ภาษีใหม่จูงใจนักลงทุน ดันยอดผลิตรถยนต์ในประเทศเพิ่ม

จากการที่รัฐบาลได้เปลี่ยนวิธีการคำนวณภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ที่ขายในประเทศเป็นรูปแบบใหม่
โดยการแก้ไขให้จัดเก็บบนฐานราคาขายปลีกแนะนำแทนฐานราคาหน้าโรงงานสำหรับรถยนต์ที่ผลิตในประเทศและราคานำเข้า CIF

สำหรับรถยนต์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งคัน ทำให้ฐานราคาที่นำมาคำนวณภาษีตามวิธีใหม่สุงขึ้นกว่าแบบเดิมนั้นนอกเหนือจากผลดีที่รัฐบาลจะได้รับจากการจดั เก็บภาษีรถยนต์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ในส่วนของการแข่งขันให้ตลาดมีความเท่าเทียมนัก โดยศุนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า น่าจะช่วยให้ประโยชน์ทางอ้อมต่อการส่งเสริมความเชื่อมั่นนักลงทุน และเป็นอีกมูลเหตุจูงใจหนึ่ง ให้ค่ายรถมีการผลิตรถยนต์บางรุ่นในประเทศเพิ่มขึ้นได้ด้วย

ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าจากการปรับวิธีการคำนวณภาษีแบบใหม่ดังกล่าวน่าจะสามารถพิจารณาแยกผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นออกมาตามกลมุ่ ประเภทรถยนต์ได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้รถยนต์ที่ผลิตในประเทศ ซึ่งเปลี่ยนการคำนวณภาษีจากเดิมที่คิดจากราคาหน้าโรงงานมาคิดจากราคาขายปลีกแนะนำนั้น เนื่องจากกรมสรรพสามิตได้มีการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตลงประมาณ 24% จากอตั ราภาษีเดิม ทำให้ไมเ่ กิดผลกระทบตอ่ ต้นทนุ ทางภาษีของธุรกิจผลิตรถยนต์ในประเทศอย่างมีนัยสำคัญ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคำนวณแล้วพบว่าภาระภาษียังคงมีความใกล้เคียงกับของเดิมก่อนเปลี่ยนวิธีคิดภาษีสรรพสามิตใหม่ ทำให้คาดว่าผลที่จะเกิดต่อผู้บริโภคในแง่ของการปรับราคาขายรถยนต์น่าจะยังไม่เกิดขึ้น ในระยะอันใกล้นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่มีการแข่งขันสูงนักในตลาดรถยนต์ ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น และติดการได้รับโปรโมชั่นส่งเสริมการตลาดอย่างมากต่อเนื่องหลายปี

แนวทางการปรับตัวที่อาจจะเกิดขึ้นศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า น่าจะมีโอกาสออกมาในรูปแบบการตัดออปชั่นเสริม ของแถมต่างๆ หรือการรับประกัน ของศูนย์บริการ ออกจากราคาขายรถยนต์เพื่อให้ฐานคำนวณภาษีต่ำลง ซึ่งอาจทำให้ราคาขายปรับลดลงได้เล็กน้อย โดยแนวทางนี้อาจกระทบรายได้ศูนย์ซ่อมบำรุงของดีลเลอร์รถยนต์และกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนบางรายการที่ถูกตัดออกไปเป็นออปชั่นเสริม

ขณะที่รถยนต์นำเข้าคาดว่า จากการคิดภาษีแบบใหม่ที่รัฐบาลมองว่าจะช่วยทำให้การแข่งขันเท่าเทียมกันมากขึ้นในแง่ที่ภาษีจัดเก็บบนฐานราคาขายปลีกแนะนำ จะส่งผลช่วยกระตุ้นให้มีการลงทนุประกอบในประเทศมากขึ้นเนื่องจากยอดจำหน่ายรถยนต์นำเข้าที่ค่ายรถเจ้าของแบรนด์รับรู้ผ่านตวั แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ สะท้อนยอดความต้องการจริงในตลาดมากขึ้น และหากจำนวนยอดขายจะสูงพอ ค่ายรถยนต์อาจเข้าร่วมลงทุนกับธุรกิจไทยเพื่อประกอบรถยนต์รุ่นที่มีทิศทางตลาดดีในอนาคต และมีโอกาสจะต่อยอดไปประกอบรุ่นอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีรถยนต์บางแบรนด์ที่ส่งสัญญาณไปในทิศทางดังกล่าว ทั้งจากฝั่งยุโรป และเอเชีย โดยประเภทรถยนต์ที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ รถยนต์หรู หรือรถยนต์ที่ยังมีขนาดตลาดจำกัด แต่มีโอกาสเติบโตได้ในอนาคตซึ่งเดิมจะเน้นการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศเป็นหลัก

จากผลกระทบดังกล่าว ธุรกิจนำเข้ารถยนต์จึงอาจต้องมีการปรับตัว โดยเฉพาะหากเป็นธุรกิจนำเข้ารถยนต์อิสระ
ที่มีสายป่านทางการเงินสั้น ขณะที่ธุรกิจนำเข้ารถยนต์อิสระขนาดใหญ่สายป่านทางการเงินยาวมีธุรกิจเสริม เช่น ศูนย์
อะไหล่และซ่อมบำรุงอยู่ด้วย ก็อาจต้องปรับตัว และหากลยุทธ์เสริมมาดึงดูดลูกค้ามากขึ้น เช่น สร้างความประทับใจในการดูแลบริการลูกค้าทั้งก่อนและหลังการขาย

ส่วนทางด้านรถพลังงานไฟฟ้าเป็นอีกกลุ่ม ที่คาดวา่จะได้รับอานิสงส์จากการปรับวิธีคิดภาษีแบบใหม่เนื่องจากเป็นตลาดที่กำลังมีแนวโน้มเติบโต ซึ่งปัจจุบันในไทยก็มีการลงทุนเพือจะขยายสถานีชาร์จไฟฟ้ารองรับความต้องการในตลาดในลักษณะที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด

อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV ที่คาดว่าจะยังคง
เดิม ที่ 2% ซึ่งส่วนต่างทางภาษีดังกล่าวนั้นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV ในประเทศอาจมองว่าแรงดึงดูดยังไม่เพียงพอสำหรับการลงทุน ผลิตได้ อันจะเป็นประเด็นที่ภาครัฐอาจต้องนำไปพิจารณาร่วมกันกับภาคเอกชนต่อไปในอนาคตเพื่อหาแนวทางสนับสนุนการทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV อื่นๆ เพิ่มเติม