‘8 สายการบิน’ ทวงมาตรการเยียวยารัฐ ขอกู้ดอกเบี้ยต่ำ 2.41 หมื่นล้าน ประคองธุรกิจ พร้อมวอนเบิกงวดแรก 25% ภายในเดือนนี้

“8 สายการบิน” ทวงถาม .คลังมาตรการเยียวยาผลกระทบ โควิด-19” ขอกู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 2.41 หมื่นล้าน ประคองธุรกิจรักษาสภาพจ้างพนักงาน พร้อมวอนเบิกงวดแรก 25% เม..นี้เริ่มผ่อน ..64 ดอกเบี้ย 2% ระยะ ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (16 เม.. 2563) มีการประชุมร่วมกันของ 8 สายการบิน ประกอบด้วย สายการบินไทยแอร์เอเชีย, สายการบินไทยเวียตเจ็ท, สายการบินไทยไลอ้อนแอร์, สายการบินนกแอร์, สายการบินบางกอกแอร์เวย์, สายการบินนกสกู๊ตสายการบินไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ และสายการบินไทยสมายล์ พร้อมออกเอกสารยื่นเพิ่มเติม เรียนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยมีการอ้างถึงหนังสือเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 26 มี.. 2563 เรื่องมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในภาคธุรกิจการบิน

ทั้งนี้ ภายหลัง 8 สายการบิน ได้มีการหารือร่วมกันนั้น ได้ยื่นหนังสือต่อกระทรวงการคลังถึงการขอกู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) วงเงิน 24,150 ล้านบาท เพื่อประคองธุรกิจและรักษาสภาพการจ้างงานให้มากที่สุดของสายการบินในประเทศไทย โดยได้นำเสนอรายละเอียดวงเงินกู้ แบ่งตามสัดส่วนความจำเป็นของแต่ละสายการบิน เพื่อให้รัฐบาลพิจารณามาตรการช่วยเหลือ และอนุมัติสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในวงเงินดังกล่าว

สำหรับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 24,150 ล้านบาท ที่ทั้ง 8 สายการบินต้องการกู้นั้น จัดสรรให้แต่ละสายการบิน ดังนี้ 1.สายการบินบางกอกแอร์เวย์ วงเงิน 3,000 ล้านบาท 2.สายการบินไทยแอร์เอเชีย วงเงิน 4,500 ล้านบาท 3.สายการบินไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ วงเงิน 3,000 ล้านบาท 4.สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ วงเงิน 3,750 ล้านบาท 5.สายการบินไทยเวียตเจ็ท วงเงิน 900 ล้านบาท 6.สายการบินไทยสมายล์ วงเงิน 1,500 ล้านบาท 7.สายการบินนกสกู๊ต วงเงิน 3,500 ล้านบาท และ 8.สายการบินนกแอร์ วงเงิน 4,000 ล้านบาท

โดยการขอกู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำนั้น ขอดอกเบี้ย 2% เป็นระยะเวลา 60 เดือน เริ่มชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยในวันที่ 1 .. 2564 ขณะเดียวกันเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤติของการแพร่ระบาดของโรคไวรัส COVID-19 ที่มีต่อสภาวะทางการเงินของสายการบินอย่างมหาศาลในขณะนี้ สายการบินมีความจำเป็นที่ต้องขอเบิกเงินงวดแรกเป็นจำนวน25% ของวงเงินกู้ภายใน เม.. 2563 เพื่อใช้ประคองธุรกิจให้ดำเนินการได้ รวมถึงรักษาสภาพการจ้างงานของพนักงานบริษัทในแต่ละสายการบินได้อย่างทันท่วงที

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจสายการบินเป็นส่วนสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงการฟื้นฟูเศรษฐกิจหากวิกฤติโรคระบาดดังกล่าวได้คลี่คลายลง เนื่องจากเป็นส่วนที่จะนำพานักท่องเที่ยวและเศรษฐกิจกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นการรักษาให้ทุกสายการบินในประเทศไทยยังคงอยู่ได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ ธุรกิจสายการบินในประเทศไทยมีพนักงาน 20,000-30,000 คน ซึ่งในช่วง มี..-เม.. 2563 เกือบทุกสายการบินได้หยุดทำการบินทุกเส้นทาง หมายความว่าทุกสายการบินไม่มีรายได้เข้ามา แต่ยังคงจ้างงานพนักงานของแต่ละสายการบินไว้ให้มากที่สุด โดยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาล จึงเป็นหัวใจสำคัญต่อธุรกิจสายการบินเป็นอย่างมาก