‘ศักดิ์สยาม’ สั่ง สนข. เคาะเส้นทาง ‘แลนด์บริดจ์’ เชื่อมท่าเรือ 2 ฝั่งอันดามัน-อ่าวไทย ต้องเลือกให้ ‘สั้น-ตรง’ ที่สุด หวังช่วยลดระยะเวลา

ศักดิ์สยามตามงานแลนด์บริดจ์สั่ง สนข.เลือกแนวเส้นทางเชื่อมท่าเรือ 2 ฝั่งอันดามันอ่าวไทยคำนึงถึงการลดระยะเวลาสั้นตรง” ที่สุดพร้อมยึดแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ผสานกับเทคโนโลยี หนุนส่วนร่วมของ ปชช. สร้างพันธมิตรเวทีโลก ดันเศรษฐกิจภาคใต้สู่ฮับขนส่งทางน้ำภูมิภาค

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้และเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) วันนี้ (3 .. 2564) ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings ว่า ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าของการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้นการพัฒนาแลนด์บริดจ์ โดยได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รับข้อสังเกต และประเด็นเพิ่มเติมต่างๆ

โดยให้ สนข.ดำเนินการการคัดเลือกแนวเส้นทางโดยคำนึงถึงการลดระยะเวลาในการขนส่งจากท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง ซึ่งจะต้องสั้นและตรงที่สุด รวมถึงพิจารณาเรื่องการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในพื้นที่บริเวณโดยรอบโครงการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเชิงพื้นที่ และเกิดการกระจายการพัฒนาไปสู่ท้องถิ่น และการเปรียบเทียบโครงการในทุกมิติเพื่อให้เห็นถึงประโยชน์ของโครงการต่อการพัฒนาประเทศชาติ รวมทั้งให้พิจารณาประเด็นการสร้างพันธมิตรที่เหมาะสมสำหรับการร่วมพัฒนาโครงการ โดยให้ครอบคลุมทั้งภายในประเทศ ประเทศในภูมิภาค และจากประเทศต่างๆ ในเวทีโลก

*** 4 กลยุทธ์ในการศึกษาโครงการ ***

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า โครงการดังกล่าว ได้มีการกำหนดกลยุทธ์ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาของโครงการออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย

  1. ด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม โดยออกแบบท่าเรือให้มีความลึก 16 เมตรทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน แนวเส้นทางสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายทางรถไฟ และทางหลวงสายหลักได้ สามารถรองรับ ทั้งการขนส่งสินค้าและการขนส่งผู้โดยสาร พร้อมทั้งรองรับระบบขนส่งทางท่อ
  2. ด้านการพัฒนาพื้นที่หลังท่า โดยการจัดตั้งพื้นที่หลังท่าเป็นพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมหลังท่าตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
  3. ด้านการส่งเสริมการขนส่ง โดยศึกษาปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อลดขั้นตอนและเอกสาร ในการขนส่งสินค้า ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ให้สิทธิพิเศษทางภาษี เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เปลี่ยนมาใช้เส้นทาง
  4. 4.ด้านสิ่งแวดล้อมและการยอมรับของมวลชน โดยออกแบบโครงสร้างพื้นฐานให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน  และต้องเกิดประโยชน์กับท้องถิ่น เช่น กำหนดโควต้าการรับสมัครเข้าทำงานในโครงการให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณโดยรอบพื้นที่ จัดทำและดำเนินโครงการ/แผนงานความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อให้โครงการสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า นอกจากพัฒนากลยุทธ์ในการพัฒนาโครงการแล้ว การศึกษานี้ ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกทำเลที่ตั้งท่าเรือตามแนวทางที่เป็นสากล ตามแนวทางของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา Port Planning Handbook (UNCTAD,1984) และ สมาคมโลกเพื่อการขนส่งทางน้ำ PIANC Outline master planning process for greenfield ports (PIANC 185) โดยมีปัจจัยและสัดส่วนที่ใช้ในการพิจารณา 4 ด้าน ประกอบด้วยปัจจัยด้านวิศวกรรม ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการเงิน และปัจจัยด้านสังคม

โดยยึดแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ผสานกับเทคโนโลยี และความได้เปรียบทางกายภาพ รวมทั้งการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ช่วยสร้างโอกาส สร้างงานและรายได้เพิ่มขึ้น