รฟท.ลงนามไฮสปีดไทย-จีนเพิ่ม 3 สัญญา 2.75 หมื่นล้าน คาดเปิดให้บริการปลายปี 69-ต้นปี 70

จุดพลุ! รฟท.เซ็นจ้างงานเอกชน ไฮสปีดไทยจีน 3 สัญญา วงเงิน 2.7 หมื่นล้าน พร้อมเร่งเปิดประมูล 4 สัญญาที่เหลือภายในปีนี้ คาดแล้วเสร็จเปิดให้บริการในปี 69-70 ด้านเฟส 2 “ช่วงโคราชหนองคายคาดออกแบบเสร็จ ..นี้เปิดให้บริการยาวภายในปี 72-73 เชื่อมการเดินทาง-ขนส่งสู่ สปป.ลาวจีน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานครหนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานครนครราชสีมา) จำนวน 3 สัญญาว่า วันนี้ (29 มี.. 2564) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัทคู่สัญญาฯ ได้ลงนามจำนวน 3 สัญญา ระยะทางรวม 54.6 กิโลเมตร (กม.) รวมวงเงินก่อสร้าง 27,527 ล้านบาท ประกอบด้วย สัญญาที่4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนครบ้านโพ วงเงินก่อสร้าง 11,525 ล้านบาท สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงินก่อสร้าง 6,573 ล้านบาท และสัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้วสระบุรี วงเงินก่อสร้าง 9,428 ล้านบาท มีระยะเวลาก่อสร้างแต่ละสัญญา 1,080 วัน หรือจะแล้วเสร็จในช่วงปี 2569-2570

สำหรับ 4 สัญญาที่เหลือนั้น ประกอบด้วย รฟท.จะเร่งเปิดประมูลให้แล้วเสร็จภายในปี 2564 เนื่องจากยังมีบางสัญญาที่ยังติดเรื่องของข้อพิพาท อาทิ สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อดอนเมือง ซึ่งในขณะนี้ อยู่ระหว่างการเจรจาร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งมีพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่ โดยคาดว่า จะสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ในปี 2564 อย่างไรก็ตาม ตามนโยบาย คาดว่า จะวามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายปี 2569 หรืออย่างช้าในปี 2570 ในส่วนของระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมาหนองคาย ระยะทาง 356 กม. วงเงิน 2.5 แสนล้าน แบ่งเป็น ทางรถไฟระดับพื้นดิน 185 กม. และทางรถไฟยกระดับ 171 กม.นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจออกแบบ คาดว่าผลการศึกษาสำรวจออกแบบได้เสร็จใน.. 2564 ซึ่งโจทย์ของรัฐบาลต้องการให้เส้นทางนี้ใช้ทางเลี่ยงเมือง เพื่อจะได้มีผลกระทบน้อยที่สุด โดยจะมีระบบรองเชี่อมต่อระบบขนส่งหลัก (Feeder) มาให้บริการ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการหลังระยะที่ 1 ประมาณ3-4 ปี หรือในปี 2572-2573

เรื่องนี้ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ที่จะเชื่อมต่อระบบรางไปด้านทิศเหนือทาง สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน และในอนาคตจะมีการเชื่อมต่อไปทางภาคใต้ เพื่อเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านทางทิศใต้เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย รวมถึงมีจุดตัดผ่านที่มีโครงการที่สำคัญอย่างโครงการเชื่อมระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท ที่จะเพิ่มศักยภาพการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ทางราง ทางน้ำ และทางบก ในการเดินทางและขนส่งสินค้าได้รวดเร็ว สะดวก ปลอดภัย และประหยัดต้นทุนมากยิ่งขึ้น รวมถึงเอกชนที่มาร่วมลงนามในสัญญาครั้งนี้ต่างเอกชนที่มีประสบการณ์ในการที่จะดำเนินงานเกี่ยวกับด้านโลจิสติกส์ทางราง และมั่นใจโครงการดังกล่าวจะดำเนินการได้ตามเป้ามายที่ได้วางแผนไว้นายศักดิ์สยาม กล่าว

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า โครงการดังกล่าว นับเป็นโครงการที่สำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมไทยสู่โลก และเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลทั้งสองประเทศ เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสนใจและเร่งรัด ติดตามความก้าวหน้าของโครงการมาโดยตลอดและในขณะเดียวกัน เส้นทางนี้ก็จะเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเชื่อมไทยไปสู่ สปป.ลาว และจีน โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (Belt and Road Initiative หรือ BRI) ที่จะเชื่อมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงยุโรปได้ด้วยทางรถไฟ

ด้านนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่า รฟท. กล่าวว่า สำหรับสัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนครบ้านโพ ประกอบด้วยงานโครงสร้างทางรถไฟเป็นทางยกระดับ 23 กม. งานก่อสร้างทางวิ่งเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้า งานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายรางและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นในศูนย์ซ่อมบำรุง งานอาคารภายในศูนย์ซ่อมบำรุงรวมถนนต่อเชื่อม ได้แก่ อาคารระบบซ่อมบำรุงขบวนรถไฟ 19 อาคาร อาคารควบคุมระบบการจัดการเดินรถและฝึกอบรม 4 อาคาร อาคารสำหรับระบบซ่อมบำรุงทาง 8 อาคาร งานก่อสร้างถนนงานระบบระบายน้ำและงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ

ขณะที่ สัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้วสระบุรี ประกอบด้วย งานโครงสร้างทางรถไฟ ระยะทางรวม 31.60 กม. แบ่งเป็น คันทางระดับดิน 7.02 กม. และทางยกระดับ 24.58 กม. งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้า 7 แห่ง รวมทั้งงานรื้อย้ายสถานีเดิม งานปรับปรุงย้ายถนนเดิม งานก่อสร้าง สะพานข้ามทางรถไฟ งานระบบระบายน้ำ และงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ

สำหรับเอกชนคู่สัญญา ทั้ง 3 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนครบ้านโพ ผู้แทนจากบริษัทเอ.เอสแอสโซศซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ผู้แทนจากบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) สัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้วสระบุรี ผู้แทนจากบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

รายงานข่าวจาก รฟท. ระบุว่า ในส่วนสัญญาที่เหลือ เช่น สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมืองนวนคร ระยะทาง 21.80 กม. วงเงิน 8,626.80 ล้านบาท ที่ก่อนหน้านี้ จะมีการลงนามในวันที่ 29 มี.. 2564 นั้น อยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มเติม ตามระเบียบกฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามหลักธรรมาภิบาล, สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพพระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. วงเงิน 9,913 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มเติม และรอลงนามสัญญาจ้าง ในส่วนสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. อยู่ระหว่างการเตรียมเอกสารประกวดราคา รวมถึงจะต้องรอความชัดเจนเนื่องจากโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมืองสุวรรณภูมิอู่ตะเภา) ซึ่งในขณะนี้ อยู่ระหว่างการเร่งรัดหาข้อสรุปการดำเนินงาน เพื่อไม่ให้กระทบทั้ง 2 โครงการ