เริ่มแล้ว! วิ่งไม่เกิน 120 กม./ชม. ถนนสายเอเชีย ‘อยุธยา-อ่างทอง’ 45.9 กม. เตรียมเพิ่ม 261 กม. ส.ค.นี้ ด้าน ทช. เร่งเครื่อง รับปากปีนี้ 6 สายทาง

เริ่มแล้ว! “ทางหลวง” Kick off ขับ 120 กม/ชม. ประเดิมถนนสายเอเชีย ช่วงอยุธยาอ่างทอง 45.9 กม. แบ่งความเร็ว 3 ระดับเลนซ้ายไม่เกิน 80-เลนกลางไม่เกิน 100-ขวาสุดไม่ต่ำกว่า 100/ไม่เกิน 120” เตรียมขยายเฟส 2 ครอบคลุมกลางเหนืออีสานใต้” 14 สายทาง 261 กม. ภายใน ..นี้ จ่อทยอยเพิ่ม 5 สายทาง 1,761 กม. ตั้งแต่ .. 64 เป็นต้นไป ยันช่วยแก้จราจรติดขัดสะดวกรวดเร็วปลอดภัย ด้าน ทช. เตรียมนำร่องปี 64 จำนวน 6 เส้นทาง เร่งถกกปถ. ขอใช้งบ คาดสรุปภายใน 2 เดือน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเริ่มต้นใช้ความเร็ว 120 กิโลเมตร (กม.)/ชั่วโมง (ชม.) บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 หรือถนนสายเอเชีย (ช่วงหมวดทางหลวงบางปะอินทางต่างระดับอ่างทอง) วันนี้ (1 เม.. 2564) เวลา 14.00 . บริเวณ หมวดทางหลวงบางปะอินว่า ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบนโยบายการปรับเพิ่มอัตราความเร็วของรถยนต์ จากความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. เป็นความเร็วไม่เกิน 120 กม./ชม. เฉพาะถนนที่ได้มาตรฐานตามที่กฎกระทรวงกำหนดมีช่องจราจรตั้งแต่ 4 ช่องขึ้นไป ไม่มีจุดกลับรถระดับราบ มีเกาะกลางถนนแบบกำแพงกั้น และมีความปลอดภัยด้านวิศวกรรมสูง รวมถึงเพื่อให้ผู้ขับขี่ได้ใช้อัตราความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีความปลอดภัยสูง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้เตรียมการนโยบายนี้มาอย่างต่อเนื่องจนเป็นผลสำเร็จ พร้อมทั้งมีประกาศกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วฉบับใหม่ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 มี.. 2564 ที่ผ่านมา โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.. 2564 โดยกรมทางหลวง (ทล.) จึงได้กำหนดเส้นทางแรก หรือจุดเริ่มต้น (ต้นแบบ) ของทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงชนบท ในการใช้ความเร็ว 120 กม./ชม. คือ ทางหลวงหมายเลข 32 หรือถนนสายเอเชีย ช่วงหมวดทางหลวงบางปะอินทางต่างระดับอ่างทอง ระยะทาง 45.9 กม. จากถนนขนาด 4 ช่องจราจรขึ้นไป และมีเกาะกลางถนนทั้งในส่วนของ ทล. และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) รับผิดชอบ ระยะทางประมาณ 14,000 กม. ทั่วประเทศ พร้อมทั้งสอดรับกับโครงการติดตั้งแบริเออร์ด้วย ซึ่งเตรียมหารือกับสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เพื่อขอวงเงินกู้มาดำเนินการโครงการติดตั้งกำแพงคอนกรีตหุ้มยางพาราธรรมชาติ  (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post RGP)

ขณะเดียวกัน กระทรวงคมนาคมยังได้สั่งการและเน้นย้ำให้ ทล.ปรับปรุงเพิ่มมาตรฐานทางกายภาพให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ได้แก่ เสริมการก่อสร้างอุปกรณ์ป้องกันด้านข้างทาง (Concrete Barrier) เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุรุนแรง เนื่องจากการเสียหลักตกเกาะกลาง ปรับปรุงจุดกลับรถระดับราบ เพื่อลดการตัดกันของกระแสจราจร ติดตั้งป้ายจราจรและป้ายเปลี่ยนข้อความได้ (VMS) เพื่อสื่อสารการใช้ความเร็วที่เหมาะสมในแต่ละช่องจราจร รวมทั้งติดตั้งแถบเตือน Rumble Strips เพื่อแจ้งจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการเข้าเขตควบคุมความเร็ว

