ถกวันนี้! ‘ศักดิ์สยาม’ เร่งเครื่องนโยบายปี 64 เดินหน้า ‘แลนด์บริดจ์’ พร้อมดัน ‘รถไฟไทย’ ใช้ระบบไฟฟ้า

ศักดิ์สยามเร่งเครื่องแลนด์บริดจ์เชื่อมทะเลอ่าวไทยอันดามัน ลุ้นเคาะทำเล 2 ท่าเรือใหม่ชุมพรระนองพร้อมลุยรถไฟไทยขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า หวังเซฟพลังงานลดมลพิษ อัพเกรดขนส่งสาธารณะไทยสู่สากล

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ช่วงบ่ายของวันนี้ (3 .. 2564) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีกำหนดการเป็นประธานการประชุมผ่านแอปพลิเคชั่น ZOOM เพื่อติดตามนโนบายปี 2564 และงานสำคัญของกระทรวงคมนาคม 2 เรื่อง โดยในเวลา 13.00 . จะประชุมติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินการโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทยอันดามัน (แลนด์บริจด์) ในเขตพื้นที่ 2 จังหวัดชุมพรระนองโดยมีสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นผู้นำเสนอฯ ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้ว

ทั้งนี้ ในการประชุมติดตามโครงการแลนด์บริดจ์ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 มี.. 2564 ที่ผ่านมานั้น สนข. อยู่ระหว่างการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกทำเลที่ตั้งโครงการพัฒนา 2 ท่าเรือ คือ 1.ท่าเรือระนอง และ 2.ท่าเรือชุมพร โดยคาดว่าจะสามารถสรุปผลการคัดเลือกได้ในช่วงประมาณ มิ.. 2564 ก่อนที่กรมทางหลวง (ทล.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะศึกษาความเหมาะสม และออกแบบเบื้องต้น แนวเส้นทางโครงการมอเตอร์เวย์ และทางรถไฟตามกรอบดำเนินการโครงการแผนแม่บทโครงข่ายทางรถไฟร่วมกับมอเตอร์เวย์ (MR-MAP) เชื่อมต่อท่าเรือ 2 ฝั่งทะเลต่อไป

ขณะเดียวกัน สนข. ยังได้กำหนดบทบาทโครงการแลนด์บริดจ์ชุมพรระนองให้เป็นทางเลือกการขนส่งน้ำมันดิบ(Oil Bridge) โดยขนส่งน้ำมันทางเรือจากช่องแคบฮอร์มุซมายังท่าเรือระนอง และผ่านทางท่อไปยังท่าเรือชุมพร เพื่อขนส่งทางเรือไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาค รวมถึงประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ อีกทั้งยังเป็นทางเลือกในการถ่ายลำการขนส่งสินค้า ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเชื่อมต่อทางรางและทางถนน และเป็นท่าเรือสำหรับการประกอบชิ้นส่วนด้วย

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุอีกว่า จากนั้นในเวลา 15.00 . นายศักดิ์สยาม จะประชุมการผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (EV on Train) โดยมีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นผู้นำเสนอความคืบหน้าผลการดำเนินการ ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าว ได้เร่งรัดให้ รฟท. ดำเนินการในการนำระบบ EV พลังงาน Battery on Train มาใช้กับรถไฟไทย เพื่อประหยัดพลังงาน ลดมลพิษ ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และยกระดับระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยให้เป็นสากล โดย ขร. และ รฟท. จะต้องไปศึกษา และรวบรวมข้อกฎหมาย รวมถึงระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความถูกต้อง ตามหลักธรรมาภิบาล