เคาะแล้ว! แผนเร่งด่วน กำหนด 4 จุดเชื่อมต่อการเดินทางขนส่ง ‘ผู้โดยสาร-สินค้า’ เข้าสู่สายสีแดง-สถานีกลางบางซื่อ

ศักดิ์สยามเร่งเครื่องรถไฟสายสีแดงสถานีกลางบางซื่อให้ทันกำหนดเปิดเชิงพาณิชย์ปลายปีนี้ เคาะแผนเร่งด่วน กำหนด 4 จุดเชื่อมต่อการเดินทาง ขนส่งผู้โดยสารสินค้า ครอบคลุม 5 ทิศเหนือใต้ออกตกอีสานพร้อมจ่อประกาศเชิญชวนเอกชนประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ มิ..นี้ ลุยถกกรุงไทยดันสายสีแดงใช้ตั๋วร่วม ระบบ EMV สอดรับการเปิดให้บริการ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ครั้งที่ 2/2564 วันนี้ (30 เม.. 2564) ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) ว่า การประชุมในครั้งนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อตลิ่งชัน ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร (กม.) และช่วงบางซื่อรังสิต ระยะทางประมาณ 26.3 กม. รวมทั้งการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ โดยในขณะนี้การก่อสร้างงานโยธาของโครงการดังกล่าวข้างต้นเสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างการทดสอบระบบ และทดสอบการเดินรถเสมือนจริง ก่อนเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการใน .. 2564 จากนั้นจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปี 2564

ขณะเดียวกัน ตามที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ และอนุกรรมการ เพื่อให้การเปิดให้บริการและการบริหารโครงการดังกล่าวได้ทันตามกำหนด สามารถอำนวยความสะดวกประชาชนผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเตรียมความพร้อมใน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1.ด้านการเดินรถและการเชื่อมต่อระบบขนส่งต่างๆ ในการเข้าถึงสถานี 2.ด้านสถานี 3.ด้านราคาค่าโดยสารและบัตรโดยสาร 4.ด้านการสื่อสารสาธารณะ และ 5.ด้านการกำหนดจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารและสินค้า รวมถึงการบริหารพื้นที่ภายในสถานีกลางบางซื่อ และพื้นที่โดยรอบในเชิงพาณิชย์ โดยในการประชุมครั้งนี้ คณะอนุกรรมการด้านต่างๆ ได้รายงานความคืบหน้า พร้อมทั้งเร่งรัดดำเนินการในส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบ นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้ตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มเติมขึ้น 2 คณะ เพื่อดำเนินการด้านการขอพระราชทานนามและพิธีการ และการบริหารจัดการและการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

*** เคาะ 4 จุดเชื่อมต่อการเดินทาง ***

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า คณะอนุกรรมการฯ ได้ให้ความสำคัญกับแผนงานพัฒนาจุดเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชนเป็นแผนงานที่มีความจำเป็นอยู่ในระยะเร่งด่วน และกำหนดแผนงานการพัฒนาจุดเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าเป็นแผนการพัฒนาในระยะถัดไป จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการประมาณราคาและระยะเวลาดำเนินการต่อไป โดยการกำหนดจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารและสินค้า คณะอนุกรรมการฯ ด้านการกำหนดจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารและสินค้า (Gateway/Hub) ได้ร่วมประชุมและลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้านกายภาพและประเมินความเหมาะสมของสถานีที่จะใช้เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชนและจุดเชื่อมต่อการขนส่งสินค้า 4 จุด ได้แก่

