ดีเดย์! 26 เม.ย.นี้ ‘แท็กซี่’ รวมพล 50 คน บุก ‘ก.คมนาคม’ ร้อง ‘ศักดิ์สยาม’ ค้านชง ครม. ไฟเขียวร่างกฎกระทรวงฯ ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลให้บริการผ่านแอปฯ ถูก กม.

ดีเดย์! 26 เม..นี้แท็กซี่นัดรวมตัว 50 คน บุก .คมนาคม ร้องศักดิ์สยามค้านชง ครม. ไฟเขียวร่างกฎกระทรวงฯ ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลให้บริการผ่านแอปฯ ถูก กม. ด้านแท็กซี่หัวเมืองใหญ่เอาด้วย จ่อบุกขนส่งจังหวัดฯ ร่วมค้าน อ้างซ้ำเติมผู้ประกอบการในระบบฯ 1.2 แสนคันทั่วประเทศ โดนพิษโควิดเล่นงานหาย 70% เหลือรอด 3-4 หมื่นคัน

นายวรพล แกมขุนทด นายกสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ เปิดเผยว่า ในวันที่ 26 เม.. 2564 เวลา09.00 . ตนพร้อมด้วยสมาชิกไม่เกิน 50 คน จะขับรถแท็กซี่ไปที่กระทรวงคมนาคม เพื่อยื่นหนังสือถึงนายศักดิ์สยามชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เรื่องขอคัดค้านการเสนอร่างกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ .. … ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบในหลักการร่างดังกล่าวในเร็วๆ นี้ โดยร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ กำหนดให้สามารถนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาขึ้นทะเบียนเป็นรถสาธารณะให้บริการผู้โดยสารผ่านแอปพลิเคชันอย่างถูกกฎหมายกับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้

ทั้งนี้ การยื่นคัดค้านครั้งนี้นั้น เนื่องจาก ตนมองว่า ขณะนี้ ผู้ประกอบการรถแท็กซี่ที่มีอยู่ประมาณ 120,000 คันทั่วประเทศ กำลังประสบผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระบาดระลอก 3 ในหลายพื้นที่ ทำให้ไม่มีผู้โดยสารและไม่มีรายได้มาใช้จ่ายในครอบครัว จนทำให้เหลือผู้ประกอบการรถแท็กซี่ที่ให้บริการอยู่ในขณะนี้ และยังพยุงกิจการไปได้ ประมาณ 30,000-40,000 คัน หรือคิดเป็น 30% เท่านั้น ส่วนอีก 80,000-90,000 คัน หรือ 70% ได้จอดรถแท็กซี่ไว้ แล้วไปหาอาชีพอื่นทำ เพื่อให้มีรายได้มาเลี้ยงครอบครัว

การไปยื่นหนังสือที่กระทรวงคมนาคมในวันที่ 26 เม..นี้นั้น ผมและสมาชิกผู้ขับแท็กซี่อีกกว่า 50 คน จะปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขในการป้องกันโควิด-19 และเป็นไปตามมาตรการของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. อย่างเคร่งครัด สำหรับผู้ที่นำรถแท็กซี่ไปนั้น จะนั่งอยู่บนรถแท็กซี่ไม่ลงมาจากรถ แต่จะมีบางส่วนเท่านั้นที่จะไปยื่นหนังสือ และขอส่งตัวแทนเข้าไปประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารกระทรวงเพื่อหาข้อยุติในเรื่องนี้ต่อไปนายวรพล กล่าว

แฟ้มภาพ

นายวรพล กล่าวต่ออีกว่า สำหรับการผลักดันร่างฯ ดังกล่าว เพื่อให้มีผลบังคับใช้รวดเร็วนั้น ทำให้เป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการแท็กซี่รายเดิมที่อยู่ในระบบอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งวันนี้การประกอบการก็ลำบากอยู่แล้ว ดังนั้นการเข้ามายื่นครั้งนี้ เพื่ออยากจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางออกในการดำเนินการดังกล่าวร่วมกัน โดยให้คำนึงถึงผู้ประกอบการแท็กซี่รายเดิมด้วย

ส่วนในทางปฏิบัติเรื่องนี้นั้น ประเภทรถที่จะเอามาให้บริการต้องเป็นรถที่มีกาจดทะเบียนสาธารณะ (ป้ายเหลือง) และมีใบอนุญาตขับรถสาธารณะเหมือนกับรถแท็กซี่ในระบบทุกอย่าง แต่การลงทุนประเภทรถที่นำมาให้บริการสำหรับรถยนต์ทั่วไปเครื่องยนต์ขนาด 1,000 ซีซีขึ้นไป ถ้าผ่อนงวดรถเสร็จเป็นวงเงินประมาณ 700,000-800,000 บาทเท่านั้นขณะที่รถแท็กซี่มีขนาด 1,600 ซีซีขึ้นไปเมื่อผ่อนค่างวดรถเสร็จมีวงเงิน 1,500,000-1,700,000 บาท ซึ่งการลงทุนต่างกันมาก

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ ยังมีกลุ่มแท็กซี่ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงต่างจังหวัดที่ไม่เห็นด้วยจำนวนมาก เช่น แท็กซี่ .ชลบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา เชียงราย เชียงใหม่ เกาะสมุย .สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต เป็นต้น ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะรวมตัวกันขับเคลื่อนไปยื่นหนังสือคัดค้านเรื่องดังกล่าว ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้นๆ ด้วย นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 21 เม.. 2564 ที่ผ่านมา ตนได้ยื่นหนังสือถึงนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดี ขบ. แล้ว ซึ่ง ขบ. รับเรื่องไปพิจารณาต่อไป

แฟ้มภาพ