เรื่องที่ดำเนินการนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในโลกโดยการกำหนดอัตราความเร็วรถเป็น 120 กม./ชม. บนถนนสายเอเชียนั้นจะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดและปัญหาอุบัติเหตที่เกิดจากการชนท้ายหรือการเปลี่ยนช่องจราจร อันเนื่องมาจากรถวิ่งด้วยความเร็วที่แตกต่างปะปนกันไป ไม่เป็นระเบียบ อีกทั้งยังทำให้ถนนสายเอเชียในอนาคตจะไม่มีจุดกลับรถระดับราบ ส่งผลให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเดินทางได้อย่างรวดเร็ว สะดวก และปลอดภัยตลอดเส้นทาง และขอให้ประชาชนศึกษาข้อมูลเส้นทาง และปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยลดปัญหาอุบัติเหตบนท้องถนนในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนนายศักดิ์สยาม กล่าว

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า ได้มอบหมายให้ ทล. และ ทช. ไปสำรวจและนำเสนอของบประมาณจากกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) เพื่อนำมาดำเนินการในระยะต่อๆ ไป รวมถึงการสร้างสะพานลอยให้ประชาชนเดินข้าม รวมถึงรถจักรยานยนต์ (มอเตอร์ไซต์) และรถจักรยาน ในส่วนของรถยนต์ให้ใช้สะพานกลับรถเกือกม้า ซึ่งจะมีกำหนดไว้ทุกๆ 10 กม. อย่างไรก็ตาม ยังได้มอบหมายให้ ทล. และ ทช. ลงนามบันทึกความร่วมมือ(MOU) กับสถาบันการศึกษา เพื่อประเมินผลการดำเนินการดังกล่าวทุกเดือน และรายงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) รับทราบในทุก 3 เดือน

*** ส.ค.นี้ วิ่ง 120 กม./ชม. อีก 261 กม. ***

นอกจากนี้ ทล.มีแผนจะประกาศสายทางอื่นในการใช้ความเร็ว 120 กม./ชม. ระยะที่ 2 ภายใน .. 2564 ครอบคลุมเส้นทางในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) และภาคใต้ จำนวน 14 สายทาง ระยะทางประมาณ261.94 กม. ประกอบด้วย 1.ทางหลวงหมายเลข 1 ช่วงหางน้ำหนองแขมบ้านหว้าวังไผ่ ระยะทาง 25.27 กม. 2.ทางหลวงหมายเลข 2 ช่วงบ่อทางมอจะบก ระยะทาง 14.8 กม. 3.ทางหลวงหมายเลข 32 ช่วงอ่างทองไชโยสิงห์ใต้สิงห์เหนือโพนางดำออก ระยะทาง 63 กม. 4.ทางหลวงหมายเลข 347 ช่วงเทคโนโลยีปทุมธานีต่างระดับเชียงรากน้อย ระยะทาง 10 กม. 5.ทางหลวงหมายเลข 1 ช่วงหนองแคหินกองปากข้าวสารแยกสวนพฤกษศาสตร์พุแคระยะทาง 26 กม.

6.ทางหลวงหมายเลข 1 ช่วงประตูน้ำพระอินทร์หนองแค ระยะทาง 27.18 กม. 7.ทางหลวงหมายเลข 1 ช่วงต่างระดับคลองหลวงประตูน้ำพระอินทร์ ระยะทาง 6.82 กม. 8.ทางหลวงหมายเลข 1 ช่วงสนามกีฬาธูปะเตมีย์ต่างระดับคลองหลวงประตูน้ำพระอินทร์ ระยะทาง 11 กม. 9.ทางหลวงหมายเลข 304 ช่วงคลองหลวงแพ่งฉะเชิงเทรา ระยะทาง11 กม. 10.ทางหลวงหมายเลข 34 ช่วงบางนาทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภมิ ระยะทาง 15ท กม. 11.ทางหลวงหมายเลข 9 ช่วงบางแคคลองมหาสวัสดิ์ ระยะทาง 9.87 กม. 12.ทางหลวงหมายเลข 35 ช่วงนาโคกแพรกหนามแดงระยะทาง 24.6 กม. 13.ทางหลวงหมายเลข 4 ช่วงเขาวังสระพระ ระยะทาง 6.9 กม. และ 14.ทางหลวงหมายเลข 4 ช่วงเขาวังสระพระ ระยะทาง 11.5 กม.