  1. จุดเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชนด้านทิศเหนือ/ตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) กำหนดที่สถานีรังสิตโดยได้เสนอแผนการปรับปรุงสถานี ประกอบด้วย งานปรับปรุงถนนด้านฝั่งตะวันตก (ปทุมธานี) และงานก่อสร้างสะพานกลับรถ และทางเชื่อมจากสะพานข้ามทางรถไฟบริเวณสถานี และแผนการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อ ประกอบด้วย การปรับปรุงจุดกลับรถใต้สะพานข้ามทางรถไฟ ทางหลวงหมายเลข 346 ทั้งด้านตะวันออก (รังสิต) และด้านตะวันตก(ปทุมธานี)
  2. จุดเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชนด้านทิศตะวันออก กำหนดที่จุดจอดรถอโศกซึ่งในปัจจุบันรถไฟชานเมืองขาเข้าและขาออกสถานีกรุงเทพ หยุดจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารรถหลังจากผ่านเครื่องกั้นถนน พบว่ารูปแบบดังกล่าวทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนจะเสียเวลาในการรอรถไฟข้ามผ่านเป็นเวลาโดยเฉลี่ยกว่า 2-3 นาที จึงได้เสนอแนวทางการพัฒนาจุดจอดให้อยู่ตำแหน่งเดียวกันทั้งขาเข้าและขาออก ซึ่งสามารถลดระยะเวลาในการกั้นถนนลงได้กว่า 1 นาทีและได้เสนอแผนงานพัฒนาสถานีโดยการปรับพื้นที่ชานชาลาด้านตะวันตกของจุดจอดรถอโศก และพัฒนาป้ายหยุดรับส่งผู้โดยสารสำหรับรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เพื่อให้สามารถรับส่งผู้โดยสารจากขบวนรถไฟได้ทั้งทิศทางขาเข้าและขาออก
  3. จุดเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าด้านทิศเหนือ/อีสาน จากเดิมกำหนดไว้ที่สถานีเชียงรากจากการลงพื้นที่สำรวจพบว่าสถานีเชียงรากน้อยมีความเหมาะสมมากกว่า เนื่องจากอยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรมนวนคร และมีโครงการพัฒนาพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าความเร็วสูง และสถานีสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ทางหลวงสายหลักได้สะดวกมากกว่า โดยได้เสนอแผนการปรับปรุงสถานี เช่น การปรับปรุงชานชาลา ลานกองเก็บสินค้า และอาคารสำนักงาน และโครงข่ายเชื่อมต่อเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าสู่สถานี
  4. จุดเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าด้านทิศใต้/ตะวันตก จากเดิมที่กำหนดไว้ที่สถานีวัดงิ้วรายซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจพบว่า สถานีวัดสุวรรณ มีความเหมาะสมมากกว่า เนื่องจากอยู่ใกล้ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าพุทธมณฑล และสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ทางหลวงสายหลักได้สะดวกกว่า รวมถึงอยู่ใกล้แนวเส้นทางของโครงการถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการขนส่งหลายรูปแบบ โดยได้เสนอแผนการปรับปรุงสถานี เช่น การปรับปรุงชานชาลา ลานกองเก็บสินค้า และอาคารสำนักงาน และโครงข่ายเชื่อมต่อเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าสู่สถานี

*** ประกาศชวนเอกชนประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ มิ.. 64 ***

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ในส่วนของด้านสถานีนั้น คณะอนุกรรมการฯ ได้มีการประชุมและกำหนดให้สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งมีพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานีจำนวน 52,375 ตารางเมตร ได้เสนอแนวทางให้ รฟท. ออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนได้มีสิทธิใช้ประโยชน์พื้นที่แยกจากโครงการสรรหาเอกชนร่วมลงทุนให้บริการเดินรถไฟสายสีแดง(PPP) ซึ่งในเบื้องต้นได้กำหนดเงื่อนไขสัญญาเดียวครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 52,375 ตารางเมตร โดยรวมถึงการให้บริการในส่วนของศูนย์อาหาร และร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าจำเป็นในการเดินทาง อายุสัญญาเช่า 15-20 ปี

ขณะที่ พื้นที่ส่วนของลานจอดรถยนต์เห็นควรให้ รฟท. ดำเนินการหารายได้ในการจัดเก็บค่าจอดรถยนต์โดย รฟท. หรือโดยการจ้างเหมาบริการ ให้ รฟท. พิจารณาให้บริการรถ Limousine แก่ผู้โดยสารในลักษณะเดียวกับสนามบินและบริการรถ Shuttle bus สำหรับงานด้านรักษาความปลอดภัยและการจัดการจราจร งานด้านทำความสะอาดสถานที่และงานอาคารสถานที่ เห็นควรให้ รฟท. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตาม ...จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ..2560 ส่วนสถานีรถไฟในโครงการอีก 12 สถานี

