‘สภาองค์กรผู้บริโภค’ คัดค้านชง ครม. ปมต่อสัมปทาน-ขึ้นราคา ‘รถไฟฟ้าสายสีเขียว’ ลั่น! ราคา 25 บาทตลอดสายทำได้จริง พร้อมชวน ปชช.ร่วมลงชื่อค้าน

สภาองค์กรผู้บริโภคมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคชวนประชาชนร่วมลงชื่อ คัดค้านการนำประเด็นต่อสัมปทานและขึ้นราคารถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้า ครมไม่เห็นด้วยปรับขึ้นอัตราค่าโดยสาร จ่อยื่นรายชื่อทั้งหมดจะต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมลั่น! ราคา 25 บาทตลอดสายทำได้จริง

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค เปิดเผยว่า กทม. จะต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวไปอีก 30 ปี (สัญญาเดิมจะสิ้นสุดในปี 2572 หากต่อสัญญาก็แปลว่าบีทีเอสจะได้สัมปทานไปจนถึงปี 2602) โดยเก็บอัตราค่าโดยสาร 65 บาท โดยที่ กทม.ไม่ได้ชี้แจงว่า ราคา 65 บาท มีการคิดคำนวณจากอะไร และแม้ว่าผู้บริโภคฯรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงคมนาคม คณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค ฯลฯ จะพยายามสอบถามถึงที่มาของตัวเลข 65 บาท แต่ก็ยังไม่ได้คำตอบ

ทั้งนี้ สภาองค์กรของผู้บริโภค คำนวณอัตราค่าโดยสารในอนาคตที่น่าจะเป็นไปได้และพบว่า หากเก็บอัตราค่าโดยสาร 25 บาท กทม. ยังมีกำไรถึง 23,200 ล้านบาท จึงยืนยันว่าราคา 25 บาททำได้จริง โดยการต่อสัญญาสัมปทานดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน เนื่องจากสัญญาฉบับปัจจุบันจะหมดลงในปี 2572 หรืออีก 8 ปีข้างหน้า ดังนั้น จึงควรพิจารณาปัญหาและผลกระทบอย่างถ้วนถี่ โดยเฉพาะผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการที่ต้องแบกรับภาระค่าโดยสารรถไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นภาระผูกพันไปอีก 38 ปี ซึ่งหาก กทม. ไม่สามารถบริหารจัดการให้อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลงได้ ก็ไม่ควรเร่งต่อสัญญา และรอให้ผู้ว่า กทม. คนใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ

สำหรับราคาค่ารถไฟฟ้า 65 บาทที่ กทม. เสนอมา นอกจากเป็นราคาที่สูงเกินกว่ามวลชนจะจ่ายได้ อีกทั้งก็ยังไม่สามารถชี้แจงฐานการคิดคำนวณของราคาดังกล่าวที่ชัดเจนว่ามาจากหลักการใด ซึ่งหากราคานี้ถูกพิจารณาผ่านและถูกนำมาใช้ จะส่งผลกระทบกับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้บริโภคจะต้องผูกมัดจ่ายค่าโดยสารในราคานี้ไปอีก38 ปี จนกว่าจะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2602 ในขณะที่ข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมให้ใช้ราคาค่ารถไฟฟ้า 49.83 บาทเท่านั้น ซึ่งจะทำให้มีกำไรส่งรัฐในปี 2602 ถึง 380,200 ล้านบาท แต่กทม.ไม่เคยมีโมเดลการคิดค่าโดยสารมานำเสนอแต่อย่างใด

เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลส่งปัญหานี้ กลับมายัง กทม.เพื่อให้ กทม.ทำกระบวนการการกำหนดราคาที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้ประชาชนที่เป็นผู้รับภาระการจ่ายค่าโดยสารมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น สภาองค์กรของผู้บริโภค เสนอทางเลือกว่าจากการคำนวณของสภาฯ พบว่า ค่ารถไฟฟ้าในราคา 25 บาท สามารถทำได้จริงแน่นอน ซึ่งในการคำนวณดังกล่าวได้อ้างอิงจากตัวเลขของกระทรวงคมนาคม โดยลดรายได้รวมลงครึ่งหนึ่งและคิดราคาค่าโดยสารเพียง 25 บาท สุดท้ายแล้ว กทม. ยังมีกำไรหรือมีเงินเหลือนำส่งรัฐได้ถึง 23,000 ล้านบาทนางสาวสารี กล่าว

อย่างไรก็ตาม สามารถร่วมลงชื่อ คัดค้านการนำประเด็นต่อสัมปทานและขึ้นราคารถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้า ครม. ภายในวันที่ 19 เม.. 2564 เวลา 08.00 . ได้ที่ลิงก์ https://forms.gle/fKXLvaFSjbU1tHaX9