‘ศักดิ์สยาม’ นำทัพ ‘คมนาคมยูไนเต็ด’ ลงพื้นที่ จ.ระนอง กางแผนโปรเจ็กต์ ‘บก-น้ำ-อากาศ’ จ่อชง ครม.สัญจร จ.กระบี่ เคาะ ‘ไทยแลนด์ริเวียร์ร่า’ กว่า 77 กม.

ศักดิ์สยามนำทัพคมนาคม ยูไนเต็ดลงพื้นที่ .ระนอง กางแผนพัฒนาโครงข่ายคมนาคม จัดเต็มบกน้ำอากาศจ่อชง ครม. สัญจร .กระบี่ ไฟเขียวไทยแลนด์ริเวียร์ร่าพื้นที่ .ระนอง ระยะทาง 77.121 กม. ด้าน ทล. ส่งมอบพื้นที่แขวงทางหลวงระนองให้ รพ.ระนอง ใช้ประโยชน์ให้บริการ สธ. กับประชาชน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมในพื้นที่ .ระนองว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่.ระนอง กรมทางหลวง (ทล.) อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการพัฒนาโครงข่ายถนนจาก 2 ช่องทางเป็น 4 ช่องทาง ได้แก่โครงการทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) สายชุมพรระนอง ซึ่งจะก่อสร้างแล้วเสร็จใน มี.. 2565 และสายระนองสุขสำราญ จะดำเนินการก่อสร้างตามแผนปีงบประมาณ 2566-2570 เพื่อรองรับแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง

นอกจากนี้ ยังเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land bridge) ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาจัดทำรายงานความก้าวหน้า โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งในปี 2564-2565 ดำเนินการศึกษาผลกระทบด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 2568 และเปิดให้บริการได้ปี 2573 เพื่อลดเวลาและระยะทางในการขนส่ง ประหยัดต้นทุนในการขนส่งหลีกเลี่ยงปัญหาการติดขัดของช่องแคบมะละกา สามารถจูงใจผู้ประกอบการขนส่งและนักลงทุนให้ใช้ประโยชน์จากเส้นทางนี้มากขึ้น

ขณะที่ กรมทางหลวงชนบท (ทช.) นั้น ปัจจุบันมีศักยภาพโครงข่ายทางหลวงชนบท จำนวน 22 สายทาง ระยะทางรวม310.728 กิโลเมตร (กม.) ครอบคลุมทั้ง 4 อำเภอใน .ระนอง ซึ่งในปี 2565 มีโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 33 โครงการ วงเงินงบประมาณรวม 268 ล้านบาท โดยในอนาคต ทช.จะมีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการขนส่งสินค้าในประเทศผ่านการพัฒนาถนนสู่ท่าเรือระนอง ระยะทางรวม 14.970 กม.

อีกทั้ง การพัฒนาทางหลวงชนบทเพื่อสนับสนุนโครงการถนนเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Thailand Riviera) ในพื้นที่.ระนอง รวมระยะทาง 77.121 กม. ซึ่งเป็นนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้กระทรวงคมนาคมพัฒนาเส้นทางคมนาคมเพิ่มเติมจากถนนเพชรเกษม เพื่อความสะดวกต่อการเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยว และส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาพรวมของประเทศ ซึ่งคาดว่าจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564 .กระบี่

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ส่วนกรมท่าอากาศยาน (ทย.) มีแผนพัฒนาท่าอากาศยานระนอง เพื่อเพิ่มศักยภาพของท่าอากาศยานให้เป็น International Airport สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าที่จะเพิ่มขึ้น โดยระยะที่ 1 ปี 2566-2568 ได้แก่ ขยายความยาวทางวิ่ง จากขนาด 45 x 2,000 เมตร เป็นขนาด 45 x 2,400 เมตร สามารถรองรับอากาศยานขนาด 230 ที่นั่ง ก่อสร้างทางขับขนานใหม่ ให้สามารถรองรับเที่ยวบินจากเดิม 6 เที่ยวบิน/ชั่วโมงเป็น 10 เที่ยวบิน/ชั่วโมง

รวมถึงขยายลานจอดเครื่องบิน จากเดิม 3 ลำ เป็น 10 ลำ ก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่(Domestic/International) รองรับได้ 2.8 ล้านคน/ปี (1,000 คน/ชั่วโมง) จากเดิม 8 แสนคน/ปี (300 คน/ชั่วโมง) ก่อสร้างลานจอดรถยนต์ รองรับได้ 500 คัน จากเดิม 250 คัน งบประมาณรวม 2,280 ล้านบาท ปัจจุบันได้รับการจัดสรรงบประมาณ 2565 สำหรับศึกษาออกแบบรายละเอียดและผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว

