‘ศักดิ์สยาม’ ทดลองนั่งรถไฟสายสีแดง ‘บางซื่อ-ตลิ่งชัน’ สั่ง รฟท. วางแผนเดินรถไฟทางไกล-บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์

ศักดิ์สยามนำทัพลงพื้นที่ สแกนความพร้อมรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อตลิ่งชัน จ่อเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ .. 64 ค่าโดยสารไม่เกิน 42 บาทตลอดสาย สั่ง รฟท. วางแผนเดินรถไฟทางไกล งดเข้าหัวลำโพงจี้ให้ได้ข้อสรุปภายใน 1 เดือน หวังแก้จราจรติดขัดในเมืองกรุงฯ พร้อมมอบหาแนวทางบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ สร้างรายได้สะท้อนรายจ่าย เดดไลน์ข้อสรุปภายใน 7 วัน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจสถานีกลางบางซื่อ และรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อตลิ่งชัน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดให้บริการปลายปี 2564 ว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ เพื่อตรวจความพร้อมของโครงการฯ ก่อนที่จะเปิดให้บริการประชาชนในปลายปี 2564 โดยได้ทดลองโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อตลิ่งชัน ซึ่งมีระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร (กม.) มีจำนวน 3 สถานีได้แก่ สถานีบางซ่อน บางบำหรุ และตลิ่งชัน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะทดลองเดินรถเสมือนจริงในมี.. 2564 และมีแผนการซ่อมบำรุงระหว่าง ..-เม.. 2564 โดยระบบทุกอย่างจะสมบูรณ์ใน เม.. 2564

ในส่วนของการประมาณการอัตราค่าโดยสารนั้น จะคิดตามระยะทาง ช่วงบางซื่อรังสิต ค่าแรกเข้าไม่เกิน 14 บาทและค่าโดยสารตลอดเส้นทางถึงรังสิต ไม่เกิน 42 บาท และช่วงบางซื่อตลิ่งชัน ค่าแรกเข้าไม่เกิน 14 บาท และค่าโดยสารตลอดเส้นทางถึงตลิ่งชัน ไม่เกิน 42 บาท เช่นกัน อีกทั้ง ในอนาคตจะพัฒนาระบบตั๋วโดยสารร่วม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่ใช้บริการด้วย

ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ตรวจความพร้อมในครั้งนี้ รฟท. ยังจะต้องซ่อมบำรุงในส่วนที่เป็นสถานี ซึ่งได้ก่อสร้างแล้วเสร็จมานานและไม่ได้เปิดใช้บริการ ต้องมีการปรับพื้นทางให้ได้มาตรฐานเพื่อให้สามารถเดินรถได้เต็มประสิทธิภาพ การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีแดงจากสถานีบางซื่อตลิ่งชัน ใช้ระยะเวลาประมาณ 15 นาที หากใช้รถยนต์อาจต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แสดงให้เห็นว่ารถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นทางเลือกใหม่ให้ประชาชนเดินทางจากใจกลางกรุงเทพฯ ไปยังพื้นที่ด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัย

ขณะที่ แผนการบริหารจัดการเดินรถไฟทางไกลของ รฟท. ที่มีสถานีต้นทางและปลายทางที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) มีขบวนรถประมาณ 188 ขบวนนั้น โดยแผนของ รฟท. ระบุว่า ในปี 2566 จะไม่มีขบวนรถไฟทางไกลวิ่งเข้าสถานีหัวลำโพง ซึ่งตนมองว่า สามารถปรับแผนบริหารจัดการเดินรถได้ โดยมีเป้าหมายจากการเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงเชิงพาณิชย์ใน .. 2564 และจะไม่มีรถไฟทางไกลวิ่งเข้าสถานีหัวลำโพง หรือหากจะต้องมีขบวนรถไฟทางไกลวิ่งเข้าสถานีหัวลำโพงเพื่อทำการเติมน้ำมัน จะต้องวิ่งเข้าสถานีหัวลำโพงระหว่างเวลา 22.00-04.00 . เท่านั้น

