รฟท.เล็งเปิดประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ มิ.ย.-ก.ค.นี้ ด้านบอร์ดฯ ไฟเขียวสร้าง Skywalk เชื่อมสถานีหลักสี่-สีชมพู-รพ.จุฬาภรณ์

การรถไฟฯรับลูกศักดิ์สยามทบทวนแผนหารายได้พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อปรับพื้นที่ตามโมเดล ทอท. เป็น 35-40% เล็งเปิดประมูล มิ..-..นี้ คู่ขนานเปิดรถไฟสายสีแดงเต็มรูปแบบ .. 64 คาดสัมปทานไม่น้อยกว่า 15 ปี ผุดไอเดียติดโซล่าเซลล์ ช่วยลดค่าใช้จ่าย ด้านบอร์ดรถไฟฯไฟเขียวจ้างก่อสร้าง Skywalk มูลค่า 238 ล้าน เชื่อมสถานีหลักสี่ชมพูรพ.จุฬาภรณ์ ระยะทาง 750 . พร้อมลิฟท์รถกอล์ฟวิ่งรับส่ง

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้ รฟท.ไปทบทวนการจัดทำแผนในการจัดสรรพื้นที่ภายในสถานีกลางบางซื่อเพื่อเพิ่มพื้นที่เชิงพาณิชย์มากขึ้น และให้ค่าใช้จ่ายสอดคล้องกับรายได้นั้น ล่าสุด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. ได้เข้ามาช่วยศึกษา พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบ (โมเดล) คล้ายกับการพัฒนาพื้นที่สนามบินภายใต้การกำกับดูแล ทอท. โดยการศึกษาแนวทางของ ทอท. พบว่า รฟท. สามารถเพิ่มพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานีกลางบางซื่อเป็น 35-40% เพิ่มจากเดิมที่มีการออกแบบเบื้องต้นอยู่ที่ประมาณ 5-10% เท่านั้น

ทั้งนี้ การเพิ่มพื้นที่เชิงพาณิชย์นั้น จะมีการปรับลดพื้นที่ในการจำหน่ายบัตรโดยสารลง เนื่องจากในขณะนี้สามารถจำหน่ายบัตรโดยสารแบบอัตโนมัติ และออนไลน์มากขึ้น ขณะเดียวกัน รฟท. ยังได้พิจารณาค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะในเรื่องไฟฟ้าที่อาจจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการใช้ระบบอัตโนมัติมากขึ้น โดยในเบื้องต้น มีแนวคิดที่จะนำระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) มาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานด้วย

สำหรับขั้นตอนต่อไปนั้น รฟท.จะเปิดให้เอกชนเข้ามาบริหารพื้นที่ เพื่อหารายได้สูงสุดให้กับ รฟท. โดยในขณะนี้ อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารประกวดราคา (TOR) และคาดว่า จะเปิดประมูลได้ภายใน มิ..-.. 2564 เพื่อให้สอดคล้องกับการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อรังสิต และช่วงบางซื่อตลิ่งชัน ใน.. 2564 ทั้งนี้ เอกชนที่ชนะการประมูล จะได้พัฒนาพื้นที่ทั้งหมดภายในสถานีกลางบางซื่อ รวมถึงพื้นที่โฆษณาด้วยโดยคาดว่า จะได้อายุสัมปทานไม่น้อยกว่า 15 ปี ในส่วนของสถานีอื่นๆ อีก 12 สถานีนั้น จะแยกเป็นอีกสัญญานอกจากสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะต้องพิจาณารูปแบบต่อไป

ขณะเดียวกัน ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. เมื่อวันที่ 18 มี.. 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการรายงานความพร้อมการทดสอบเดินรถเสมือนจริง (เป็นส่วนหนึ่งที่ระบุไว้ในสัญญา) ในวันที่ 26 มี.. 2564 ซึ่งตรงกับวันสถาปนากิจการ รฟท. โดยในการทดสอบนั้น จะยังไม่มีการเปิดให้ประชาชนได้ร่วมทดสอบ และจะเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการ (Soft Openning) โดยยังไม่เก็บค่าโดยสารในวันที่ 28 .. 2564 และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบในช่วง ..2564 ในส่วนของการทบทวนราคาอัตราค่าโดยสาร ตามนโยบายของนายศักดิ์สยามนั้น อยู่ระหว่างการหารือของคณะอนุกรรมการที่ดูแลเรื่องค่าโดยสารและระบบจัดเก็บตั๋วโดยสาร (กรมการขนส่งทางรางเป็นผู้รับผิดชอบ)

นายนิรุฒ กล่าวต่ออีกว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟท. ยังมีมติอนุมัติสั่งจ้างกิจการร่วมค้า NWR-AVP (บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอ็ดวานซ์ พรีแฟบ จำกัด) ก่อสร้างงานโครงการก่อสร้างทางเชื่อมต่อทางเชื่อม(Skywalk) ระหว่างโรงพยาบาลจุฬาภรณ์กับสถานีหลักสี่ ตามพระดำริ วงเงิน 238 ล้านบาท ทั้งนี้ การก่อสร้างSkywalk ดังกล่าว มีระยะเวลา 240 วัน (8 เดือน) นับตั้งแต่วันที่ รฟท. ออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) โดยจะประกอบด้วย Skywalk ระยะทาง 750 เมตร กว้าง 4 เมตร พร้อมด้วยลิฟท์ และรถกอล์ฟวิ่งรับส่งจากสถานีรถไฟสายสีแดง(สถานีหลักสี่) รวมถึงเชื่อมต่อกับโรงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแครายมีนบุรี บริเวณแยกหลักสี่ ไปยังโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ด้วย ซึ่งจะคล้ายกับ Skywalk บริเวณโรงพยาบาลรามาธิบดี

รายงานข่าวจาก รฟท. ระบุว่า จากการศึกษาเบื้องต้นของ รฟท. ในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานีกลางบางซื่อนั้น จะสามารถสร้างรายได้ปีละ 267 ล้านบาท ซึ่งยังไม่เพียงพอ หากเทียบกับค่าใช้จ่ายช่วงการบริหารระยะ 4 ปี ที่ประเมินว่า รฟท. ต้องมีต้นทุนของการบริหารจัดการรวม 1,400 ล้านบาท โดยนายศักดิ์สยาม ได้ให้โจทย์กับ รฟท. ที่ต้องหารายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 400 ล้านบาท โดยมุ่งสร้างรายได้จากค่าเช่า หรือส่วนแบ่งรายได้ จากธุรกิจรีเทลค้าปลีก, ร้านอาหาร, พื้นที่โฆษณา และบริการที่จอดรถให้เพียงพอต่อภาระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่าสาธารณูปโภค ค่ารักษาความปลอดภัย และค่าซ่อมบำรุงสถานี นอกจากนี้ ให้หารือร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อนำหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่ามาจัดจำหน่าย โดยอาจจะเจรจาให้พื้นที่และแบ่งรายได้ให้ รฟท. ตามตกลง