นอกจากนี้ จากการสำรวจพื้นที่โดยละเอียดพบว่ามีพื้นที่เชิงพาณิชย์จำนวน 4,626 ตารางเมตร และพื้นที่โฆษณาจำนวน 2,407 ตารางเมตร คณะอนุกรรมการฯ ด้านสถานีได้เสนอแนวทางการจัดประโยชน์พื้นที่เชิงพาณิชย์และป้ายโฆษณา โดยกำหนดระยะเวลาเช่า 3 ปี คาดว่าจะสามารถออกประกาศเชิญชวนเอกชนได้ในช่วง มิ.. 2564  ลงนามสัญญาได้ใน .. 2564 และเปิดให้บริการได้ภายในปลายปี 2564

*** จุดพลุ! ตั๋วร่วม ระบบ EMV ให้ทันเปิดใช้ปลายปี 64 ***

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ในด้านการกำหนดราคาค่าโดยสารและบัตรโดยสารนั่น คณะอนุกรรมการฯ ได้มีการพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารพร้อมส่งเสริมการเดินทางในรูปแบบของบัตรโดยสาร 30 วัน (ตั๋วเดือน) พร้อมจัดโปรโมชั่นส่วนลดการเดินทางสำหรับเด็ก นักเรียน/นักศึกษา (Student Card) ผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้พิการ เพื่อรองรับนโยบายการเข้าถึงและใช้ประโยชน์บริการขนส่งสาธารณะได้อย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ รฟท. พิจารณาค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นต้นทุนการดำเนินงาน พร้อมปริมาณผู้โดยสารในระบบรายสถานี ความถี่การเดินรถ เพื่อกำหนดอัตราค่าโดยสารตามระยะทางให้มีความเหมาะสม สอดคล้องตามต้นทุน ค่าใช้จ่ายผันแปร

ในส่วนความพร้อมเข้าสู่ระบบตั๋วร่วมของโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ได้หารือร่วมกับ บมจ.ธนาคารกรุงไทยเตรียมความพร้อม เพื่อให้ระบบจัดเก็บค่าโดยสารรองรับตามมาตรฐานเทคโนโลยีบัตร EMV (Europay Mastercard and Visa) โดยให้จัดทำข้อมูลกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน งบประมาณที่คาดว่าจะใช้รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้สามารถเปิดใช้บริการได้ภายในปลายปี 2564

*** ลุยบริหารการเดินรถเข้าหัวลำโพง” ***

สำหรับการเตรียมความพร้อมด้านการเดินรถและการเชื่อมต่อการให้บริการระบบขนส่ง คณะอนุกรรมการฯ ได้เสนอรูปแบบการเดินรถไฟเพื่อเข้าสถานีหัวลำโพง โดยให้คงขบวนรถเข้าสถานีหัวลำโพง จำนวน 22 ขบวน ซึ่งการให้บริการรถไฟทั้ง 22 ขบวน จะจัดให้มีการเดินรถในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน เพื่อลดผลกระทบการจราจรที่จะเกิดขึ้นพื้นที่กรุงเทพชั้นใน พร้อมทั้งจะมีการปรับเส้นทางรถโดยสารประจำทางเพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง โดยให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และ ขสมก. พิจารณาปรับปรุงเส้นทางรถโดยสารประจำทาง เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางในกับรูปแบบการขนส่งรูปแบบอื่นในทุกสถานี

อีกทั้ง ยังรวมถึงการปรับเส้นทางรถโดยสารประจำทางเพื่อเชื่อมต่อสถานีหลักด้วย ทั้งนี้ การปรับลดขบวนรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ขบ. และ ขสมก. ได้ปรับปรุงเส้นทาง เพื่อรองรับผู้โดยสารที่มีความต้องการการเดินทางเข้าไปยังสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) แล้ว โดยการปรับให้มีรถโดยสารประจำทางเชื่อมระหว่างสถานีกลางบางซื่อและสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) สถานีมักกะสันและสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)