ทั้งนี้ แผนการบริหารจัดการเดินรถไฟทางไกลดังกล่าว เพื่อให้การจราจรทางถนนในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ไม่ติดขัดเพราะขบวนรถไฟ ส่วนพื้นที่โดยรอบ กทม. ได้วางแผนว่าจะทำเป็นขบวนรถไฟขนส่งสินค้า โดยแผนการเดินรถดังกล่าว นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่า รฟท., นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานกรรมการ (บอร์ด) รฟท. และนายชยธรรม์พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม จะร่วมกันพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า ในส่วนการบริหารการใช้พื้นที่ของสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งมีพื้นที่มากกว่า 4 แสนตารางเมตร ได้มอบแนวคิดเป็นหลักการว่า ให้ รฟท. บริหารจัดการพื้นที่ให้มีรายได้มากกว่ารายจ่าย โดยให้ รฟท. พิจารณาสัดส่วนการใช้พื้นที่ในเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้อย่างเหมาะสม ทำให้สถานีกลางบางซื่อเป็น Smart Station เปิดโอกาสให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มผลิตสินค้า OTOP ใช้เป็นตลาดจำหน่ายสินค้า OTOP อย่างยั่งยืน นำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการพื้นที่เพื่อลดต้นทุน บริหารโดยยึดหลักกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด และ รฟท. จะต้องรายงานแผนการใช้พื้นที่ต่อกระทรวงฯ ภายใน 1 สัปดาห์

สำหรับการบริหารพื้นที่โดยรอบสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งมีพื้นที่จำนวน 9 แปลง ประมาณ 2,000 กว่าไร่นั้น รฟท. ยืนยันว่า พื้นที่ 5 แปลงแรก สามารถออกข้อกำหนดและเงื่อนไขรายละเอียดได้ทันที โดยจะออกข้อกำหนดให้เป็นสถานที่ทำงาน ศูนย์ราชการ ที่อยู่อาศัย พื้นที่เชิงพาณิชย์ และเป็น Smart City ส่วนที่เหลืออีก 4 แปลง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะต้องมีการรื้อย้ายสิ่งต่าง ออกไป เช่น สถานีขนส่งผู้โดยสารของบริษัท ขนส่ง จำกัด เป็นต้น ได้ให้ รฟท. พิจารณากำหนดระยะเวลาในการรื้อย้ายที่ชัดเจน เพื่อที่จะสามารถออกข้อกำหนดและเงื่อนไขรายละเอียดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อให้พื้นที่ทั้ง 9 แปลง สามารถดำเนินการควบคู่กันได้

ขณะเดียวกัน ได้มีการมอบนโยบายให้ รฟท. พิจารณาการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริการสถานีฯ เนื่องจากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ของสถานีกลางบางซื่อนั้น เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ใช้สอย 298,200 ตารางเมตร ซึ่งก่อนหน้านี้ รฟท.ได้มีการเสนอที่จะดำเนินการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์เองจนถึงปี2567 ก่อนที่จะมีการประกวดราคาหาเอกชนมาบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ (PPP) ซึ่งจากข้อมูลเดิมที่มีการศึกษาในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ระบุว่า มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาประมาณ 1,400 ล้านบาทต่อปี และจากผลการศึกษาโครงการดังกล่าวฯ ของ รฟท.ก่อนที่จะเปิดให้มี พบว่า รฟท.จะมีรายได้อยู่ที่ 267 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นจึงได้มีการสั่งการให้ รฟท. ทบทวนผลการศึกษาใหม่ และตั้งเป้าให้ รฟท.มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 400 ล้านบาทต่อปี โดยมอบหมายให้ รฟท. และกรมขนส่งทางราง (ขร.) ไปหารือถึงแนวทางการบริหารรายได้ในโครงการรถไฟสายสีแดงฯ รวมถึงการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้ครอบคลุมรายจ่ายโดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับผลการศึกษาเดิมและคาดหวังให้กระทรวงคมนาคมขอเงินอุดหนุนจากภาครัฐ (PSO) โดยการรถไฟฯจะต้องเสนอแนวทางดังกล่าวให้กระทรวงคมนาคมรับทราบและพิจารณาภายใน 1 สัปดาห์