอความช่วยเหลือ (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชม.)
  • สายด่วน 1356 กระทรวงคมนาคม
  • สายด่วน 1586 กรมทางหลวง
  • สายด่วน 1146 กรมทางหลวงชนบท
  • สายด่วน 1690 การรถไฟแห่งประเทศไทย
  • สายด่วน 1199 กรมเจ้าท่า