ครม.ไฟเขียวกรอบวงเงิน PSO ‘การรถไฟฯ’ 2.88 พันล้าน ประมาณการรายได้ให้บริการสาธารณะปี 64 วงเงิน 314.64 ล้าน-รายจ่าย 3.20 พันล้าน

ครม.ไฟเขียวกรอบวงเงิน PSO “การรถไฟฯ” 2.88 พันล้าน หลังประมาณการรายได้การให้บริการสาธารณะปี 64 วงเงิน 314.64 ล้าน แต่มีรายจ่ายอยู่ที่ 3.20 พันล้าน เผยรวมผลกระทบโควิด-19 ฉุดผู้โดยสารหาย พ่วงรายจ่ายเปิดให้บริการรถไฟสายสีแดง ยัน PSO อยู่ในกรอบการเงินการคลังไม่เกิน 30%

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (18 .. 2564) มีมติเห็นชอบกรอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ (PSO) ประจำปีงบประมาณ 2564 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน2,886.64 ล้านบาท ตามมติคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 16 .. 2563 ที่ผ่านมา โดยได้มีประมาณการรายได้ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณะ จำนวน 314.64 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายจำนวน 3,201.29 ล้านบาท

ทั้งนี้ ในวงเงินค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณะ จำนวน 3,201.29 ล้านบาทนั้น คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาปรับลดต้นทุนการเดินรถและซ่อมบำรุงที่ประมาณการต้นทุนค่าใช้จ่ายจากการให้บริการสาธารณะ จำนวน3,348.53 ล้านบาท หรือลดลงจำนวน 147.23 ล้านบาท รวมถึงพิจารณาถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตามข้อมูลของ รฟท. ด้วยแล้ว 

สำหรับกรณีการให้กรอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ รฟท. จำนวน 2,886.64 ล้านบาทนั้น เข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามบทบัญญัติในมาตรา 27 และมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ .. 2561 ซึ่งภาระที่รัฐต้องรับชดเชยจากการดำเนินโครงการดังกล่าว เมื่อรวมกับยอดภาระคงค้างที่มีอยู่เดิมวันที่ 5 มี.. 2564 ยังคงอยู่ในกรอบที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนดให้ยอดคงค้างทั้งหมดรวมกันไม่เกิน 30% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุอีกว่า ก่อนหน้านี้ ในการประชุมคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 30 มิ.. 2563 ได้พิจารณาข้อเสนอการขอรับเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ2564 ของ รฟท. ซึ่งนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้เห็นชอบแล้ว จำนวน 3,033.88 ล้านบาท

โดยมีมติให้กระทรวงคมนาคม แจ้งให้ รฟท. จัดทำข้อมูลประมาณการรายได้จากการให้บริการสาธารณะที่สอดคล้องกับระยะเวลาการเปิดให้บริการของรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อรังสิต และช่วงบางซื่อตลิ่งชัน และประมาณการต้นทุนจากการให้บริการสาธารณะในเรื่องค่าใช้จ่ายพนักงานการเดินรถและซ่อมบำรุง ค่าซ่อมบำรุง และค่าเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม รวมทั้งสมมติฐานและวิธีการคำนวณพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

ขณะเดียวกัน ต่อมาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มาคำนวณ ส่งผลให้ประมาณการผู้โดยสารในปี 2564 ลดลง อย่างไรก็ตาม ประมาณการรายได้จากการให้บริการสาธารณะของ รฟท. ภายหลังการปรับสมมติฐานดังกล่าว เท่ากับข้อเสนอเดิมของ รฟท. ซึ่งยังคงจำนวน 314.64 ล้านบาท นอกจากนี้ รฟท. ได้ยืนยันค่าใช้จ่ายพนักงานเดินรถและซ่อมบำรุงจำนวน 1,664.80 ล้านบาท โดยประมาณการมาจากค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้นในปี2561-2562 และนำมาปันส่วนสำหรับการให้บริการสาธารณะตามประเภทของต้นทุน

รายงานข่าวจาก รฟท. ระบุว่า สำหรับการให้บริการสาธารณะของ รฟท. นั้น จะเป็นประเภทขบวนรถบริการเชิงสังคมกล่าวคือ ขบวนรถที่ให้บริการในลักษณะของการให้บริการสังคม โดยเป็นประเภทรถชั้น 3 และหยุดรับส่งทุกสถานีเพื่อบริการสังคมอย่างแท้จริง ผู้โดยสารส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ใช้รถไฟในชีวิตประจำวัน (Daily Life) เช่น รถธรรมดา รถชานเมือง รถท้องถิ่น เป็นต้น