เปิด! ไทม์ไลน์ ‘มอเตอร์เวย์’ 3 สายทาง มูลค่ารวม 1.31 แสนล้าน จ่อเข็น 2 เส้นทาง ชง ครม. ชุดใหม่ไฟเขียวภายในปีนี้

ทางหลวงเร่งเครื่องสร้างมอเตอร์เวย์ 3 โปรเจกต์ มูลค่ารวม 1.31 แสนล้าน พร้อมเข็น 2 เส้นทาง M9 ช่วงบางขุนเทียนบางบัวทอง & M5 ช่วงรังสิตบางปะอิน ประเดิมชง ครม.ชุดใหม่ไฟเขียวภายในปีนี้ คาดเปิดให้บริการปี 71

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ทล. เร่งดำเนินโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) ตามแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ระยะ 20 ปี (.. 2560-2579) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคม ระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลสู่ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ โดยในระยะเร่งด่วนทล. เร่งผลักดันมอเตอร์เวย์สายใหม่อีก 3 เส้นทาง มูลค่าลงทุนก่อสร้างรวม 131,809 ล้านบาท ได้แก่

1.มอเตอร์เวย์หมายเลข 9 (M9) สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ช่วงบางขุนเทียนบางบัวทองบางปะอิน ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร  (กม.) โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 2 ช่วง คือ มอเตอร์เวย์หมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ช่วงบางขุนเทียนบางบัวทอง เป็นการก่อสร้างเป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ตามแนวถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก หรือถนนกาญจนาภิเษก รวมระยะทางประมาณ 35.9 กม. วงเงินลงทุนก่อสร้าง 56,035 ล้านบาท

ทั้งนี้ ดำเนินโครงการในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ในรูปแบบ PPP Net Cost โดยเอกชนลงทุนก่อสร้างงานโยธา และการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) โดยเอกชนรับรายได้จากค่าธรรมเนียมผ่านทางสถานะปัจจุบัน คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) เห็นชอบในหลักการโครงการแล้ว คาดว่ากระทรวงคมนาคม จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติการดำเนินโครงการภายในปี2566 ดำเนินการคัดเลือกเอกชนในปี 2567 ก่อสร้างโครงการในปี 2568-2570 และเปิดบริการในปี 2571

ขณะที่อีกช่วง คือ ช่วงบางบัวทองบางปะอิน เป็นการดำเนินการปรับปรุงถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตกเดิม ให้เป็นทางหลวงพิเศษระดับพื้นดินขนาด 6 ช่องจราจร สามารถเชื่อมต่อไปยังทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 ได้ โดยมีระยะทางรวมประมาณ 34.1 กม. วงเงินลงทุนก่อสร้าง 15,260 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบัน ทล.อยู่ระหว่างเสนอแผนความต้องการเงินกู้ระยะปานกลาง 5 ปี (.. 2567-2571) หากได้รับการอนุมัติจาก ครม. คาดว่าสามารถเริ่มการก่อสร้างในปี 2568

2.มอเตอร์เวย์หมายเลข 5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิตบางปะอิน (M5) เป็นการเป็นการก่อสร้างทางยกระดับช่วงรังสิตบางปะอิน บนเกาะกลางถนนพหลโยธิน ขนาด 6 ช่องจราจร โดยมีการควบคุมการเข้าออกอย่างสมบูรณ์มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ปลายทางยกระดับอุตราภิมุขปัจจุบัน ที่ประมาณ กม. 34 ของถนนพหลโยธิน และสิ้นสุดที่ประมาณ กม. 52 ของถนนพหลโยธิน บริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน

อีกทั้ง ก่อสร้างทางยกระดับเชื่อมโยงมอเตอร์เวย์ หมายเลข 6 สายบางปะอินนครราชสีมา ระยะทางรวมทั้งสิ้นประมาณ 22 กม. วงเงินค่าลงทุนก่อสร้าง 31,358 ล้านบาท ซึ่งดำเนินการในรูปแบบ PPP Gross Cost  โดยเอกชนลงทุนในส่วนก่อสร้างงานโยธาและงาน O&M โดยรัฐเป็นผู้ได้รับรายได้ค่าผ่านทาง และจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการให้แก่เอกชน โดยสถานะปัจจุบันบอร์ด PPP เห็นชอบในหลักการโครงการแล้ว คาดว่ากระทรวงคมนาคมจะเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติการดำเนินโครงการภายในปี 2566 ดำเนินการคัดเลือกเอกชน ในปี 2567 ก่อสร้างโครงการในปี 2568-2570 และเปิดบริการในปี 2571

3.โครงการมอเตอร์เวย์หมายเลข 8 (M8) สายนครปฐมชะอำ ช่วงนครปฐมปากท่อ เป็นส่วนหนึ่งของมอเตอร์เวย์หมายเลข 8 สายนครปฐมชะอำ ระยะทางรวมประมาณ 109 กม. โดยแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงนครปฐมปากท่อ และช่วงปากท่อชะอำ โดยจะดำเนินการก่อสร้าง ช่วงนครปฐมปากท่อ ก่อน ระยะทางประมาณ 61 กม. ลักษณะโครงการเป็นการก่อสร้างทางหลวงพิเศษขนาด 4 ช่องจราจร วงเงินลงทุนก่อสร้างรวม 29,156 ล้านบาทซึ่งปัจจุบัน ทล. อยู่ระหว่างเสนอแผนความต้องการเงินกู้ระยะปานกลาง 5 ปี (.. 2567-2571)