หากจะกล่าวถึงมหาวิทยาลัยเอกชน ที่โดดเด่นในเรื่องของ “วิศวะ” ด้าน “โลจิสติกส์” เชื่อว่า “มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์” (DPU) จะต้องเป็นหนึ่งสถาบันที่ใครหลายคนนึกถึง ด้วยทั้งบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเชี่ยวชาญแล้วนั้น ที่ DPU ยังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งด้านการขนส่ง และการกระจายสินค้าทั่วโลกตลอดจนการออกแบบกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ความรู้ทางด้านการผลิต Supply Chain ระบบสารสนเทศ ERP ความรู้พื้นฐานด้านการบัญชี การสร้างนวัตกร นำความสำเร็จสู่ภาคธุรกิจยุค 4.0

จากประเด็นดังกล่าว อาจารย์ธนกฤต แก้วนุ้ย รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (College of Innovative Technology and Engineering : CITE) ระบุว่า โลจิสติกส์ ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญของระบบเศรษฐกิจประเทศ ขณะเดียวกัน จากการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซนั้น ส่งผลให้ภาคการขนส่งมีการเติบโตขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งในปัจจุบันประเทศไทย มีความต้องการบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านงานโลจิสติกส์จำนวนมาก ปัจจัยจากประเทศไทยมีการค้าขายระหว่างประเทศมากขึ้น โดยวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์นั้น มุ่งเน้นที่จะ Coach ให้นักศึกษาที่จบออกไปแล้ว สามารถก้าวออกไปเป็นบุคลากรด้านโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพ และพร้อมทำงานจริง นำไปสู่การมีอนาคตที่ดี

ทั้งนี้ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์นั้น ประกอบด้วย หลักสูตรภาคปกติ ระดับปริญญาตรี (4 ปี), หลักสูตรเทียบโอน ระดับปริญญาตรี (3 ปี) และหลักสูตรเทียบโอน ภาคพิเศษ ระดับปริญญาตรี (3 ปี) ภาควันอาทิตย์ โดยจะเน้นการสอนรายวิชาที่น่าสนใจ เช่น การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การบริหารสินค้าคงคลังและออกแบบคลังสินค้า การวางแผนทรัพยากรองค์กรและกระบวนการทางธุรกิจ ERP การขนส่งและการกระจายสินค้า การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และพิธีการศุลกากร การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร เป็นต้น

“ผมเชื่อว่าทิศทางโลจิสติกส์ของไทยจะยังคงเกาะตามเทรนด์ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเราจะต้องไม่ทิ้งในเรื่องนี้ เพราะว่า โลจิสติกส์ จะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนธุรกิจและอุตสาหกรรมในยุค 4.0 ที่สำคัญ พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของคน เน้นการซื้อขายออนไลน์ รู้หรือไม่ว่าระบบอี-คอมเมิร์ซเติบโตขึ้นได้ เพราะการขนส่งได้เข้ามาช่วยเคลื่อนย้ายสินค้าให้ ทำให้วิศวะโลจิสติกส์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของโลจิสติกส์ จึงได้พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับโลกในปัจจุบัน เราจะสอนว่าอันไหนที่เด็กควรรู้ พยายามสอนให้เด็กรู้ทุกด้าน คือ ทุกคนจะต้องรู้ทุกเรื่องในโลจิสติกส์ จะต้องเข้าใจกลไกของโลจิสติกส์ เพราะสิ่งสำคัญแล้ว จะทำให้เด็กไม่ตกงานด้วย” อาจารย์ธนกฤต กล่าว

อาจารย์ธนกฤต กล่าวต่ออีกว่า วิศวะ โลจิสติกส์ DPU นอกจากจะผลิตบัณฑิต หรือบุคลากรด้านโลจิสติกส์ เพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ แล้วนั้น ยังมีเป้าหมายที่จะเปิดศูนย์บริการทางวิชาการ การจัดคอร์สฝึกอบรม ศูนย์ทดสอบ ด้านโลจิสติกส์ รวมถึงการมุ่งเน้นสู่การเป็นที่ปรึกษา และการทำวิจัย การศึกษาโครงการต่างๆ ให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนด้วย ด้วยจากประสบการณ์และความชำนาญของคณาจารย์ ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในเรื่องของ
โลจิสติกส์