*** ปลายปี 64 ดำเนินการเพิ่ม เตรียมพร้อมให้วิ่งเพิ่มอีก 1,761 กม.***

อีกทั้ง ทล.จะดำเนินการต่อเนื่องเพิ่มเติม ทั้งการปรับปรุงถนนบนทางหลวงสายหลัก พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยต่างๆ จำนวน 5 สายทาง ระยะทางประมาณ 1,761 กม. โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ .. 2564 เป็นต้นไปก่อนที่จะเปิดให้วิ่งใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กม./ชม. ต่อไป ประกอบด้วย 1.ทางหลวงหมายเลข 1 ช่วงหางน้ำหนองแขมกลางสะพานแม่น้ำสาย (เขตแดนไทย/เมียนมา) ตั้งแต่ .อุทัยธานีเชียงราย ระยะทาง 585.7 กม.

2.ทางหลวงหมายเลข 2 ช่วงสระบุรีสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 (เขตแดนไทย/ลาว) ตั้งแต่ .สระบุรีหนองคาย ระยะทาง495.4 กม. 3.ทางหลวงหมายเลข 24 ช่วงท่งต่างระดับสีคิ้วอุบลราชธานี ตั้งแต่ .นครราชสีมาอุบลราชธานี ระยะทาง419.8 กม. 4.ทางหลวงหมายเลข 340 ช่วงบางบัวทองชัยนาถ ตั้งแต่ .นนทบุรีสุพรรณบุรีชัยนาถ ระยะทาง 164.2 กม. และ 5.ทางหลวงหมายเลข 44 ช่วงอ่าวลึกหินโงก ตั้งแต่ .ภูเก็ตสุราษฎร์ธานี ระยะทาง 96 กม.

ด้านนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดี ทล. กล่าวว่า ทล.ได้คัดเลือกเส้นทางนำร่อง คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 บางปะอินพยุหะคีรี (ช่วงอยุธยาอ่างทอง) ระหว่าง กม. 4+100-กม. 50+000 ทั้งขาเข้าและขาออก ระยะทาง 45.9 กม. ซึ่งถือเป็นเส้นทางแรก และมีผลบังคับใช้วันนี้ (1 เม.. 2564) เป็นต้นไป แบ่งการใช้ความเร็วเป็น 3 ระดับ คือ ช่องซ้ายสุดไม่เกิน 80 กม./ชม. ช่องกลางไม่เกิน 100 กม./ชม. โดยในช่องขวาขับขี่ไม่ต่ำกว่า 100 กม./ชม. แต่ไม่เกิน 120 กม./ชม. เพื่อให้ผู้ขับขี่ที่ใช้ความเร็วแตกต่างกันในเส้นทาง ใช้ทางสาธารณะร่วมกันได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

*** ทช.วางเป้าปี 64 วิ่ง 120 กม./ชม. 6 สายทาง ***

ขณะที่ นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดี ทช. กล่าวว่า สายทางที่ ทช. คาดว่าจะสามารถดำเนินการตามนโยบาย 120 กม./ชม. ในปี 2564 มี 6 สายทาง ประกอบด้วย 1.ถนนราชพฤกษ์ระยะทาง 25.2 กม. งบประมาณ 167 ล้านบาท 2.ถนนนครอินทร์ ระยะทาง 12.4 กม. งบประมาณ​ 84 ล้านบาท 3.ถนนชัยพฤกษ์ระยะทาง 11.1 กม. งบประมาณ 44 ล้านบาท4.แยกทางหลวงหมายเลข 7 (กม.ที่ 80+600)-บ้านหนองกระเสริม ระยะทาง 4.98 กม. งบประมาณ 24 ล้านบาท 5.แยกทางหลวงหมายเลข 3 (กม.ที่ 192+772)-นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะทาง 7.47 กม. งบประมาณ 47 ล้านบาทและ 6.ถนนโสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ระยะทาง 26.1 กม. งบประมาณ 107 ล้านบาท


สำหรับ
2 สายทาง จาก 6 สายทางดังกล่าวข้างต้น  ได้แก่ 1.ถนนราชพฤกษ์ และ 2.ถนนนครอินทร์ จะขอสนับสนุนงบประมาณจาก กปถ. ซึ่งในวันที่ 2 เม..นี้ ทาง ทช. และ ทล. จะเข้าไปหารือร่วมกับ กปถ.เพื่อขอใช้งบประมาณดังกล่าวและยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะได้งบประมาณตามที่เสนอขอไปหรือไป ส่วนเส้นทางที่เหลือต้องมาพิจารณาว่าจะหาแหล่งเงินจากทางใด เพื่อมาปรับปรุงถนนดังกล่าวในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะหารือเรื่องงบประมาณกับกปถ. สรุปจบภายใน 2 เดือน หลังจากนั้นคาดว่าจะใช้เวลาในการติดตั้งป้ายแจ้งเตือนต่างๆ แล้วเสร็จครบทั้ง 6 สายทาง ภายใน 6 เดือน และคาดว่าจะเปิดใหบริการได้ภายใน .. 2564