ส่วนแผนการพัฒนาท่าอากาศยานระนอง ระยะที่ 2 ปี 2568-2571 จะดำเนินการขยายความยาวทางวิ่งจากเดิม2,400 เมตร เป็น 2,990 เมตร ก่อสร้างทางขับขนานใหม่ และก่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง หัวทางวิ่ง ใช้งบประมาณ 1,250 ล้านบาท ปัจจุบันท่าอากาศยานระนองมีความพร้อมในการให้บริการตามนโยบายการเปิดประเทศของนายกรัฐมนตรี ภายใต้มาตรการ D M H T T A รวมทั้งมีความพร้อมทั้งด้านอำนวยความสะดวก ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล

ด้านการขนส่งทางน้ำ กรมเจ้าท่า (จท.) ได้ศึกษาด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อมของโครงการขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำท่าเรือเอนกประสงค์ระนอง โดยได้ออกแบบขุดลอกร่องน้ำให้ได้ระดับความลึก 12 เมตร จากระดับน้ำลงต่ำสุด เพื่อให้ร่องน้ำเดินเรือมีความลึก ช่วยให้การเดินเรือเข้าออกท่าเรือเอนกประสงค์ระนองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย โดยเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ 2566

ขณะที่ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) มีแผนการพัฒนาศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการของท่าเรือระนอง 2 ระยะ เพื่อยกระดับการขนส่งสินค้าในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) เชื่อมโยงการค้าฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน และก้าวเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าในกลุ่มประเทศ BIMSTEC โดยระยะที่ 1 ได้แก่ การปรับปรุงท่าเทียบเรือที่ 1 (ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์) รองรับเรือสินค้าทั่วไปขนาด 500 GT (ton gross) พร้อมกัน 2 ลำ

อีกทั้ง ปรับปรุงท่าเทียบเรือที่ 2 (ท่าเทียบเรือตู้สินค้า) รองรับเรือตู้สินค้า ขนาด 12,000 DWT ก่อสร้างลานวางตู้สินค้า รองรับตู้ 320,258 TEUsต่อปี โดยจะเปิดให้บริการโครงการระยะที่ในปี 2569 และระยะที่ 2 โดยก่อสร้างท่าเทียบเรือที่ 3 (ท่าเทียบเรือตู้สินค้า) รองรับเรือ 12,000 DWT ก่อสร้างลานวางตู้สินค้า ส่วนต่อขยาย โดยทั้ง 2 ระยะ รองรับตู้ 499,226 TEUs ต่อปี และสามารถเปิดให้บริการในระยะที่ 2 ได้ในปี 2583

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ตนยังได้เป็นประธานมอบพื้นที่แขวงทางหลวงระนองให้กับโรงพยาบาลระนอง เพื่อนำไปพัฒนาเพิ่มศักยภาพและรองรับการให้บริการดูแลระบบสุขภาพของประชาชนจังหวัดระนองและกลุ่มประชากรต่างด้าว ด้านการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรคฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยและการคุ้มครองผู้บริโภคตั้งแต่ระบบปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ ตามมาตรฐานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความแออัด ลดระยะเวลารอคอยและสร้างความพึงพอใจต่อผู้มารับบริการ

โดยก่อสร้างอาคารแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์โรคหัวใจ ศูนย์มะเร็ง อาคารผู้สูงอายุ อาคารที่จอดรถ และอาคารศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองและอาคารสนับสนุน เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะเพิ่มศักยภาพการบริการด้านสุขภาพให้กับประชาชนได้ดียิ่งขึ้น สำหรับการจัดหาพื้นที่ก่อสร้างสำนักงานแขวงทางหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบันแขวงทางหลวงระนองได้ดำเนินการขอใช้พื้นที่ราชพัสดุ บนทางหลวงหมายเลข 4 ตอนหงาวอ่าวเคย .หงาว .เมือง .ระนอง เนื้อที่ 40 ไร่ และธนารักษ์พื้นที่ระนองได้ส่งมอบพื้นที่ให้แขวงทางหลวงระนอง สำหรับก่อสร้างสำนักงานแขวงทางหลวงระนองแห่งใหม่ เพื่อดำเนินการของบประมาณ ปี 2566 แล้ว